วันศุกร์, 24 มกราคม 2568

เดอะโอ๋”ร่วมประชุมขับเคลื่อนศูนย์ป้องกันปราบปรามการกระทำความผิดหนี้นอกระบบ

เดอะโอ๋ !!! ร่วมประชุมขับเคลื่อนศูนย์ป้องกันปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับหนี้นอกระบบ(ศปน.ภ.1)
ตามคำสั่ง ภ.1 ที่ 155/2563 ลง 26 พ.ค. 2563 เรื่อง ตั้งศูนย์ป้องกันปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับหนี้นอกระบบ ภ.1 (ศปน.ภ.1)

วันนี้ 17 ส.ค.63 เวลา 13.30 น.ที่ห้องประชุม ศปก.ภ.1 กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 1 พล.ต.ต.ธนายุตม์ วุฒิจรัสธำรงค์ รอง ผบช.ภ.1 / รอง ผอ.ศปน.ภ.1 พร้อมด้วย พล.ต.ต.สุภธีร์ บุญครอง ผบก.สส.ภ.1/เลขานุการ ศปน.ภ.1 พ.ต.อ.วรชาติ แสนคำรอง ผบก.สส.ภ.1 / รอง หน.ฝอ.ศปน.ภ.1 พ.ต.อ.มนัส นครศรี รอง ผบก.อก.ภ.1 รองผบก.ภ.จว.ฯที่รับผิดชอบฯทุกจังหวัด ,ผกก.สส.ภ.จว.ฯ ฝอ.ศปน.ภ.จว./สภ.ชุดปฏิบัติการ ศปน.ภ.จว./สภ.,หน.สภ.ฯ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมในการประชุมขับเคลื่อนศูนย์ป้องกันปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับหนี้นอกระบบ โดยมี พล.ต.ท.ปิยะ อุทาโย ผู้ช่วย ผบ.ตร./ผอ.ศปน.ตร.เป็นประธานในการประชุม ณ ห้องมณีรินทร์ ชั้น1 บช.ก.ด้วยระบบการประชุมทางไกลผ่านจอภาพ (CAT Conference)โดยมีข้อสั่งการ ศปน.ตร.1.การแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ ถือเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาล และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่จะต้องดำเนินการโดยเร่งด่วน เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชน และลดความเหลื่อมล้ำ จึงกำชับให้ผู้บังคับบัญชาทุกระดับต้องให้ความสำคัญ 2.การดำเนินการของ ตร. ถือเป็นขั้นตอนแรกและขั้นตอนสำคัญในกระบวนการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบอย่างบูรณาการและยั่งยืนของรัฐบาล ซึ่งประกอบด้วย 5 มิติ คือ1.จัดการเจ้าหนี้นอกระบบ 2.ไกลเกลี่ยประนอมหนี้ 3.ให้แหล่งเงินในระบบ 4.ฟื้นฟูศักยภาพลูกหนี้ 5.สร้างภูมิคุ้มกันดังนั้นการดำเนินการของ ศปน.บช.น./ภ.1-9 จะต้องขับเคลื่อนการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม และให้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ในการดำเนินการทุกขั้นตอน 3.ให้มีการรวบรวมฐานข้อมูลของบุคคล กลุ่มบุคคล แก๊ง และผู้มีพฤติกรรมเกี่ยวกับหนี้นอกระบบ ข้อมูลการรับแจ้ง และสารบบการดำเนินคดี จัดเก็บฐานข้อมูลระบบคอมพิวเตอร์ (Crimes) ทั้งนี้ให้ ศปน.บช.น./ภ.๑-๙ พิจารณามอบหมายผู้รับผิดชอบในการประสานงาน เพื่อทราบข้อมูลผู้เสียหาย ได้รับความเดือดร้อน ที่ได้ร้องเรียนต่อหน่วยงานราชการต่างๆ หรือผู้เกี่ยวข้องกับหนี้นอกระบบในพื้นที่ และให้สรุปรายงานการรับแจ้งการกระทำผิดเกี่ยวกับหนี้นอกระบบ (ตามแบบฟอร์ม) 4.ให้ทุกหน่วยเริ่มดำเนินการสืบสวนปราบปรามในพื้นที่รับผิดชอบตามภารกิจหน้าที่ และรายงานผลการปฏิบัติให้ ศปน.ตร.ทราบในที่ประชุม และหากมีคดีสำคัญในพื้นที่ ให้รายงานผู้บังคับบัญชาทราบโอกาสแรก 5.กำชับการดำเนินการในทุกขั้นตอนจะต้องเป็นไปตามกฎหมายโปร่งใส และสามารถตอบคำถามได้ 6.ให้ทุกหน่วยนำบทเรียนที่ผ่านมา นำมาทบทวน การดำเนินการใดที่เป็นจุดด้อย ให้ดำเนินการแก้ไข และอย่าให้เกิดการปฏิบัติผิดพลาดซ้ำรอย 7.ให้ ศปน.บช.น./ภ.1-9 สรุปผลการปฏิบัติส่ง ศปน.ตร. ทุกวันศุกร์ ก่อนเวลา 18.00 น. และกำหนดให้มีการประชุมทางไกลผ่านระบบจอภาพ (Conference) ในทุกวันจันทร์ที่ 2 และ 4 ของเดือน 8.ให้ทุกหน่วยจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการรับเรื่องราวร้องทุกข์เกี่ยวกับหนี้นอกระบบ

