วันพุธ, 27 พฤศจิกายน 2567

“ดร.ดนุช” ร่วมเสวนาถอดบทเรียน U2T for BCG” ทำแล้วต้องให้สุดเพื่อผลลัพธ์อันเป็นรูปธรรมที่ยั่งยืน

“ดร.ดนุช” ร่วมเสวนาถอดบทเรียน U2T for BCG” ทำแล้วต้องให้สุดเพื่อผลลัพธ์อันเป็นรูปธรรมที่ยั่งยืน

ดร.ดนุช ตันเทอดทิตย์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
ประธานเปิดงาน “U2T for BCG บทเรียนจากอดีตสู่ความต่อเนื่องยั่งยืน” กิจกรรมภาคต่อโครงการส่งเสริมการตลาดเพื่อประชาสัมพันธ์และแนะนำผลิตภัณฑ์สินค้า U2T for BCG ที่จัดขึ้น ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
ต.ท่าช้าง อ.เมือง จ.จันทบุรี ซึ่งเป็นหนึ่งพื้นที่เป้าหมายภาคตะวันออกที่ อว.ลงพื้นที่จัดแสดงสินค้าออกสู่
ตลาดผู้บริโภค ขยายโอกาสเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและพัฒนาช่องทางการตลาดทั้งออฟไลน์
และออนไลน์ให้แก่ผู้ประกอบการในภาคธุรกิจและภาคบริการต่างๆ นับตั้งแต่เริ่มโครงการ จนกระทั่ง
ปัจจุบัน ถือเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องรู้ข้อดี ข้อเสีย เพื่อนำมาปรับปรุงโครงการและชุมชมให้เกิด
ประสิทธิภาพและประสิทธิผลในอนาคต

สำหรับงานเสวนาหัวข้อ “U2T for BCG บทเรียนจากอดีต สู่ความต่อเนื่องยั่งยืน” มหาวิทยาลัยราชภัฏ
รำไพพรรณี และตัวแทนผู้ประกอบการเข้าร่วมหารือ โดย อว. ผสานความร่วมมือกับ อุทยานวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยี Science Park ,คลินิกเทคโนโลยี ผู้ผลิตสินค้าระดับโอทอป (OTOP) และ หน่วยบ่มเพาะ
วิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา หรือ University Business Incubator : UBI นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้า
ไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชนจนได้ผลผลิตภูมิปัญญาชุมชนนำมาส่งเสริมและผลิตออกจำหน่าย ปัญหาที่
พบบ่อยรวมถึงวิธีการแก้ไขเพื่อให้ผู้ประกอบการได้นำไปต่อยอด จากนั้นนำชมผลงาน U2T for BCG ที่
นำมาจัดแสดงมากมาย ทั้งสินค้าทางการเกษตร พืชผัก ผ้าไหม เครื่องจักสาน ตัวอย่างที่สินค้าที่ได้รับการ
พัฒนาแล้ว เพื่อเป็นการส่งเสริมและเพิ่มมูลค่าทางวัตถุดิบให้เกิดประโยชน์สูงสุด

โดย ดร.ดนฺช ตันเทอดทิตย์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ
นวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า “ภายหลังจากที่เริ่มโครงกรยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณา
การ มหาวิทยาลัยสู่ตำบลสร้างรากแก้วให้ประเทศ หรือ โครงการ U2T ถือว่าบรรลุวัตถุประสงค์ ยกระดับ
เศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ โดยมหาวิทยาลัยในพื้นที่เป็นหน่วยบูรณาการโครงการ
(System Integrator) การจ้างงานการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่มีความครอบคลุมในประเด็นต่าง ๆ ตาม
ปัญหาและความต้องการของชุมชน การจัดทำข้อมูลขนาดใหญ่ของชุมชน (Community Big Data) โดย
มหาวิทยาลัยเป็น System Integrator มีการจ้างงานประชาชนทั่วไป บัณฑิตใหม่ และนักศึกษา มีงานทำ
และฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชน ตลอดจนให้เกิดการพัฒนาตามปัญหาและความต้องการของชุมชน ซึ่งการถอด
บทเรียนครั้งนี้ทำให้เราได้เห็นทั้งมุมมองที่ประสบความสำเร็จ และด้านที่ยังต้องพัฒนาอีกมาก ปัญหาต่างๆ
ที่เกิดขึ้นในแต่ละพื้นถิ่นก็ไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นการได้จัดเสวนา นำไปสู่การแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนและ
เป็นรูปธรรม สำหรับปีงบประมาณ 2566 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรม (อว.)
ยังคงมุ่งเน้นเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิต และบริการด้าน BCG
เพื่อให้สมบูรณ์ครบทุกพื้นที่ต่อไป

 

น.ส.ปวีย์ธิดา วราพรพิสิฐกุล
ผู้สื่อข่าวจันทบุรี

Loading