วันจันทร์, 28 ตุลาคม 2567

อธิบดีกรมชลประทาน”ลงพื้นที่ิดามสถานการณ์นำ้ในเขื่อนกระเสียว”วอนเกษตรช่วยกันประหยัดนำ้”

อธิบดีกรมชลประทานลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำในเขื่อนกระเสียว วอนเกษตรกรช่วยกันประหยัดน้ำ

ดร.ทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร นำคณะสื่อมวลสัญจรจากส่วนกลาง ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำ พร้อมรองอธิบดีกรมชลประทาน นายอำเภอด่านช้าง หัวหน้าโครงการส่งน้ำบำรุงรักษากระเสียว หัวหน้าหน่วยงานชลประทานในจังหวัดสุพรรณบุรี รับฟังการรายงานแนวทางการบริหารจัดการน้ำในภาวะน้ำน้อย ณ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษากระเสียว อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี จากนั้นดร.ทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน เดินทางเข้าห้องประชุมรับฟังการรายงานสถานการณ์น้ำในแม่น้ำสายหลัก คือแม่น้ำเจ้าพระยา และต่อด้วยการรายงานสถานการณ์น้ำในเขื่อนกระเสียว อ.ด่านช้าง
ด้าน ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวรายงานสถานการณ์น้ำ

ในช่วงฤดูแล้งปี 2562/63 ลุ่มน้ำเจ้าพระยาได้วางแผนจัดสรรน้ำจาก 4 เขื่อนหลัก ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2562 ถึงวันที่ 30 เมษายน 2563 รวมกันประมาณ 3,500 ล้าน ลบ.ม. และผันน้ำจากลุ่มน้ำแม่กลองมาเสริมอีก 500 ล้าน ลบ.ม. รวมทั้งสิ้น 4,000 ล้าน ลบ.ม. ขณะนี้ (13 ธ.ค. 62) นำน้ำไปใช้แล้วประมาณ 1,072 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 27 ของแผนจัดสรรน้ำฯ ซึ่งกรมชลประทานจะทำการควบคุมการใช้น้ำให้เป็นไปตามแผนที่ได้วางไว้อย่างเคร่งครัด ส่วนด้านท้ายเขื่อนเจ้าพระยาในวันนี้(13 ธ.ค. 62) ยังคงการระบายน้ำในอัตรา 80 ลบ.ม.ต่อวินาที เพื่อรักษาระบบนิเวศด้านท้ายเขื่อนเจ้าพระยาลงมาจนถึงปากอ่าวไทย ในส่วนของแผนการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งปี 2562/63 ได้วางแผนเพาะปลูกพืชทั้งประเทศ รวมทั้งสิ้น 2.83 ล้านไร่ แบ่งเป็น ข้าวนาปรัง 2.31 ล้านไร่ พืชไร่-พืชผัก 0.52 ล้านไร่ ปัจจุบัน(ข้อมูล ณ วันที่ 11 ธ.ค. 62) ได้ทำการเพาะปลูกทั้งประเทศรวม 1.46 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 51 ของแผนฯ แยกเป็นข้าวนาปรัง 1.39 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 60 ของแผนฯ และพืชไร่-พืชผักอีก 0.07 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 13 ของแผนฯ เฉพาะลุ่มน้ำเจ้าพระยาไม่มีแผนการเพาะปลูกพืช เนื่องจากปริมาณน้ำต้นทุนมีไม่เพียงพอต่อการสนับสนุนด้านการเกษตร แต่จากการสำรวจพบว่าบางพื้นที่ได้ทำการเพาะปลูกพืชนอกแผนฯ รวมเป็นพื้นที่ประมาณ 1.15 ล้านไร่ ส่วนใหญ่ใช้น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติในพื้นที่ของตนเองในการเพาะปลูก ทั้งนี้ ขอยืนยันว่า กรมชลประทาน จะดำเนินการจัดสรรน้ำตลอดช่วงฤดูแล้ง ปี 2562/63 ให้เป็นไปตามแผนฯอย่างเคร่งครัด เพื่อให้มีปริมาณน้ำเพียงพอต่อการอุปโภคบริโภค รักษาระบบนิเวศ และพืชที่ใช้น้ำน้อย ส่วนข้าวนาปรังเนื่องจากปริมาณน้ำมีไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูก จึงไม่สามารถสนับสนุนได้ ต้องขอความร่วมแรงร่วมใจจากเกษตรกรลดพื้นที่การเพาะปลูกข้าวนาปรัง รวมทั้ง ขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วนให้ร่วมกันใช้น้ำอย่างประหยัดและเป็นไปตามแผนการจัดสรรน้ำที่วางไว้ เพื่อให้ปริมาณน้ำที่มีอยู่อย่างจำกัดเพียงพอใช้ไปจนถึงต้นฤดูฝนปีหน้า

ด้านดร.ทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า ตามการคาดการณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยาว่า ระหว่างเดือนธันวาคม 2562 ถึง เดือนเมษายน 2563 บริเวณพื้นที่ประเทศไทยตอนบน จะมีปริมาณฝนต่ำกว่าค่าปกติร้อยละ 5 – 10 ซึ่งจะส่งผลให้ปริมาณน้ำในเขื่อนทั่วประเทศ และแหล่งน้ำธรรมชาติ มีปริมาณน้ำลดน้อยลงไปด้วย กรมชลประทาน จำเป็นต้องวางมาตรการการบริหารจัดการน้ำทุกพื้นที่อย่างเคร่งครัด เพื่อให้มีน้ำเพียงพอสำหรับการอุปโภคบริโภค และรักษาระบบนิเวศ ไปจนถึงต้นฤดูฝนปีหน้า โดยปัจจุบัน(13 ธ.ค.62)เขื่อนขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำรวมกัน 48,337 ล้าน ลบ.ม.หรือคิดเป็นร้อยละ 64 ของความจุอ่าง เป็นน้ำใช้การได้ 24,474 ล้าน ลบ.ม. สำหรับสถานการณ์น้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยา เฉพาะ 4 เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยา(เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์) มีปริมาณน้ำรวมกัน 11,451 ล้าน ลบ.ม. หรือร้อยละ 46 ของความจุอ่างฯรวมกัน มีปริมาณน้ำใช้การได้รวม 4,755 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 26 ของปริมาณน้ำใช้การได้

ทีมข่าวสุพรรณบุรี รายงาน

Loading