 

-ข้อสั่งการ ศปน.ภ.1 1.เตรียมข้อมูลด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้อง อาทิเช่น กฎหมายว่าด้วยการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา กฎหมายว่าด้วยการทวงหนี้ กฎหมายว่าด้วยสินเชื่อส่วนบุคคล รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกู้ยืมเงินอันมีลักษณะเป็นการฉ้อโกงประชาชน กฎหมายอาญา และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง 2.กำหนดมาตรการในการให้ความช่วยเหลือเยียวยาประชาชน กรณีได้รับความเสียหายจากการกระทำความผิดเกี่ยวกับหนี้นอกระบบ และการกระทำความผิดอาญาอื่นที่เกี่ยวเนื่อง โดยประสานการปฏิบัติหรือร่วมดำเนินการกับส่วนราชการหรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง 3.ภ.1 / ศปน.ภ.1 จัดทำฐานข้อมูล ประวัติ พฤติการณ์ของบุคคล กลุ่มบุคคล หรือนิติบุคคล เครือข่าย นายทุนที่ปล่อยเงินกู้นอกระบบที่มีเครือข่ายเชื่อมโยงหลายพื้นที่ กลุ่มบุคคล แก๊ง ที่มีพฤติการณ์ทวงหนี้ที่ผิดกฎหมาย ข่มขู่หรือใช้กำลังประทุษร้าย โดยให้ บก.สส.ภ.1 จัดเตรียมชุดปฏิบัติการพิเศษ สนับสนุนการปฏิบัติ 4.ภ.จว. / ศปน.ภ.จว. จัดชุดปฏิบัติการทำหน้าที่ตรวจสอบพฤติการณ์ของบุคคล กลุ่มบุคคล หรือนิติบุคคล เครือข่าย นายทุนที่ปล่อยเงินกู้นอกระบบที่มีเครื่อข่ายเชื่อมโยงหลายท้องที่ในพื้นที่รับผิดชอบ หรือพฤติการณ์อย่างอื่นที่มีลักษณะคล้ายการกู้ยืมเงินนอกระบบ กลุ่มบุคคล แก๊ง ที่มีพฤติการณ์ทวงหนี้ที่ผิดกฎหมาย ข่มขู่หรือใช้กำลังประทุษร้าย เมื่อพบการกระทำความผิดให้ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ โดยให้ กก.สส.ภ.จว. จัดเตรียมชุดปฏิบัติการพิเศษ สนับสนุนการปฏิบัติ 5.สภ. / ศปน.สภ. จัดชุดปฏิบัติการตรวจสอบประวัติ พฤติการณ์ของบุคคล กลุ่มบุคคล หรือนิติบุคคล เครือข่าย นายทุนที่ปล่อยเงินกู้นอกระบบที่มีเครือข่ายเชื่อมโยงในพื้นที่รับผิดชอบ หรือพฤติการณ์อย่างอื่นที่มีลักษณะคล้ายการกู้ยืมเงินนอกระบบ กลุ่มบุคคล แก๊ง ที่มีพฤติการณ์ทวงหนี้ที่ผิดกฎหมาย หรือใช้กำลังประทุษร้าย เมื่อพบการกระทำความผิดให้ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ และสนับสนุนข้อมูลดังกล่าวให้ชุดปฏิบัติการ กก.สส.ภ.จว.

 

 

เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติ 6.ให้ทุกหน่วยตรวจสอบ กรณีประชาชนไปกู้ยืมเงินไม่ว่าจะกู้แบบธรรมดาหรือออนไลน์ ขายฝาก จำนอง จำนำ การวางหลักประกัน หรือนิติกรรมอำพรางต่างๆ ทั้งในระบบ และนอกระบบ กับบุคคลทั่วไป ห้าง ร้าน บริษัท หรือสถาบันการเงินต่างๆ ว่าเข้าข่ายเป็นสัญญาที่ไม่เป็นธรรม อันมีลักษณะเป็นการเอาเปรียบประชาชนเกินสมควร หรือเรียกดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด หรือไม่ หากเข้าข่ายเป็นความผิดให้ดำเนินคดีตามกฎหมายทุกราย 7.ให้ทุกหน่วยเน้นการขยายผลดำเนินคดีให้ถึงบุคคล กลุ่มบุคคล นายทุน ผู้มีอิทธิพล หรือผู้สนับสนุนอยู่เบื้องหลัง ให้ได้ทั้งเครือข่าย ตลอดจนทำการตรวจสอบบริษัทที่ประกอบธุรกิจสินเชื่อที่ผิดกฎหมาย 8.ให้ทุกหน่วย เฝ้าระวังตรวจสอบบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่มีพฤติการณ์ก่อเหตุรุนแรงจากการทวงหนี้ และให้แสวงหาความร่วมมือจากประชาชนควบคู่ไปกับการบังคับใช้กฎหมายด้วย 9.ให้ผู้บังคับบัญชาทุกระดับ ตรวจสอบควบคุมกำกับดูแล ผู้ใต้บังคับบัญชา ไม่ให้เข้าไปเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ห้ามมิให้เรียกรับผลประโยชน์จากผู้กระทำความผิด การจับกุมในลักษณะกลั่นแกล้ง มีส่วนพัวพัน หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ หากพบว่ามีการกระทำความผิดให้ดำเนินการทั้งคดีอาญา ทางวินัยและทางปกครอง อย่างถึงที่สุด

 

Loading