วันจันทร์, 13 มกราคม 2568

เดอะโอ๋ !!! ประธานในการประชุมบริหารราชการ ภ.7 ครั้งที่ 2 / 2565

เดอะโอ๋ !!! ประธานในการประชุมบริหารราชการ ภ.7 ครั้งที่ 2 / 2565

วันนี้ 11 มี.ค.65 ที่ห้องประชุม ภ.7 ชั้น 2 จว.นครปฐม พล.ต.ท.ธนายุตม์ วุฒิจรัสธำรงค์ ผบช.ภ.7 เป็นประธานในการประชุมบริหารราชการ ภ.7 ครั้งที่ 2/2565 และพิธีมอบโล่ประกาศเกียรติคุณให้กับหน่วยในสังกัด ภ.7 ที่มีผลการดำเนินงานดีเด่น ด้านการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนในช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ.2565 และมอบใบประกาศชมเชยการปฏิบัติหน้าที่

โดยมี พล.ต.ต.อาทิชา เปาอินทร์ รอง ผบช.ภ.7 พล.ต.ต.วัฒนา ยี่จีน รอง ผบช.ภ.7 พล.ต.ต.บุญญฤทธิ์ รอดมา รอง ผบช.ภ.7 พล.ต.ต.ปรัชญา ประสานสุข รอง ผบช.ภ.7 พล.ต.ต.ตรีวิทย์ ศรีประภา ผบก.กค.ภ.7 พล.ต.ต.ประสพชัย มัตสยะวนิชกูล ผบก.สส.ภ.7 พล.ต.ต.ไพโรจน์ คุ้มภัย ผบก.ภ.จว.กาญจนบุรี พล.ต.ต.ชมชวิณ ปุระธนานนท์ ผบก.ภ.จว.นครปฐม พล.ต.ต.อุทัย กวินเดชาธร ผบก.ภ.จว.เพชรบุรี พล.ต.ต.ปิติ นฤขัตรพิชัย ผบก.ภ.จว.ราชบุรี พล.ต.ต.อภิชาติ วรรณภักดิ์ ผบก.ภ.จว.สมุทรสาคร พล.ต.ต.เกรียงไกร วุฒิพานิช ผบก.ภ.จว.สุพรรณบุรี พล.ต.ต.สุเมธ ปุณสีห์ ผบก.ภ.จว.สมุทรสงคราม พล.ต.ต.วันชัย ธารณธรรม ผบก.ภ.จว.ประจวบคีรีขันธ์ พล.ต.ต.นิรันดร ศิริสังข์ไชย ผบก.อก.ภ.7 พร้อมผกก.104 สถานี และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม

พล.ต.ท.ธนายุตม์ วุฒิจรัสธำรงค์ ผบช.ภ.7 กล่าวในที่ประชุมโดยได้มีข้อสั่งการของ ผบ.ตร./รอง ผบ.ตร.(ในการประชุมบริหาร ตร.เมื่อวันที่ 22 ก.พ. 65 ) 1.เรื่องคดีความมั่นคง การทำลายป้ายพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อมีการจับกุมแล้ว ให้ ผบก.ลงไปกำกับดูแลคดีด้วยตนเอง เพื่อความรวดเร็ว ถูกต้อง และให้ทุกหน่วยไปดูแลในพื้นที่ล่อแหลม โดยให้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ด้วย 2.กำชับกวดชัน การจับกุมบุคคลตามหมายจับค้างเก่า กำชับฝ่ายสืบสวนให้ความสำคัญ และร่วมบูรณาการกับทุกฝ่าย เพื่อเร่งรัดจับกุมบุคคลตามหมายจับค้างเก่า ให้ปรากฏผลโดยเร็ว หัวหน้าสถานีตำรวจ/หัวหน้าหน่วย ต้องตรวจสอบหมายจับคงค้างอยู่เป็นประจำ แล้วมอบหมาย ผู้รับผิดชอบ มีการบริหารหมายจับอย่างเป็นระบบ กรณีหมายที่ครบกำหนด 180 วัน แล้วยังจับไม่ได้ ให้ถือปฏิบัติตามหนังสือ ตร. ที่ 0011.25/3020 ลง 13 ก.ย. 62 เรื่อง แนวทางปฏิบัติในการแจ้งผู้อำนวยการทะเบียนกลางเกี่ยวกับการลงรายการบุคคลที่อยู่ระหว่างการติดตามตัวตามหมายจับของศาลไว้ในทะเบียนบ้านกลาง และกรณีมีการจับกุมตัวตามหมายจับได้แล้ว ให้ดำเนินการประสานงานหน่วยเจ้าของหมาย เพื่อดำเนินการถอนหมาย และจำหน่ายออกจากระบบ CRIMES 3.