วันเสาร์, 30 พฤศจิกายน 2567

จัดยิ่งใหญ่ทุกปี”ประเพณีแห่พระเวสสันดรทรงพระยาคชสาร

ราชบุรี – ยิ่งใหญ่ทุกปี ประเพณีแห่พระเวสสันดรทรงพระยาคชสาร

ชาวไทยเชื้อสายลาวเวียง ต.เขาแร้ง อ.เมือง จ.ราชบุรี จัดพิธีขบวนแห่พระเวสสันดรทรงพระยาคชสาร ( ช้าง ) คู่พระบารมี หลังเทศกาลออกพรรษา ตามโบราณประเพณีที่สืบทอด
กันมาแต่บรรพบุรุษ มีการจำลองสวมเครื่องแบบชุดทหาร เสนาอำมาตย์ ข้าทาสบริวาร เพื่อรับเสด็จพระเวสสันดรกลับสู่พระนคร ตามความเชื่อของท้องถิ่น

วันที่ 16 ต.ค.62 ผู้สื่อข่าวนรายงานว่า ที่วัดโสดาประดิษฐาราม หมู่ที่ 3 ต.เขาแร้ง อ.เมือง จ.ราชบุรี พระครูเกษมขันติคุณ เจ้าอาวาสวัดโสดาประดิษฐานราม ร่วมกับชาวบ้านชาว
ไทยเชื้อสายลาวเวียง ที่ได้อพยพมาอาศัยตั้งรกรากอยู่ในพื้นที่ตำบลเขาแร้งหลายร้อยปีมาแล้ว จัดพิธีแห่พระเวสสันดรตามโบราณประเพณีที่ได้สืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ
หลังจากเทศกาลออกพรรษาผ่านพ่นไป ประชาชนชาวไทยเชื้อสายลาวเวียง ทางวัดโสดาประดิษฐาราม จึงได้จัดกิจกรรมการสวดชัยมงคลคาถา เทศน์คาพัน แห่ข้าวพันก้อน การ
ตักบาตรเทโว เทศน์มหาชาติกัณฑ์ที่ 1-10 หลังพิธีต่าง ๆ เสร็จสิ้น จึงได้จัดพิธีแห่พระเวสสันดร โดยมีการจำลองเป็นหุ่นขี้ผึ้งองค์พระเวสสันดร ขึ้นประทับพระยาคชสาร ( ช้าง )
ที่จำลองแบบขึ้นมาอย่างสวยงาม ส่วนทหาร เสนาอำมาตย์ สวมเครื่องแบบชุดทหารโบราณ ร่วมถึงข้าทาสบริวารต่าง ๆ แต่งกายในยุคสมัยไทยโบราณ ตามความเชื่อว่าในสมัย
โบราณนั้นพระเวสสันดรได้ทรงบำเพ็ญพรตเป็นฤาษีอยู่ที่ป่าเขาวงกตท่ามกลางพันธุ์ไม้นานาชนิดนานถึง 7 เดือน จึงได้เสด็จกลับพระนครในช่วงเย็น โดยมีพระเจ้ากรุงสนชัยได้ไป
รับพระเวสสันดรจากป่าเขาวงกตเข้าสู่นครสีพลี เพื่อครองพระราชสมบัติสืบต่อไป

ซึ่งทางวัดโสดาประดิษฐาราม ได้นำพระยาคชสารคู่พระบารมีขนาดใหญ่จำลอง เพื่อให้พระเวสสันดรได้ประทับนั่งบนหลัง จากนั้นขบวนทหารตั้งแถวยาวเพื่อเตรียมเคลื่อนขบวน
จากบริเวณด้านข้างของวัด ผ่านพระธาตุบัวทองที่ศักดิ์สิทธิ์แล้ว ผ่านทุ่งนาที่เขียวขจี ไปตามถนน ผ่านหมู่บ้าน ก่อนจะกลับเข้าวัดอย่างเดิม เพื่อให้ประชาชนได้ร่วมสักการบูชาตาม
เส้นทางที่เสด็จผ่าน มีผู้เฒ่า ผู้แก่ หนุ่ม สาว เด็ก เดินร่วมเป็นริ้วขบวนที่สวยงาม เมื่อขบวนถึงบริเวณวัดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็อัญเชิญองค์พระเวสสันดรลงจากพระยาคชสาร (
ช้าง ) เพื่อนั่งเสลี่ยงหามโดยเหล่าทหารแห่เดินวนรอบอุโบสถ 3 รอบ ก่อนจะส่งองค์พระเวสสันดรเข้ายังศาลาที่ประทับถือเป็นอันเสร็จพิธี

ทั้งนี้ชาวไทยเชื้อสายลาวเวียงในตำบลเขาแร้ง มีความเชื่อว่า หากได้จัดพิธีดังกล่าว จะทำให้ในปีนั้นความเป็นอยู่ดีขึ้น พืชพันธุ์ธัญญาหารมีความอุดมสมบูรณ์ ฝนฟ้าตกตามฤดูกาล
อีกทั้งเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตและครอบครัว จึงได้จัดกิจกรรมนี้ขึ้นทุกปีตาม ประเพณีที่สืบต่อกันมายาวนานจนถึงปัจจุบันนี้..

 

สุจินต์ นฤภัย(เต้)

 

Loading