วันอังคาร, 24 ธันวาคม 2567

เรื่องราวพระเครื่อง – พระบูชา ตอนที่ ๑ พระสมเด็จวัดระฆังฯ

เรื่องราวพระเครื่อง – พระบูชา
ตอนที่ ๑ พระสมเด็จวัดระฆังฯ
โดย ปู เมืองนนท์

วันนี้ผมจะขอนำท่านผู้อ่านมารู้จักพระเครื่องชั้นยอดที่ถือว่าเป็นจักรพรรดิ์ของพระเครื่องของไทย
ซึ่งน้อยคนนักที่จะไม่เคยได้ยินชื่อเสียงของพระเครื่ององค์นี้ นั่นก็คือพระสมเด็จวัดระฆังฯ
ก่อนอื่นจะขอกล่าวถึงที่มาของพระเครื่องชนิดนี้โดยแบ่งเนื้อหา เป็น ๔ ส่วน ดังนี้
๑. ประวัติวัดระฆังฯโดยย่อ
๒. ประวัติส่วนตัวของผู้สร้างพระสมเด็จวัดระฆัง
๓. รายละเอียดการสร้างพระสมเด็จวัดระฆัง
๔. หลักการดูหรือพิจารณาพระสมเด็จวัดระฆัง
๑. วัดระฆังโฆสิตาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรมหาวิหาร ตั้งอยู่บนถนนอรุณอมรินทร์
แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร เดิมชื่อวัดบางหว้าใหญ่ เป็นวันเก่าแก่มีมาแด่ครั้ง
กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ทรงปฏิสังชรและยกขึ้นเป็นพระอาราม
หลวง มีพระราชาคณะที่มีชื่อเสียง และสร้างพระเครื่องเป็นที่รู้จักกันในวงการนิยมพระเครื่องฯ คือ
๑.๑. สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี
๑.๒. สมเด็จพระพุฒาจารย์ (ทัด) สมเด็จปีลันทน์
๑.๓.สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ)
๒. ประวัติส่วนตัวของผู้สร้างพระสมเด็จฯ “สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี”

ท่านเกิดเมื่อวันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๓๓๑ เวลาย่ำรุ่ง ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระ
พุทธยอดฟ้าจุฬโลกรัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ที่อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ได้บรรพชาเป็นสามเณรในยุครัชกาลที่ ๑ และได้ปสมบทในฐานะนาคหลวง ณ วัดพระศรีรัต
ศาสดาราม (วัดพระแก้ว) เมื่อ พ.ศ. ๒๓๕ㆍ เป็นเจ้าอาวาสลำดับที่ ๖ ของวัดระฆังฯ
ท่านอาพาธด้วยโรคชรา และมรณภาพในสมัยรัชกาลที่ ๕ ตรงกับวันที่ ๒๒ มิ.ย. ๒๔๕๑
เวลา ๒๔.0๐ น. ที่วัดบางขุนพรหม กทม. อายุ ๘๕ ปี
๓. รายละเอียดการสร้างพระสมเด็จวัดระฆัง
พระเครื่องที่ท่าน สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี ได้ทำกรสร้างไว้นี้ ในวงการของ

 

เรื่องราวพระเครื่อง-พระบูชา ตอนที่ ๑.paf
๓. รายละเอียดการสร้างพระสมเด็จวัดระฆัง
พระเครื่องที่ท่าน สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี ได้ทำการสร้างไว้นี้ ในวงการของ
ท่านผู้นิยมพระครื่องฯ ด่างเรียกกันว่า “พระสมเด็จวัดระฆัง” หรือ “พระสมเด็จฯ” เป็นพระเครื่องขนาด
ห้อยคอ มีสัณฐานรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า แนวดั้ง(แบบชิ้นฟัก) มีรูปแทนองค์สัมเด็จพระสัมมา
สัมพุทธเจ้า ปางสมาธิอยู่ในซุ้มหวายผ่าซีก ที่ด้านหน้า ส่วนด้านหลังมีสัณฐานเรียบ สร้างด้วยเนื้อ
ผงอิทธิเจฯ เศษธูป เศษไม้ เศษอิฐ ดอกไม้บูชาพระ ผงใบลานเผาไฟ เศษจีวร ผงปูน ฯลฯ และ
ประสานด้วยน้ำมันตังอิ้ว
มีแม่พิมพ์มาตราฐานนิยมอยู่ทั้งหมด ๕ แม่พิมพ์
๓.๑. พิมพ์ใหญ่ (พิมพ์พะประธาน)
๓.๒. พิมพ์ทรงเจดีย์
๓.๓. พิมพ์เกศบัวตูม
๓.๔. พิมพ์ฐานแซม
๓.๕. พิมพ์ปรกโพธิ์ (สร้างจำนวนน้อยมาก)

