วันอังคาร, 26 พฤศจิกายน 2567

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครปฐม”เข้ารับเกียรติบัตร ในงานประกาศขึ้นบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม

​​สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครปฐม  ดยนางฐิติรัตน์  เค้าภูไทย  วัฒนธรรมจังหวัดนครปฐม    เข้ารับเกียรติบัตรในงานประกาศขึ้นบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมและพิธียกย่องเชิดชูเกียรติภาคีเครือข่ายดีเด่นทางวัฒนธรรม ประจำปี พุทธศักราช 2562  ในวันที่ 28  สิงหาคม 2562  ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย       เขตห้วยขวาง  กรุงเทพฯ

​​กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ในฐานะหน่วยงานที่มีหน้าที่ส่งเสริมและดำเนินงานปกป้องคุ้มครองมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม จึงดำเนินกิจกรรมที่สำคัญคือ การขึ้นบัญชีมรดกภูมิปัญญา           ทางวัฒนธรรม ซึ่งได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๒  เพื่อเป็นหลักฐานสำคัญของชาติและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของคนในชาติให้เกิดความภาคภูมิใจในวัฒนธรรมของตนเอง รวมทั้งเป็นการปกป้องคุ้มครองมรดกภูมิปัญญา         ทางวัฒนธรรมของท้องถิ่นและของประเทศชาติ โดยกำหนดการขึ้นบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม 6 ด้าน ประกอบด้วย  ด้านวรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา ด้านศิลปะการแสดง ด้านแนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม ประเพณีและเทศกาล  ด้านความรู้และการปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล ด้านงานช่างฝีมือดั้งเดิม  และด้านการเล่นพื้นบ้าน  กีฬาพื้นบ้านและศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว

​​ในปี พ.ศ. 2562  องค์ความรู้และภูมิปัญญาดั้งเดิมตามลักษณะของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมทั้ง 6 ด้าน  ที่ได้รับการประกาศขึ้นบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ประจำปีพุทธศักราช 2562    จำนวน 18 รายการ ดังนี้  1. ตำนานเขาสาปยา (เขาสรรพยา) ชัยนาท 2. ตำนานเมืองลพบุรี (ลพบุรี)  3. โปงลาง (กาฬสินธุ์)  4. กลองอืด (ตาก) 5. รำมอญ(ปทุมธานี) 6. รำตร๊ด (สุรินทร์/ศรีสะเกษ) 7. ลำแมงตับเต่าไทเลย (เลย)  8. ประเพณีอัฏมีบูชา (นครปฐม/อุตรดิตถ์)  9. โจลมะม้วต (สุรินทร์) 10. ประเพณีแห่นางดาน (นครศรีธรรมราช)   11. ทุเรียนนนท์ (นนทบุรี) 12. ปลาสลิดบางบ่อ (สมุทรปราการ) 13. หม้อน้ำดินเผาเกาะเกร็ด (นนทบุรี)           14. งานปูนปั้นสกุลช่างเมืองเพชร (เพชรบุรี) 15. เครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน(นครราชสีมา) 16. ซิ่นหมี่คั่นน้อย      ไทหล่ม (เพชรบูรณ์)  17. อิ้นกอนฟ้อนแคน (นครปฐม) 18. การแข่งขันว่าวดุ๊ยดุ่ย (จันทบุรี

 

​​จากการขึ้นบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ประโยชน์ที่ประชาชนและสังคมจะได้รับ คือ มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมจะได้รับการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ปกป้องและคุ้มครอง รวมถึงส่งเสริมภูมิปัญญาที่มีผล    ในการปฏิบัติและการดำเนินการให้เป็นรูปธรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อรักษาและสืบทอดองค์ความรู้ภูมิปัญญา     ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมให้สืบทอดและคงอยู่ในวิถีชีวิตของคนไทย  รวมถึงได้รับการส่งเสริมให้มีการสืบทอดไปยังชนรุ่นหลังนำไปใชประโยชน์ส่งเสริมการท่องเที่ยวของชุมชนท้องถิ่น  สร้างรายได้และมีผลดีต่อเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืนตลอดไป

​​​​​​​​​นางสาวชนิดา  พรหมผลิน

​​​​​​​​​ผู้สื่อข่าวนิวรีพอร์ต  รายงาน

Loading