วันจันทร์, 23 ธันวาคม 2567

นครพนม”ผบ.ร.3 พัน.3 และภรรยา”ทอดกฐินสามัคคี

นครพนม
ผบ.ร.3 พัน.3 และภรรยา ค่ายพระยอดเมืองขวาง นำข้าราชการและกลุ่มแม่บ้าน สร้างกุศลทอดถวายกฐินสามัคคี พร้อมกัน 2 วัด

วันที่ 31 ตุลาคม 2563 พันโท อุทัย นิลเนตร ผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 3 (ผบ.ร.3 พัน.3) ต.กุรุคุ อ.เมือง จ.นครพนม พร้อมข้าราชการและครอบครัว ร.3 พัน.3 ชุมชนค่ายพระยอดเมืองขวาง และนายเพิ่มทรัพย์ สุขวิพัฒน์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลกุรุคุ พร้อมทั้งพุทธศาสนิกชนผู้มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาทั้งในและนอกพื้นที่ ปิดท้ายการสร้างสะพานบุญในการทอดถวายกฐินสามัคคี วัดป่าโยธาพิทักษาราม ต.กรุคุ
ขณะที่ทางด้านนางสิริกัญญา นิลเนตร ประธานสมาคมแม่บ้านทหารบก สาขา ร.3 พัน.3 และกลุ่มแม่บ้าน ร.3 พัน.3 ตลอดจนประชาชนชุมชนค่ายพระยอดเมืองขวาง ต.กุรุคุ พร้อมทั้งพุทธศาสนิกชนร่วมทอดถวายกฐินสามัคคี วัดฉลาดธรรมาราม ต.กุรุคุ

ดังนั้นพันโท อุทัย นิลเนตร ผบ.ร.3 พัน.3 และนางสิริกัญญา นิลเนตร ประธานสมาคมแม่บ้าน ทบ. สาขา ร.3 พัน.3 ค่ายพระยอดเมืองขวาง ถือว่าได้สืบสาน รักษา และต่อยอดประเพณีการทอดกฐินเป็นการบำเพ็ญกุศลอย่างหนึ่งของสาธุชนผู้นับถือศาสนาพุทธ โดยการทอดกฐินเป็นประเพณีนิยมมาตั้งแต่สมัยโบราณ ด้วยพุทธบัญญัติให้ภิกษุรับผ้ากฐินได้หลังออกพรรษา พุทธศาสนิกชนก็ตั้งใจจะอุปถัมภ์พุทธบัญญัตินั้นไว้ไม่ให้สูญหาย ฉะนั้นการทอดกฐินจึงเป็นหน้าที่ที่พุทธศาสนิกชนพึงกระทำเป็นอย่างยิ่ง เพราะการทอดกฐินถือว่าเป็นการบำเพ็ญกุศลที่ได้บุญมากทั้งผู้ให้และพระภิกษุสงฆ์ผู้รับกฐิน กฐินถือว่าเป็นทานพิเศษ จัดเป็นกาลทาน คือ ทานที่มีระยะเวลากำหนดเนื่องจากการทอดกฐินนั้น 1 ปี กระทำได้เพียงชั่วระยะเวลา 1 เดือน คือ ระหว่างวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึง วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 หากเป็นวันก่อนหน้าหรือหลังจากนั้นไม่ถือว่าเป็นการทอดกฐิน และในแต่ละวัดก็รับกฐินได้ครั้งเดียวเท่านั้น
การทอดกฐินสามารถแบ่งออกได้ 2 ลักษณะ ได้แก่ 1.มหากฐิน หมายถึง การทอดกฐินที่มีเวลามากในการเตรียมผ้ากฐิน พร้อมของบริวารต่างๆจำนวนมาก ซึ่งส่วนหนึ่งใช้สำหรับการทำนุบำรุงศาสนาให้คงอยู่ต่อไป
2.จุลกฐิน หมายถึง การทอดกฐินที่มีเวลาจำกัดเพียง 1 วัน เท่านั้น และต้องทำทุกอย่างให้เสร็จภายในวันนั้น เริ่มตั้งแต่การนำดอกฝ้ายมาทำให้เป็นปุย แล้วปั่นเป็นเส้นด้าย นำมาทอเป็นผ้าแล้วจึงตัดเป็นจีวร เมื่อทำจีวรเสร็จ จึงทำพิธีถวายกฐินในวันนั้น ฉะนั้นจุลกฐินเป็นการทอดกฐินที่ต้องอาศัยความสามัคคีของคนหมู่มากจึงจะสำเร็จ ด้วยมีระยะเวลาอันจำกัด ปัจจุบันจึงไม่นิยมทำกันเท่าไหร่ มีเพียงบางแห่งที่ต้องการอนุรักษ์ประเพณีอันงดงามนี้ไว้เท่านั้น

การทอดกฐินถือเป็นอานิสงส์ทั้งผู้ถวายและภิกษุผู้รับถวาย ผลดีฝ่ายผู้ทอดและคณะ มีดังนี้ 1.ชื่อได้ว่าถวายทานภายในเวลากำหนดที่เรียกว่ากาลทาน คือ ในปีหนึ่งถวายได้เพียงในระยะเวลา 1 เดือนเท่านั้นในข้อถวายทานตามกาลนี้มีพระพุทธภาษิตว่า ผู้ใดให้ทานตามกาล ความต้องการที่เกิดขึ้นของผู้นั้นย่อมสำเร็จได้
2.ชื่อได้ว่าสงเคราะห์พระสงฆ์ผู้จำพรรษาให้ได้ผลัดเปลี่ยนผ้านุ่งห่มใหม่ แม้ผ้ากฐินนั้นจะตกแก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งก็ชื่อว่าได้ถวายแก่สงฆ์เป็นส่วนรวม มีพระพุทธภาษิตว่า ผู้ให้ผ้าชื่อว่าให้ผิวพรรณ
3.ชื่อว่าได้ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ส่งเสริมผู้ประพฤติปฏิบัติชอบให้เป็นหลัก เป็นตัวอย่างแห่งคุณงามความดีแก่ประชาชนสืบไป

4.จิตใจของผู้ทอดกฐิน 3 กาล คือ ก่อนทอด หรือกำลังทอดและทอดแล้วที่เลื่อมใสในศรัทธาและปรารถนาดีนั้นจัดเป็นกุศลจิต คนที่มีจิตใจเป็นกุศลย่อมได้รับความสุขความเจริญ
5.การทอดกฐินทำให้เกิดความสามัคคีธรรม คือ การร่วมมือร่วมกันทำคุณงามความดี และถ้าการถวายกฐินนั้นมีส่วนได้บูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอารามด้วยแล้วย่อมเป็นการร่วมสามัคคี เพื่อรักษาศาสนวัตถุศาสนสถานให้ยั่งยืนสืบไป

เทพพนม รายงาน

Loading