กำชับให้ทุกหน่วย เร่งรัด กวดขัน จับกุม อาวุธปืน อาวุธสงคราม ผู้มีอิทธิพล มือปืนรับจ้าง ให้ปรากฏผลโดยเร็ว กรณีมีการจับกุมอาวุธปืน อาวุธสงคราม ให้ประสานหน่วยเกี่ยวข้องเพื่อตรวจสอบขยายผลให้ถึงที่สุด โดยเฉพาะให้ประสาน พฐ. ในพื้นที่เพื่อตรวจสอบด้วย กรณีมีการจับกุมผู้อิทธิพล มือปืนรับจ้าง ให้ขยายผลการจับกุม และบังคับใช้กฎหมายให้ถึงที่สุด โดยเฉพาะนำมาตรการทางด้านกฎหมายอื่น ๆ มาบังคับใช้ เช่น กฎหมายฟอกเงิน การยึดทรัพย์ 4.กำชับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ฝ่ายสืบสวนให้เป็นไปตามยุทธวิธี กำชับผู้บังคับบัญชา ทุกหน่วย ให้ความสำคัญ อำนวยการปฏิบัติของฝ่ายสืบสวนให้เรียบร้อยเพื่อป้องกันความสูญเสีย เช่น การทบทวนยุทธวิธีตำรวจ การจัดหาอุปกรณ์เครื่องมือในการปฏิบัติ เช่น เสื้อเกราะกันกระสุน, โล่กันกระสุน กรณีนี้ ผบ.ตร. มีความห่วงใย จึงมีนโยบายให้จัดฝึกอบรมทบทวนยุทธวิธีของฝ่ายสืบสวน ขณะนี้อยู่ระหว่าง บช.ศ. โดยศูนย์ฝึกยุทธวิธีตำรวจกลาง ยกร่างโครงการฯ 5.กำชับกวดขันจับกุมการจำหน่ายอุปกรณ์ตรวจ ATK ปลอม หรือไม่ได้คุณภาพผ่านออนไลน์ ให้ทุกหน่วย สืบสวนหาข่าวและวางแผนจับกุมการจำหน่ายชุดตรวจ ATK ที่ไม่ได้มาตรฐาน ไม่ได้รับอนุญาตจาก อย. โดยเฉพาะการซื้อขายผ่านระบบออนไลน์ หากสืบสวนพบการกระทำที่เข้าข่ายเป็นความผิด ให้ประสานหน่วยที่เกี่ยวข้องจับกุมดำเนินคดีตามกฎหมาย 6.ให้ทุกหน่วยประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดมาตรการรักษาความปลอดภัยและป้องกันอาชญากรรมในพื้นที่ท่องเที่ยว และประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ อาทิเช่น สถานประกอบการ โรงแรม ที่พัก สถานที่ท่องเที่ยว ในการดูแลความปลอดภัย นักท่องเที่ยว รวมทั้งปรับปรุงแก้ไขจุดเสี่ยงต่อการก่ออาชญากรรม หรือเกิดอุบัติเหตุ ตลอดจนจัดชุดสายตรวจ หรือชุดเคลื่อนที่เร็วออกตรวจสถานที่ท่องเที่ยวด้วย 7.ให้ทุกหน่วยบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการตรวจสถานประกอบการ และการจัดกิจกรรม ต้องมีการปฏิบัติตามที่ ศบค. กำหนด โดยเน้นการตรวจร้านจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่มที่เปิดให้มีการดื่มสุราภายในร้าน ให้กำชับการปฏิบัติในการตรวจสอบความผิดเรื่องมั่วสุม การลักลอบเปิดสถานบริการผิดกฎหมาย ร้านอาหาร ต้องเข้มงวด มีผลจับกุม และรายงานผลการปฏิบัติด้วยทุกครั้ง 8.ให้ทุกหน่วยบูรณาการและประสานการปฏิบัติกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เพื่อใช้กลไกปกครองท้องถิ่นและคณะกรรมการโรคติดต่อ กทม./จว. ในการแก้ไขปัญหา Cluster แบบพุ่งเป้า และดำรงมาตรการควบคุมโรคอย่างเข้มงวด 9.