นครปฐม รมว.สธ.เปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการระดับภูมิภาคเอเชียใต้และตะวันออก11 ประเทศ
เมื่อวันที่9ตุลาคม 2560 ที่ห้องประชุมรงแรมสามพราน ริเวอร์ไซค์ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม
รมว.สธ.จับมือองค์การอนามัยโลกประจำภูมิภาคเอเชียใต้และตะวันออก-สสส.-สปสช. ชวน 11ประเทศในภูมิภาคพัฒนามาตรการคุ้มทุน “Best Buys” ลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ประชากรในภูมิภาคราว 8.8 ล้านราย หรือเฉลี่ยวันละ 24,000 รายที่เสียชีวิตจาก NCDS
องค์การอนามัยโลกประจำภูมิภาคเอเชียใต้และตะวันออก(WHO-SEARO) ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ(สสส) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการระดับภูมิภาคเอเชียใต้และตะวันออก โดยมี ศาสตราจารย์คลินิก เกียรติคุณ นายแพทย์ ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและรองประธานกรรมการ สสส. คนที่1 เพื่อการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อภายใต้บริบทของการพัฒนาอย่างยั่งยืนใน วันที่ 9-11 ตุลาคม 2560 ณสวนสามพรานจังหวัดนครปฐม ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 130 คนจาก 11 ประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้และตะวันออก เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการ สร้างเสริมสุขภาพและการลดปัจจัยเสี่ยงหลักที่นำไปสู่ปัญหาโรคติดต่อ (NVDs) ผ่านชุดมาตรการที่คุ้มทุนและเหมาะสมกับบริบทแต่ละประเทศรวมถึงแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของเครือข่ายด้านการจัดการ NCDs ระหว่างประเทศต่างๆในภูมิภาค
ทางด้าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่ากลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง(Non-communicable Diseases – NCDs) นับเป็นวิกฤตที่ต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วนทั้งระดับประเทศและนานาชาติในแต่ละปีมีประชากรมากถึง 16 ล้านคนทั่วโลกที่ต้องเสียชีวิตก่อนวัยอันควรจากโรคหัวใจ ปอดโรคหลอดเลือดในสมอง โรคมะเร็งและโรคเบาหวานซึ่ง80% มาจากประชากรในประเทศที่มีรายได้น้อยถึงปานกลางอย่างประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้และตะวันออกจึงเป็นที่มาของการกำหนดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ เพื่อลดอัตราการเสียชีวิตให้ได้ 1 ใน 3 ภายในปี 2573 ซึ่งการป้องกันและควบคุม NCDs ต้องอาศัยการทำงานร่วมกันในทุกระดับตั้งแต่นโยบายไปจนถึงประชาชนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนทั้งในและนอกภาคสาธารณะสุขโดยเน้นมาตรการที่คุ้มทุนและมีประสิทธิผลหรือที่เรียกว่า “Best Buys” รวมถึงการมีกลไกสนับสนุนให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืนได้แก่ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าและกลไกทางการเงินรูปแบบใหม่เพื่อสนับสนุนการ สร้างเสริมสุขภาพ ซึ่งโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นปัญหาที่สำคัญมากโดยคาดการณ์ว่าในภูมิภาคเอเชียใต้และตะวันออกมีประชากรราว8.8 ล้านราย หรือเฉลี่ยวันละ 24000 ราย ที่เสียชีวิตจากNCDs ในแต่ละปีในส่วนประเทศไทยแก้ไขปัญหา NCDs ของภูมิภาคนับว่าอยู่ในระดับที่น่าพอใจอย่างไรก็ตามยังมีประชากรอย่างน้อย 130 ล้านคน ในภูมิภาคที่ยังไม่สามารถเข้าถึงบริการที่จำเป็นซึ่งคาดว่าจำนวนผู้ป่วยNCDs ที่ไม่ได้รับการดูแลรักษาจะสูงกว่านี้จึงไม่สามารถทอดทิ้งคนเหล่านี้ได้สิ่งที่เราต้องให้ความสำคัญคือการยกระดับศักยภาพของสถานบริการระดับปฐมภูมิในการตรวจ รักษา และติดตามอาการของผู้ป่วยNCDs ซึ่งการใช้ระบบสาธารณสุขมูลฐานเป็นกลไกขับเคลื่อน
นครปฐม ธงชัย วัชดลชัย