วันศุกร์, 29 พฤศจิกายน 2567

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุตรดิตถ์เตรียมความพร้อมต้านการแพทย์และสาธารณสุขช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ.2566

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุตรดิตถ์เตรียมความพร้อมต้านการแพทย์และสาธารณสุขช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ.2566

จากการเปิดเผยของ นายแพทย์อี๊ดยังวัน ยงย่วน นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดอุตรดิตถ์ เปิดเผยว่าทางสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุตรดิตถ์ เปิดศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข (EOC) ระหว่างวันที่ 10-18 เมษายน 2566 เพื่ออำนวยการ ควบคุม กำกับ ตูแล ดังนี้ 1.การช่วยเหลือด้านการแพทย์หลังเกิดเหตุ 2.การบริหาจัดการและวิเคราะห์ข้อมูล3.การรายงานข้อมูลผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจากการจราจรทางถนน 9 การสอบสวนการบาดเจ็บและเสียชีวิต 3. เตรียมความพร้อมด้านการช่วยเหลือหลังเกิดเหตุศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ 1662 จัดเตรียมความพร้อมด้านบุคลกรรับแจ้งเหตุ ด้านการสื่อสารทุกช่องทางให้ใช้งานตลอด 24 ชั่วโมง ประสานหน่วยปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉิน (ALS,BLS,EMR) ขององค์กรท้องถิ่น มูลนิธิ สมาคมในพื้นที่ให้เตรียมความพร้อมตลอด 24 ชั่วโมง

โรงพยาบาลทุกแห่ง ชักซ้อมและทบทวนแผนรับอุบัติเหตุหมู่ของโรงพยาบาล เตรียมความพร้อมเวชภัณฑ์และยานพาหนะ(รถพยาบาลกู้ชีพ) จัดอัตรากำลังแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ และอุปกรณ์ต่างๆในห้องฉุกเฉิน (ER) ให้สามารถพร้อมรับผู้บาดเจ็บและการสำรองโลหิต สำรองเตียงหากเกิดอุบัติเหตุหมู่ อุบัติเหตุที่มีความรุนแรง ตลอด 24 ชั่วโมงสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ : ควบคุม กำกับ สถานบริการสาธารณสุขในสังกัด และประสาน รพ.สต.ในอำเภอที่รับผิดชอบ จัดเตรียมความพร้อมเวชภัณฑ์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ในต้านการรักษาพยาบาลของสถานบริการสาธารณสุขในสังกัดเปิดให้บริการประชาชนในห้วงวันหยุดตามความเหมาะสมโดยมิให้เกิดผลกระทบกับประชาชนที่เจ็บป่วยหรือมีความต้องการรับการบริการทางด้านการรักษาพยาบาล ในส่วนของ แนวทางการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ.2566 สสจ.และสสอ. บูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวช้องดำเนินการบังคับใช้กฎหมายกับผู้กระทำผิดกฎหมายทุกราย เช่น ขายนอกเวลาที่กฎหมายกำหนด ขายให้เด็ก ขายให้คนเมา ไม่มีใบอนุญาตขายสุรา (พรบ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์พ.ศ.2551)

 

ประสาน อสม. ดำเนินการประชาสัมพันธ์และดูแลประชาชนกลุ่มเสี่ยง สอดส่องกิจกรรมเสี่ยง ดำเนินการป้องปรามผู้ดื่มสุราในชุมชนไม่ให้ขับขี่ยานพาหนะ พร้อมทั้งให้ความรู้และขอความร่วมมือในการปฏิบัติตนมีให้ตกเป็นเหยื่อของอุบัติเหตุทางถนน รวมไปถึง การตรวจแอลกอฮอล์ในเลือดของผู้ขับขี่ กระทรวงสาธารณสุข ยกเว้นค่าตรวจแอลกอฮอล์ในเลือดผู้ขับขี่ที่เกิดอุบัติเหตุ ซึ่งเหตุนั้นทำให้มีผู้บาดเจ็บ เสียชีวิต หรือทรัพย์สินเสียหาย ที่เจ้าหน้าที่ตำรวจส่งตัวมาโรงพยาบาลเพื่อเจาะเลือด เพราะไม่สามารถตรวจแอลกอฮอล์โดยการเป่าทางสมหายใจได้ ในห้วงวันที่ 11-17 เมษายน 2566

ณัฐวัฒน์ ราชประสิทธิ์ ภาพ/ข่าวอุตรดิตถ์

 

Loading