มะปรางหวานทองประมูลพรหมณี ผ่านฉลุย จ่อคิวรับความคุ้มครอง
พันธุ์พืชพื้นเมืองเฉพาะถิ่น จ.นครนายก
ชาวนครนายก มีเฮ หลังคณะกรรมการคุ้มครองพันธุ์พื ชมติเอกฉันท์ รับมะปรางหวานทองประมูลพรหมมณี เป็นพันธุ์พืชพื้นเมืองเฉพาะถิ่ นชนิดที่ 2 ต่อจากส้มเขียวหวานพันธุ์เทพรส กรมวิชาการเกษตรเตรี ยมออกประกาศรับฟังความคิดเห็นผู้ มีส่วนได้ส่วนเสีย หากพ้น 90 วันไม่มีผู้คัดค้านพร้อมออกหนั งสือรับรองเป็นพันธุ์พืชพื้นเมื องเฉพาะถิ่นให้ความคุ้มครองยาว 17 ปี
นายสมบัติ ตงเต๊า รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ตามที่กรมวิชาการเกษตรได้รั บคำขอยื่นจดทะเบียนมะปรางพันธุ์ หวานทองประมูลพรหมณีเป็นพันธุ์ พืชพื้นเมืองเฉพาะถิ่น โดยมีชุมชนมะปรางหวานทองประมู ลนครนายกเป็นเจ้าของพันธุ์พื ชเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2563 นั้น สำนักคุ้มครองพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตรได้ตรวจสอบคำขอ แหล่งกำเนิด และคุณสมบัติของมะปรางพันธุ์ หวานทองประมูลพรหมมณีที่ ขอจดทะเบียนเป็นพันธุ์พืชพื้ นเมืองเฉพาะถิ่นตามพระราชบัญญั ติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ.2542 ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจดทะเบียนพันธุ์ พืชพื้นเมืองเฉพาะถิ่ นเสนอคณะกรรมการคุ้มครองพันธุ์ พืช ซึ่งมีปลั ดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็ นประธานคณะกรรมการฯ โดยที่ประชุมได้มีมติเห็ นชอบให้รับจดทะเบียนมะปรางพันธุ์ หวานทองประมูลพรหมณีเป็นพันธุ์ พืชพื้นเมืองเฉพาะถิ่นเรียบร้ อยแล้ว
ขณะนี้สำนักคุ้มครองพันธุ์พื ชอยู่ระหว่างการดำเนินการจั ดทำประกาศโฆษณาคำขอจดทะเบียนพั นธุ์พืชพื้นเมืองเฉพาะถิ่ นมะปรางพันธุ์หวานทองประมู ลพรหมณี เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ เสียยื่นคำคัดค้านเป็นระยะเวลา 90 วัน โดยจะปิดประกาศ ณ กรมวิชาการเกษตร ศาลากลางจังหวัดทุกจังหวัด รวมกรุงเทพมหานคร และสำนักงานเกษตรอำเภอทั่ วประเทศ ในกรณีที่ไม่มีคำคัดค้าน คณะกรรมการจะออกหนังสือสำคั ญแสดงการจดทะเบียนพันธุ์พืชพื้ นเมืองเฉพาะถิ่นให้ชุ มชนมะปรางหวานทองประมู ลนครนายกซึ่งมีพื้นที่การปลู กมะปรางครอบคลุม 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองนครนายก อำเภอบ้านนา และอำเภอปากพลี ต่อไป โดยขณะนี้ผู้พัฒนาพันธุ์อยู่ ระหว่างการขยายพันธุ์มะปรางพั นธุ์หวานทองประมูลพรมหณีโดยวิธี ทาบกิ่งเพื่อขยายพันธุ์เพิ่ มจำนวนไปอย่างต่อเนื่ องจนครบตามจำนวนสมาชิกชุมชนทั้ง 3 อำเภอ ซึ่งมีจำนวน 102 คน
รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า จากการที่จังหวัดนครนายกมี นโยบายส่งเสริมให้มะปรางเป็นพื ชเศรษฐกิจของจังหวัดนครนายก นายบุญส่ง เนียมหอม เกษตรกรอาชีพทำนาและทำสวนในพื้ นที่ตำบลพรหมณี อำเภอเมืองนครนายก ได้เก็บผลมะปราง (มะยงชิด) พันธุ์ทูลเกล้าที่หล่นใต้ต้ นในสวนของเพื่อนโดยนำผลที่ใกล้ เน่าเปลือกสีดำมาเพาะ จนกระทั่งอายุ 7 ปีเริ่มให้ผลผลิต พบว่ามีการกระจายตัวทางพันธุ กรรมแบ่งเป็น 3 กลุ่ม โดยในกลุ่มที่ 3 เป็นมะปรางหวานที่ทรงผลยาวรีเป็ นรูปไข่ ผลมีขนาดใหญ่ มีจุกเล็กน้อยที่ขั้วผล ผลแก่และเนื้อผลมีสีเหลืองปนส้ม ความกว้างผลประมาณ 3.2 เซนติเมตร ความยาวผลประมาณ 6.2 เซนติเมตร รสชาติหวาน และมีกลิ่นหอมจึงตั้งชื่อพันธุ์ ว่า “หวานทองประมูลพรหมณี” พร้อมกับได้ยื่นคำขอจดทะเบี ยนเป็นพันธุ์พืชพื้นเมื องเฉพาะถิ่นกับสำนักคุ้มครองพั นธุ์พืช เนื่องจากเห็นว่ามะปรางพันธุ์ หวานทองประมูลพรหมณีมีลักษณะดี และต้องการอนุรักษ์ไว้ให้เป็ นทรัพย์สินทางปัญญาของชุมชน
เมื่อมะปรางพันธุ์หวานทองประมู ลพรหมณีได้รับการจดทะเบียนเป็ นพันธุ์พืชพื้นเมืองเฉพาะถิ่ นแล้ว ชุมชนมะปรางหวานทองประมู ลนครนายก มีสิทธิแต่ผู้เดียวในการปรับปรุ งพันธุ์ ศึกษา ค้นคว้า ทดลอง วิจัย ผลิต ขาย ส่งออกนอกราชอาณาจักร หรือจำหน่ายส่วนขยายพันธุ์ของพั นธุ์พืชพื้นเมืองเฉพาะถิ่น โดยมีอายุการคุ้มครอง 17 ปี และสามารถขยายอายุการคุ้ มครองต่อได้คราวละ 10 ปี หากพันธุ์พืชนั้นยังเป็นพันธุ์ พืชที่มีอยู่เฉพาะในชุมชน และชุมชนนั้นยังคงตั้งถิ่ นฐานและสืบทอดระบบวัฒนธรรมร่ วมกันอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งยังร่วมกันอนุรักษ์หรื อพัฒนามะปรางพันธุ์หวานทองประมู ลพรหมณีโดยที่ยังไม่กระจายพันธุ์ ออกไปนอกเขตชุมชน
“มะปรางพันธุ์หวานทองประมู ลพรหมณี เป็นพันธุ์พืชที่ได้รั บการจดทะเบียนเป็นพันธุ์พืชพื้ นเมืองเฉพาะถิ่นในลำดับที่ 2 ต่อจากส้มพันธุ์เทพรสซึ่งเป็นพั นธุ์พืชเฉพาะถิ่นชนิ ดแรกของประเทศไทยที่ได้รับการรั บรองและขึ้นทะเบียนพันธุ์พืชคุ้ มครองเฉพาะถิ่นจากกรมวิ ชาการเกษตรเมื่อปี 2562 โดยหากผู้ใดจะใช้ประโยชน์จากพั นธุ์พืชที่ได้รับการจดทะเบี ยนเป็นพันธุ์พืชพื้นเมื องเฉพาะถิ่นจะต้องทำข้อตกลงแบ่ งปันผลประโยชน์กับชุมชน ซึ่งการจัดสรรผลประโยชน์ดังกล่ าวจะเป็นรายได้ร่วมกันของชุ มชนถึง 60 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นกรมวิชาการเกษตรจึ งขอเชิญชวนให้ชุมชนที่มีกิ จกรรมการอนุรักษ์และพัฒนาพันธุ์ พืชที่มีอยู่เฉพาะในชุมชนและไม่ เคยจดทะเบียนเป็นพันธุ์พืชใหม่ ยื่นขอรับความคุ้มครองได้ที่ สำนักคุ้มครองพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร โทรศัพท์ 0-2940-7214 รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าว
กลุ่มประชาสัมพันธ์และสื่ อสารองค์การ : ข่าว
วันที่ 28 เมษายน 2564