ให้ทุกหน่วย ประสานการปฏิบัติกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการแก้ไขปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย ภายใต้กลไกศูนย์สั่งการชายแดน และดำรงการปฏิบัติในการป้องกันและสกัดกั้นการลักลอบเข้าเมืองอย่างเข้มแข็ง มุ่งเน้นการสืบสวนให้ได้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสถานประกอบการที่รับแรงงานผิดกฎหมายเข้าทำงาน ขบวนการนำพา รวมทั้งการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ หากพบการกระทำความผิด ให้ดำเนินการทางกฎหมาย ให้เพิ่มความเข้มในการคัดกรองบุคคลเดินทางออกไปยังประเทศเพื่อนบ้าน

โดยเฉพาะการถูกหลอกลวงให้ไปทำงาน แก๊งคอลเซ็นเตอร์ตามแนวชายแดน โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่าน ผบ.ตร. เน้นย้ำเรื่องการค้ามนุษย์ เป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาล จึงต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษ กำชับให้ผู้บังคับบัญชาไปกำกับดูแลอย่างใกล้ชิด และห้ามข้าราชการตำรวจเข้าไปเกี่ยวข้องกับขบวนการการลักลอบขนแรงงานต่างด้าวเข้ามาโดยเด็ดขาด 10.กรณีเกิดเหตุประทุษร้ายต่อทรัพย์ ธนาคาร ร้านทอง และร้านสะดวกซื้อ ให้ทำการวิเคราะห์สถานภาพอาชญากรรม ปรับแผนการตรวจ ตามมาตรการป้องกัน ประชาสัมพันธ์กับผู้ประกอบการให้ป้องกันตนเอง เช่น ติดตั้งลูกกรงเหล็ก ติดตั้งระบบล็อกประตูอัตโนมัติ ติดตั้งกล้องวงจรปิดภายในและหน้าร้าน และติดตั้งสัญญาณเตือนภัยหน้าร้าน ใช้มาตรการเชิงรุกต่อบุคคล กลุ่มเป้าหมาย เช่น บุคคลพ้นโทษ บุคคลที่ติดการพนัน และบุคคลผู้เกี่ยวข้องกับสารเสพติดในพื้นที่ ใช้รถของทางราชการเปิดสัญญาณไฟวับวาบในย่านชุมชน จุดเสี่ยง จุดล่อแหลม มีการชักซ้อมแผนเผชิญเหตุ เมื่อเกิดเหตุให้เข้าถึงที่เกิดเหตุตามกรอบเวลาที่กำหนด โดยให้ปฏิบัติตามยุทธวิธี และ SOP การเผชิญเหตุของเจ้าหน้าที่ตำรวจตามที่ได้รับการฝึกอบรม 11.ให้ทุกหน่วยจัดทำแผนเผชิญเหตุ กรณีกลุ่มวัยรุ่นทะเลาะวิวาทกันในสถานที่ต่าง ๆ อาทิเช่น ในสถาบันการศึกษา ในโรงพยาบาล หรือในสถานที่สาธารณะต่าง ๆ และให้มีการซักซ้อมแผนเผชิญเหตุด้วย 12.เน้นย้ำเรื่องการรับแจ้งความออนไลน์ ให้ทุกหน่วยศึกษาคำสั่ง ตร. ที่ 77/2565 ลง 28 ก.พ. 65 เรื่อง การรับแจ้งความและการบริหารคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยีผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค. 65 โดยให้ปฏิบัติดังนี้ (1)ให้ผู้บริหารการรับแจ้ง (Admin) ของ สน. เปิดดูระบบตั้งแต่เวลา 09.00 – 23.00 น. ของทุกวัน (09.00 น. ให้เปิดดูระบบทันที) เพื่อจะได้รีบดำเนินการและไม่เกิดปัญหาเรื่องตกค้าง (2)ให้ผู้บังคับบัญชา ระดับ สน./ภ.จว./ภ. กำกับดูแล ประชุมติดตามผลการปฏิบัติงานดังนี้ ในระดับ สภ. -09.00 น. ให้เปิดเข้าดูระบบโดยทันที ทุกวัน (ไม่เว้นวันหยุดราชการ) – 09.30 น. ให้ หน.สภ.หรือ หน.