วันอังคาร, 26 พฤศจิกายน 2567

เกษตร”เตือนเฝ้าระวังโรคใบด่างมันสำปะหลัง

เกษตรเตือนเฝ้าระวังโรคใบด่างมันสำปะหลัง

ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดสุพรรณบุรี สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 2 จังหวัดราชบุรี เตือนการระบาดศัตรูพืช ปีที่ 13 ฉบับที่ 20 เดือนสิงหาคม 2566 เฝ้าระวังโรคใบด่างมันสำปะหลังเกิดจากเชื้อไวรัส Sri Lankan cassava mosaic virus (SLCMV) เป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายได้ ทำความเสียหายแก่ต้นมันสำปะหลังได้ทุกช่วงระยะการเจริญเติบโต เป็นเหตุให้คุณภาพและผลผลิตมันสำปะหลังลดลง หากการระบาดรุนแรง ผลผลิตลดลงถึง 80 – 100 %อาการของมันสำปะหลังที่เป็นโรคมันสำปะหลังแสดงอาการใบด่างเหลือง ใบเสียรูปทรง/ลดรูป ลำต้นแคระแกร็น ใบและยอดที่แตกใหม่แสดงอาการด่างเหลือง บิดเบี้ยว หงิกงอ หากนำท่อนพันธุ์ที่เป็นโรคมาปลูกจะพบอาการของโรคทั้งต้น ตั้งแต่ใบบริเวณยอดจนถึงใบบริเวณโคนต้น

การถ่ายทอดโรค ​1. แมลงหวี่ขาวยาสูบพาหะนำโรค
​2. ท่อนพันธุ์แนวทางป้องกันการระบาด
​1. ใช้ท่อนพันธุ์ปลอดโรค
​2. สำรวจแปลงอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง​3. กำจัดแมลงหวี่ขาวยาสูบ โดยใช้เชื้อราบิวเวอเรียในกรณีเพิ่งพบการระบาด แต่ถ้ามีการระบาดรุนแรงแนะนำให้ฉีดพ่นสารเคมี ได้แก่- ไทอะมิโทแซม 25% WG อัตรา 12 กรัมต่อน้า 20 ลิตร- อิมิดาโคลพริด 70% WG อัตรา 12 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร- หรือโอเมโทเอต 50% SL อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ​4. หลีกเลี่ยงการปลูกพันธุ์ที่อ่อนแอต่อโรค เช่น พันธุ์ CMR 43-08-89 และพันธุ์ ระยอง 11ควรเลือกปลูกพันธุ์ ทนทานต่อโรค เช่น พันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 ระยอง 72 ระยอง 90 และพันธุ์ห้วยบง 60

หากพบต้นมันสำปะหลังที่เป็นโรคแจ้งสำนักงานเกษตรอำเภอ หรือ สำนักงานเกษตรจังหวัดใกล้บ้าน
หรือหน่วยงานของกรมวิชาการเกษตรในพื้นที่ทันที

 

Loading