หมายเหตุ
ในแต่ละพิมพ์ทรงนั้นยังอาจแยกเป็นแม่พิพ์อยได้อีกหลายพิมพ์ (ในบางพิมพ์ทรง)
๔. หลักการดูหรือพิจารณาพระสมเด็จฯ
สามารถจำแนกได้เป็น ๓ ส่วนใหญ่ๆ ดังนี้คือ
๔.๑. ด้านพิมพ์ทรง
ท่านจะต้องจดจำพิมพ์ หรือลักษณะของแม่พิมพ์พระสมเด็จฯ ให้ได้ละเอียดเป็นอย่างดี ว่ามี
แม่พิมพ์พระจำนวนกี่แม่พิมพ์ หาจุดที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละพิมพ์ จดจำให้แม่นยำอย่างละเอียด
รอบคอบทั้งด้านหน้า ด้านข้างและด้านหลัง
๔.๒. ด้านเนื้อพระ

ต้องหมั่นสังเกดและจดจำเนื้อของพระแท้ๆ (ต้องดูพระจริง) ว่ามีส่วนผสมแบบเนื้อลักษณะ
ใด มวลสารที่ผสมอยู่ในเนื้อพระสมเด็จฯ เช่น เศษอิฐ ไม้ านธูป เศษจีวร เม็ดมวลสารด่างๆ อันเป็น
เอกลักษณ์ที่มีอยู่ในเนื้อสมเด็จแท้ มวลสารบางชนิดมีอยู่แต่ในเฉพาะพระสมเด็จฯ (ไม่มีผสมในเนื้อ
พระเนื้อผงชนิดอื่นและมวลสารบางอย่างที่มีอยู่ในเนื้อพระอื่นจะไม่สังเกดเห็นได้ในเนื้อพระสมเด็จ)

 

๔.๓. ธรรมชาติและความเก่า (อายุของพระเครื่อง)
ต้องเข้าใจและศึกษาว่าธรรมชาติความเก๋าที่มีในพระเนื้อผงเก่านั้น มีลักษณะเป็นอย่างไรใน
องค์พระสมเด็จฯ โดยอาศัยการดูเทียบเคียงพระเครื่องเนื้อผงเก่าอื่นๆ เช่น เนื้อพระ วัดพลับ วัดเงิน
คลองเตย หลวงปู่ฎ หลวงปู่เผือก ฯลฯ ความเหมือนและความแตกด่างกันมาเป็นแนวทางการ
พิจารณาด้วยครับ
บทสรุป

การดูพระสมเด็จฯ จะต้องอาศัยการพิจารณา ด้านพิมพ์ทรง เนื้อพระ ตลอดทั้งธรรมชาติของ
พระสมเด็จฯ ที่แตกต่างกัน ทั้งด้านหน้า ด้านข้างและด้านหลัง ในพระสมเด็จฯหลายๆ สภาพ หลายๆ
องค์ จากพระแท้ๆ (ซึ่งจะหาดูของแท้แด่ละองค์ก็อาจเป็นการไม่ง่ายนัก) ต้องผ่านตาและจดจำราย
ละเอียดต่างๆ นี้ให้แม่นยา ฉนั้นคนที่จะดูพระสมเด็จฯ เป็นนั้น คงต้องผ่านการดูพระเนื้อผงเก่าๆ เป็น
พื้นฐานมาก่อน และจะต้องได้มีโอกาสผ่านตา ได้ดูพระสมเด็จฯ(แท้) มาอีกหลายๆ สิบองค์ กว่าจะดู
เป็นหรือพิจารณาได้ ว่าเป็นพระแท้ หรือพระปลอม โดยอาศัยประสบการณ์ผ่านตาตลอดจนคำ
แนะนำชี้แนะจากผู้ชำนาญการฯ(เซียน) ในการดูพระสมเด็จแท้ๆ ซึ่งในปัจจุบันมีไม่มากครับ
พระสมเด็จวัดระฆังฯ ของ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) นี้ ยังจัดอยู่ในหมวดของพระเครื่อง
ยอดนิยมที่เรียกว่าเป็นหนึ่งในพระชุด “เบญจภาคี” ซึ่งเป็นพระเครื่องยอดนิยมสูงสุดของวงการ
พระเครื่อง – พระบูชา ของประเทศไทยอีกด้วยครับ
ผมหวังว่าเนื้อหาเรื่องราวพระสมเด็จวัดระฆังที่ได้พิมพ์ลงในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์และ
แนวทางตลอดจนใช้เพิ่มพูนความรู้ในการพิจารณาพระสมเด็จฯ ของท่านผู้อ่านได้มากขึ้นนะครับ
สุดท้ายขอกราบขอบพระคุณท่านเจ้าของพระและภาพพระสมเด็จวัดระฆังที่ได้ดีพิมพ์

เพื่อเผยแพร่เป็นวิทยาทานเสริมความรู้แก่ท่าน มา ณ ที่นี้ด้วยครับ
ปู เมืองนนท์
โทร. 0๘๗ ๑๕๕ ๕๕๑๕
Line id : bamboo9555
















 

Loading