งานสอบสวน ประชุมติดตามคดีออนไลน์ ทุกวัน (ไม่เว้นวันหยุดราชการ) โดยควรมีข้อมูลในการพิจารณา เช่น เรื่องที่ส่งมาให้มีกี่เรื่อง ได้มอบหมาย พงส. และฝ่ายสืบสวนผู้ใดเป็นผู้รับผิดชอบในแต่ละเรื่อง ได้มีการนัดหมายผู้แจ้งตามกำหนดเวลา 4 ชม. หรือไม่ มีความคืบหน้าในแต่ละคดีอย่างไร ฯลฯ พร้อมจัดทำรายงานการประชุมทุกครั้ง -10.00 น. ประชุมติดตามคดีออนไลน์ ร่วมกับ ภ.จว. ทุกวัน (ไม่เว้นวันหยุดราชการ) ผ่านระบบสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ หรือระบบ Zoom และร่วมประชุมประจำสัปดาห์กับ ภ. ทุกสัปดาห์ ในส่วน ระดับ ภ.จว. -10.00 น.ให้ผู้บริหารการรับแจ้ง (Admin) ระดับ ภ.จว. ประชุมติดตามคดีออนไลน์ ร่วมกับ สภ. ของทุกวัน (ไม่เว้นวันหยุดราชการ) ผ่านระบบสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ หรือระบบ Zoom ร่วมกับ สภ. เพื่อกำกับ ดูแลให้มีการบริหารคดี พร้อมจัดทำรายงานการประชุมของ ภ.จว. ไว้ด้วยทุกครั้ง และร่วมประชุมประจำสัปดาห์กับ ภ. ทุกสัปดาห์ – หากพบว่าคดีที่เกิดขึ้นของ สภ.ในสังกัดเป็นคดีที่มีความเชื่อมโยงกันใน ภ.จว. ให้พิจารณารวมคดีได้ โดยให้ ภ.จว.เป็นผู้รับผิดชอบการสอบสวน -ให้มีการจัดเจ้าหน้าที่เวรประจำทุกวัน เพื่อติดตามการปฏิบัติในการนัดหมายคดีของผู้แจ้งในหน่วยในสังกัดว่าเป็นไปตามข้อสั่งการหรือไม่ แล้วรายงานให้ รอง ผบก.(ที่ได้รับมอบหมาย) ทราบ ตามแบบฟอร์มที่กำหนด ส่วนระดับ ภ. -ให้มีการประชุมผ่านระบบสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ หรือระบบ Zoom กับ สภ./ภ.จว. ในสังกัด เพื่อกำกับดูแลให้มีการบริหารคดี สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ทุกวันพฤหัสบดี โดยให้ รอง ผบช.(ที่ได้รับมอบหมาย) เป็นประธานการประชุมด้วยตนเอง และรายงานให้ ตร. ทราบ ในวันรุ่งขึ้น ผ่านทางอีเมล police.pct1@gmail.com – ครั้งแรกให้ ประชุมวันที่ 10 มี.ค. 65 และรายงานให้ ตร. ทราบ ในวันที่ 11 มี.ค. 65 ก่อนเวลา 14.00 น.(ตามแบบฟอร์มที่กำหนด) -ให้มีการจัดเจ้าหน้าที่เวรประจำทุกวัน เพื่อติดตามการปฏิบัติในการนัดหมายคดีของผู้แจ้งในหน่วยในสังกัดว่าเป็นไปตามข้อสั่งการหรือไม่ แล้วรายงานให้ รอง ผบช. (ที่ได้รับมอบหมาย) ทราบตามแบบฟอร์มที่กำหนด (3)ในกรณีที่ พงส. สภ./ภ.จว. มีความประสงค์จะขออายัดบัญชีหรือขอข้อมูลอื่นๆ เกี่ยวกับคดีจากธนาคาร ให้ พงส.ประสานงานไปยังเจ้าหน้าที่ฝ่ายประสานข้อมูลของศูนย์บริหารรับแจ้งความออนไลน์ฯ ทางโทรศัพท์ 089 109 0000 หรือไลน์ไอดี @pctsupport ซึ่งจะมีเมนูให้ใช้งานหลัก คือ แจ้งปัญหาข้อขัดข้อง ผ่านระบบ Google form แจ้งส่งหมายอายัดและข้อมูลธนาคาร และคู่มือแนวทางการปฏิบัติงาน 13.