วันศุกร์, 10 มกราคม 2568

มทร.ธัญบุรี”มอบ 23 เครื่องช่วยอ่านและสะกดคำ ภาษาไทยอัตโนมัติ ให้ รร.เครือข่าย”

มทร.ธัญบุรี มอบ 23 เครื่องช่วยอ่านและสะกดคำภาษาไทยอัตโนมัติ ให้ รร.เครือข่าย

เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2563 รองศาสตราจารย์ ไพบูลย์ แย้มเผื่อน ที่ปรึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.ธัญบุรี) มอบสื่อ “ชุดอาดุยอิโน่ทัชเกมการอ่านคำภาษาไทย” ให้กับโรงเรียนเครือข่าย 23 โรงเรียน กิจกรรมพัฒนาครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตามกระบวนการ PLC แก้ปัญหาการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ รูปแบบ สุ จิ ปุ ลิ โมเดล ระดับประถมศึกษา ในโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยงโรงเรียนเครือข่ายเพื่อการพัฒนาอุดมศึกษาภาคกลางตอนบน ณ ห้องประชุมสงค์ธนาพิทักษ์ อาคารเฉลิมพระเกียรติ48 พระชันษาฯ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมหมาย ผิวสอาด อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ได้ให้การส่งเสริม สนับสนุน ศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีการเรียนรู้ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม โดยโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยงโรงเรียนเครือข่ายเพื่อการพัฒนาอุดมศึกษาภาคกลางตอนบน มทร.ธัญบุรี ได้ทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงโรงเรียนในจังหวัดปทุมธานี ตามนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2559 เริ่มจาก 1 โรงเรียนมาเป็น 39 59 และ 73 โรงเรียนในปีต่อๆมาจนถึงปัจจุบัน (ปี 2563) โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่จำนวน 73 โรงเรียน เป็นโรงเรียนขนาดเล็ก/ขยายโอกาส ฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวของนักเรียนอยู่ในระดับกลางและต่ำกว่าถึงยากจน ส่วนใหญ่ครอบครัวแตกแยก และพ่อแม่มีการศึกษาน้อย ปัญหาการศึกษาของโรงเรียนที่พบและที่โรงเรียนต้องการให้พี่เลี้ยงสถาบันช่วยพัฒนา คือเรื่องการงานอาชีพซึ่งจะช่วยให้นักเรียนสามารถมีวิชาชีพเลี้ยงตัวเองได้เมื่อจบการศึกษาจากโรงเรียน ซึ่งส่วนใหญ่ไม่ได้หวังเรียนต่อในระดับสูง และครูไม่ครบชั้น ไม่ตรงวุฒิ มีนักเรียนบกพร่องทางเรียนรู้เรียนร่วมด้วยกับนักเรียนปกติ ปัญหาสำคัญคือเรื่องทักษะการอ่าน-เขียนภาษาไทยไม่คล่อง ซึ่งถือว่าเป็นปัญหาสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งเนื่องจากเป็นพื้นฐานการเรียนรู้ในทุกสาระวิชา

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพร แสงสว่าง หัวหน้าศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีการเรียนรู้ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม และประธานเครือข่ายปฏิรูปการศึกษาเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ ผู้วิจัย “ชุดอาดุยอิโน่ทัชเกมการอ่านคำภาษาไทย” เผยว่า การพัฒนางานวิจัยครั้งนี้ได้มีการบูรณาการข้ามศาสตร์ระหว่าง. สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาและสาขาเมคคาทรอนิกส์ โดยมี
รองศาสตราจารย์ ดร.เดชฤทธิ์. มณีธรรม ให้ความช่วยเหลือและให้คำปรึกษาในการสร้างนวัตกรรมสื่อการสอนครั้งนี้
โดยภารกิจของศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีการเรียนรู้ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และ เครือข่ายปฏิรูปการศึกษาเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ ซึ่งได้ร่วมดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง จากการดำเนินโครงการดังกล่าว พบสภาพปัญหาการจัดการเรียนการสอนสำหรับ เด็กบกพร่องทางการเรียนรู้ สภาพปัญหาโรงเรียนมีครูไม่ครบชั้นเรียน ครูผู้สอนไม่ตรงวุฒิ การควบคุมชั้นเรียนที่มีเด็กบกพร่องทางการเรียนรู้เรียนร่วมด้วยผู้ช่วยศาสตราจารย์ จึงได้เริ่มศึกษาและรวมรวมสภาพปัญหา และได้ลงเรียน เพิ่มเติมในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก สาขาวิศวกรรมศาสตร์ สาขาเมคคาทรอนิกส์ และได้คิดค้น นวัตกรรม “เครื่องช่วยอ่านและสะกดคำภาษาไทยอัตโนมัติ” ขึ้น และตั้งชื่อเครื่องนี้ว่า “อาดุยโนทัชเกมฝึกอ่านคำภาษาไทยอัตโนมัติ” เพื่อแก้ปัญหาครูไม่ครบชั้นเรียน ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ของเด็กบกพร่องทางการเรียนรู้ งานวิจัยครั้งนี้ เป็นผลงานที่เกิดจากการบูรณาการวิจัยข้ามศาสตร์ ระหว่างสาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาและสาขาเมคคาทรอนิกส์ โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.เดชฤทธิ์ มณีธรรม เป็นที่ปรึกษาในกระบวนการวิจัย และสร้าง “เครื่องช่วยอ่านและสะกดคำภาษาไทยอัตโนมัติ” เครื่องนี้

นอกจากการสอบสื่อภายในมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์จริง “การแก้ปัญหาการอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ รูปแบบสุ จิ ปุ ลิ โมเดล ระดับประถมศึกษาของโรงเรียนทองพูลอุทิศ” วิทยากรโดยผู้อำนวยการโรงเรียนทองพูลอุทิศ ดร.สมชาย สังข์สี และคณะครู การบรรยายหัวข้อ “การแก้ปัญหาการอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ รูปแบบสุ จิ ปุ ลิ โมเดล” วิทยากรโดยนางสาวจิดาภา บุญสร้างสม ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดผลาหาร และคณะครู สำหรับ โรงเรียนที่รับมอบสื่อทั้ง 23 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนวัดโปรยฝน โรงเรียนคลองสอง (เสวตสมบูรณ์อุปถัมภ์) โรงเรียนวัดมูลเหล็ก โรงเรียนคลองห้า (พฤกชัฏฯ) โรงเรียนชุมชนวัดทำเลทอง โรงเรียนวัดนพรัตนาราม โรงเรียนวัดพิรุณศาสตร์ โรงเรียนวัดกลางคลองสาม โรงเรียนอยู่ประชานุเคราะห์ โรงเรียนวัดลานนา โรงเรียนคลองสระ (สภาวิทยาอุทิศ) โรงเรียนวัดประชุมราษฏร์ โรงเรียนวัดบึงเขาย้อน (คงพันธ์อุปถัมภ์) โรงเรียนคลอง 11 ศาลาครุ (เที้ยมอุปถัมภ์) โรงเรียนวัดลำมหาเมฆ (ประชาราตรีอนุสรณ์) โรงเรียนวัดสองพี่น้อง โรงเรียนวัดขุมแก้ว โรงเรียนสุเหร่าใหม่เจริญ โรงเรียนวัดบัวหลวง โรงเรียนวัดบางคูวัด.

 

Loading