วันศุกร์, 24 มกราคม 2568

สหกรณ์นราธิวาสจัดพิธีลงนามข้อตกลงความร่วมมือ MOU ซื้อขายผลผลิตข้าว

สหกรณ์นราธิวาส จัดพิธีลงนามข้อตกลงความร่วมมือ MOU ซื้อขายผลผลิตข้าวระหว่างผู้แทนเกษตรกรแปลงใหญ่นาข้าว ผู้ปลูกข้าว และเครือข่ายธุรกิจตลาดข้าวในระดับจังหวัด และระดับภูมิภาค คาดอนาคตข้าวท้องถิ่นนราธิวาส ไปได้สวย

วันที่ 22 ก.ย.60 ที่ห้องประชุม ชั้น 6 โรงแรมตันหยง อ.เมือง จ.นราธิวาส ดร.วิณะโรจน์ ทรัพย์สงสุข อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ และคณะ นายนอรดีน เจะแล สหกรณ์ จ.นราธิวาส ร่วมลงนามข้อตกลงความร่วมมือ MOU ซื้อขายผลผลิตระหว่างผู้แทนเกษตรกรแปลงใหญ่นาข้าว ผู้ปลูกข้าวซีบูกันตัง ผู้ปลูกข้าวหอมกระดังงา โรงสีข้าวพิกุลทอง และเครือข่ายธุรกิจตลาดข้าวในระดับจังหวัดและระดับภูมิภาค โดยมีผู้แทนเกษตรกร ภาคธุรกิจ ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นสักขีพยานเป็นจำนวนมาก

นายนอรดีน เจะแล สหกรณ์ จ.นราธิวาส เปิดเผยว่า ตามที่เกษตรกรในจังหวัดนราธิวาส ส่วนใหญ่ยังนิยมปลูกข้าวพันธ์พื้นเมือง (ข้าวซีบูกันตัง ข้าวหอมกระดังงา) ซึ่งสามารถสร้างอาชีพสร้างรายได้แก่เกษตรกรมายาวนานและ จ.นราธิวาส ได้ขยายผลโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โรงสีข้าวพิกุลทอง มาจัดการโซ่อุปทานอาชีพทำนาทั้งระบบ เพื่อพัฒนารายได้เกษตรกรชาวนา รวมถึงการที่รัฐบาลได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาการเกษตรผ่านตัวแบบ “ระบบการส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่” โดยมีหน่อยงานต่างๆในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมรับผิดชอบตลอดโซ่อุปทานสินค้าเกษตร โดยสำนักงานสหกรณ์ จ.นราธิวาส รับผิดชอบด้านตลาดผลผลิตเกษตรแปลงใหญ่ตามยุทธศาสตร์ “ตลาดนำการผลิต” ซึ่งมีขบวนการสหกรณ์เป็นตัวเชื่อมด้านตลาด ผ่านการแสวงหาตลาด การทำข้อตกลงทางการค้า (MOU) กับผู้ค้า และทำการข้อตกลงด้านการผลิตกับเกษตรกร ภายใต้การสนับสนุนจากภาครัฐ เอกชน สถาบันการศึกษาแบบประชารัฐ

โดยกิจกรรมในวันนี้ เพื่อพัฒนาอาชีพเกษตรชาวนาให้เกิดความมั่นคง ผู้แทนเกษตรกรแปลงใหญ่นาข้าว โรงสีข้าวพิกุลทอง เครือข่ายตลาดข้าวระดับจังหวัดและระดับภูมิภาค ประกอบด้วยเครือข่ายตลาดศูนย์กระจายสินค้าสหกรณ์ (CDC) จังหวัดภาคใต้ชายแดน โดยชุมนุมสหกรณ์การเกษตรยะลา จำกัด เครือข่ายตลาดข้าวกลุ่มโรงเรียนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยผู้อำนวยการบ้านเปล ได้ตกลงเชื่อมโยงผลผลิตตลาดข้าวด้วยกันอย่างครบวงจร โดยทั้งสามฝ่ายจึงตกลงทำบันทึกข้อตกความร่วมมือ (MOU) ซื้อขายผลผลิตข้าวในฤดูการผลิต 2560 – 2561 ตลอดโซ่อุปทาน มีมูลค่าตลาดข้าวเปลือกของเกษตรกร ประมาณ 80 ล้านบาท ซึ่งเมื่อแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ข้าวสาร ข้าวกล้อง และข้าวสุขภาพอื่นๆแล้ว มีมูลค่าตลาดกว่า 120 ล้านบาท โดยสามารถจัดการตลาดข้าวพันธ์พื้นเมืองในพื้นที่ได้ 100 เปอร์เซ็นต์
ด้าน ดร.วิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ กล่าวว่า วันนี้ถือเป็นวันที่สำคัญของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวซีบูกันตังและผู้ปลูกข้าวหอมกระดังงาของจังหวัดนราธิวาส ที่ได้มีการลงนามข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เพ่อนำผลิตภัณฑ์ในพื้นที่และเป็นที่นิยมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ ข้าวหอมกระดังงา ข้าวซีบูกันตัง จากโรงสีข้าวพระราชทานพิกุลทอง ร่วมกับสหกรณ์ใกล้เคียง โดยส่งข้าวดังกล่าวกระจายไปยัง จ.สตูล จ.สงขลา และ จ.ยะลา ล้อตแรก จำนวน 5 ตัน โดยข้าวหอมกระดังงาออกจากโรงสีสามารถขายในราคาตันละ 65,000 บาท และขานรับนโยบายของรัฐบาลในการหาตลาดให้กับเกษตรกรในพื้นที่ใกล้เคียงให้มีความเข้มแข็งตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการเกษตรและสหกรณ์ที่เน้นย้ำตลาดสินค้าการเกษตรให้มีการเชื่อมโยงในเรื่องของนโยบายการนำแปลงใหญ่มาใช้ในพื้นที่ที่มีมาตรฐานและมีความปลอดภัยและขับเคลื่อนเกษตรกรในพื้นที่ภาคใต้ โดยเฉพาะ จ.นราธิวาส มีความกินดีอยู่ดีและมีความสุข ซึ่งกิจกรรมวนนี้เป็นกิจกรรมและการเริ้มต้นที่ดีที่จะสร้างความยั่งยืนด้านอาชีพให้กับผู้ปลูกข้าวและเกษตรกรในพื้นที่ที่ได้รับการดูแลจากภาครัฐ รวมทั้งการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดชที่พระองค์ท่านเสด็จทรงงานในพื้นที่และทรงพระราชทานโรงสีข้าวพิกุลทอง และทรงติดตามงานเพื่อความมั่นคงของเกษตรกรในพื้นที่
“ในเบื้องต้นจะเน้นเรื่องคุณภาพข้าวก่อน เพื่อให้ข้าวทุดเม็ดที่ออกมาจากพื้นที่เป็นข้าวที่มีคุณภาพเพื่อให้ผู้บริโภคได้รับข้าวที่ดีและมีความติดใจในการบริโภค จึงเชิญชวนพี่น้องทดลองบริโภคข้าวหอมกระดังงาและข้าวซีบูกันตันดู และหวังว่าจะเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งที่จะทำให้ท่านชื่นชอบ”

 

ภาพ/ข่าว ซาการียา ดอเลาะ จ.นราธิวาส

Loading