ให้ทุกหน่วยประชาสัมพันธ์ 14 ข้อกลโกง ที่มิจฉาชีพมักใช้ในการหลอกเหยื่อบนโลกออนไลน์ ให้ประชาชนรับทราบและระมัดระวัง หากตกเป็นเหยื่อให้รีบแจ้งความออนไลน์ทันทีดังนี้ (1)หลอกขายของออนไลน์ (2)คอลเซ็นเตอร์ (Call Center) (3)เงินกู้ออนไลน์ดอกเบี้ยโหด (4)เงินกู้ออนไลน์ที่ไม่มีจริง (เงินกู้ทิพย์) (5)หลอกให้ลงทุนต่าง ๆ ผลตอบแทนสูงที่ไม่มีจริง (6)หลอกให้เล่นพนันออนไลน์ (7)ปลอมโปรไฟล์หลอกให้หลงรัก แล้วหลอกให้โอนเงิน หรือให้ลงทุน (Romance Scam / Hybrid Sacm)(8)ส่งลิงค์ปลอมหลอกแฮ็กเอาข้อมูลส่วนตัว ขโมยข้อมูลโทรศัพท์ บัญชีธนาคาร (9)อ้างเป็นบุคคลอื่นเพื่อหลอกเอาข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลสำคัญ เช่น รหัส OTP ข้อมูลหลังบัตรประชาชน (10)ปลอมบัญชีไลน์(Line) เฟสบุ๊ค(Facebook) หลอกยืมเงิน (11)ข่าวปลอม (Fake news) ผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ (ชัวร์ก่อนแชร์) (12)หลอกลวงให้ถ่ายภาพโป้เปลือย เพื่อใช้แบล็คเมล์ (13)โฆษณาชวนไปทำงานต่างประเทศ แล้วบังคับให้ทำงานผิดกฎหมาย (14)ยินยอมให้ผู้อื่นบัญชีธนาคาร (บัญชีม้า) ร่วมกันกระทำผิดฐานฉ้อโกงประชาชน ,ฟอกเงิน 14.ในการประชุมบริหารครั้งต่อ ๆ ไป ให้ รอง ผบช. ทุกท่าน นำเสนอผลการปฏิบัติงานในความรับผิดชอบ ทั้งหน้างานหลัก และศูนย์ปฏิบัติต่างๆ โดยให้นำเสนอผลการปฏิบัติเป็น รายเดือน และสะสมตั้งแต่ ต.ค. 64 จนถึงปัจจุบัน เพื่อให้แต่ละ จว. รับทราบผลการปฏิบัติ เป็นแนวทางในการขับเคลื่อนต่อไป 15.ภ.7 กำหนดให้มีการระดมกวาดล้างการกระทำความผิดเกี่ยวกับเด็ก สตรี ครอบครัว และป้องกันปราบปรามการค้ามนุษย์ (ศพดส.) ห้วงระหว่างวันที่ 12 – 21 มี.ค. 65 รวม 10 วัน ให้ทุกหน่วยระดมกวาดล้าง และจับกุมการกระทำความผิดตามรูปแบบการแสวงหาประโยชน์ตามที่ ศพดส.ตร. กำหนด ใน 11 รูปแบบ (1)การค้าประเวณี (2)ผลิตสื่อลามก (3)เพศรูปแบบอื่น (4)เป็นทาส (5)ขอทาน(6)แรง

(7)แรงงานประมง (8)แรงงานบังคับ ตามมาตรา 6/1 (9)ใช้แรงงานเด็กรูปแบบเลวร้าย ตามมาตรา 56/1 (10)ตัดอวัยวะ (11)ขูดรีด
พล.ต.ท.ธนายุตม์ วุฒิจรัสธำรงค์ ผบช.ภ.7 กล่าวข้อสั่งการต่อว่า ด้วยในวันที่ 7 เม.ย.65 คุณรัตนาภรณ์ สีวลีพันธ์ นายกสมาคมแม่บ้านตำรวจ พร้อมคณะแม่บ้านตำรวจ จะมาตรวจเยี่ยมโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิต 1 จังหวัด 1 ผลิตภัณฑ์ (OPOP) ซึ่งเป็นโครงการตามนโยบายของสมาคมแม่บ้านตำรวจ ประจำปีงบประมาณ 2565 จึงขอความร่วมมือให้แต่ละจังหวัดดำเนินการจัดบูธแสดงสินค้าและผลิตภัณฑ์ของแม่บ้านตำรวจ ขอให้แต่ละจังหวัดดึงเอกลักษณ์ของจังหวัดนั้น ๆ ออกมาแสดงให้สวยงาม โดยทางชมรมแม่บ้านตำรวจภูธรภาค 7 ได้สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดทำบูธ จังหวัดละ 10,000 บาท และขอให้ ผบก.ภ.จว.แต่ล่ะจังหวัดให้สนับสนับสนุนกิจกรรมแม่บ้านตำรวจภูธรภาค 7 อย่างเต็มความสามารถ รวมทั้งขอเชิญ รอง ผบช.พร้อมภริยา และผบก.ภ.จว.พร้อมภริยา มาร่วมต้อนรับในวันที่ 7 เม.ย. 65 นี้ด้วย

Loading