วันอังคาร, 19 พฤศจิกายน 2567

รมต.เกษตรลงพื้นที่นครปฐม แปลงใหญ่ข้าวไผ่หูช้าง ทำนาไม่เผาฟาง เปลี่ยนรำข้าว เป็นน้ำมันรำข้าว ตอบโจทย์ Zero Waste อนาคตเปลี่ยนขยะให้เป็นทอง

นครปฐม110567แปลงใหญ่ข้าวไผ่หูช้าง ทำนาไม่เผาฟาง เปลี่ยนรำข้าว เป็นน้ำมันรำข้าว ตอบโจทย์ Zero Waste อนาคตเปลี่ยนขยะให้เป็นทอง

ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และคณะผู้บริหาร ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมเกษตรกรในพื้นที่อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ติดตามผลการดำเนินงานของเกษตรกรแปลงใหญ่ข้าวไผ่หูช้าง เกษตรกรเข้มแข็ง ยืนหยัดทำนา โดยไม่เผาฟาง เป็นไปตามการจัดการทรัพยากรทางการเกษตรทำการเกษตรที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม (Go Green) ด้วย BCG และ Carbon Credit พร้อมมีไอเดียเปลี่ยนรำข้าว เป็นน้ำมันรำข้าว ตอบโจทย์ Zero Waste Circular Economy

เกษตรกรแปลงใหญ่ข้าวไผ่หูช้าง กำลังพัฒนาผลิตภัณฑ์จากรำข้าว เป็น “น้ำมันรำข้าว” เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร อันเป็นกลยุทธ์ที่สร้างมูลค่าให้เพิ่มสูงขึ้น และลดปริมาณการสูญเสียในกระบวนการผลิต ตลอดจนเกิดความสมดุลของระบบนิเวศ ตามหลักการ Zero Waste ลดขยะให้เป็นศูนย์ แต่กลุ่มแปลงใหญ่ข้าวไผ่หูช้าง กำลังจะเปลี่ยนขยะให้เป็นทอง ในอนาคตต่อไป

สำนักงานเกษตรจังหวัดนครปฐม โดยนางสาวธนนันท์ ศรีสุวะ เกษตรจังหวัดนครปฐม ได้นำเสนอผลการดำเนินงานของเกษตรกรแปลงใหญ่ข้าวไผ่หูช้าง เป็นหนึ่งในผู้ผลิตข้าวที่มีคุณภาพมาตรฐาน ได้ส่งเสริมการทำเกษตรในรูปแบบแปลงใหญ่ ผลักดันให้เกษตรกรในพื้นที่รวมกลุ่มจัดตั้งเป็นแปลงใหญ่ข้าวตำบลไผ่หูช้าง อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม มีการทำแผนการดำเนินงานร่วมกัน พัฒนาผลผลิตให้มีคุณภาพ มีมาตรฐาน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตามความต้องการของผู้บริโภค ใช้หลักตลาดนำการผลิต โดยการบริหารจัดการให้สำเร็จตามนโยบายแปลงใหญ่ของกรมส่งเสริมการเกษตร ในด้านการลดต้นทุนการผลิต และการเพิ่มผลผลิต เกษตรกรลดการใช้สารเคมีเพียงอย่างเดียว มาใช้วิธีการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน สมาชิกในกลุ่มแปลงใหญ่ร่วมกันทำสารชีวภัณฑ์ สามารถลดค่าสารเคมีลงได้ไร่ละ 300 บาท ปรับเปลี่ยนจากนาหว่านเป็นนาดำ ใช้เมล็ดพันธุ์เพียง 10 – 15 กิโลกรัม/ไร่ เมื่อเทียบกับนาหว่านซึ่งจะใช้เมล็ดพันธุ์ 20 – 25 กิโลกรัม/ไร่ สามารถลดต้นทุนเมล็ดพันธุ์ได้ไร่ละ 200 บาท การเพิ่มผลผลิตข้าว เน้นการปรับปรุงบำรุงดิน โดยการไถกลบตอซังก่อนทำนา สามารถเพิ่มธาตุอาหารในดินมากกว่า 20 ธาตุ ส่งผลให้ผลผลิตข้าวสูงขึ้นจาก 800 ก.ก./ไร่ เพิ่มเป็น 1,000 ก.ก./ไร่ และพัฒนาคุณภาพผลผลิตให้ได้รับการรับรองมาตรฐานการผลิตข้าว GAP

นอกจากนั้น ยังแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่มโดยผลิตเป็นข้าวสารบรรจุสุญญากาศ ตรา “ข้าวไผ่หูช้าง” ซึ่งจำหน่ายผ่านช่องทางออฟไลน์และออนไลน์ อาทิ ตลาดชุมชน การออกร้านกับหน่วยงานต่างๆ โรงงานแปรรูปแป้งข้าว เพจเฟซบุ๊ค อย่างไรก็ตาม ในระยะต่อไป


 

 

Loading