วันอาทิตย์, 12 มกราคม 2568

รมช.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ลงพื้นที่รับทราบปัญหา 8 กลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนราศีใศล

18 ก.พ. 2018
112

รมช.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ลงพื้นที่รับทราบปัญหา 8 กลุ่ม ที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนราศีไศล และเขื่อนหัวนา จังหวัดศรีสะเกษ เสนอทางออก 2 แนวทางแบบไทยนิยมยั่งยืน


เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2661 ที่แปลงนาบริเวณกุดตาเฒ่า บ้านร่องอโศก นายวิวัฒน์ ศัลยกำธร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และคณะ ลงพื้นที่รับทราบปัญหา 8 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มสมัชชาคนจน, กลุ่มชาวนาสองพัน, กลุ่มสมัชชาลุ่มน้ำมูล, กลุ่มสมาพันเกษตรกร, กลุ่มสมาพันธ์แห่งประเทศไทย, กลุ่มสมาคมคนทาน, กลุ่มกองทุนลุ่มน้ำเสียวและกลุ่มเกษตรกรภาคอีสาน ที่ได้รับผลกระทบต่อการสร้างเขื่อนราษีไศล และเขื่อนหัวนา โดยมีนางสุรภา บัตรวงษ์ อายุ 43 ปี ราษฎรบ้านร่องอโศกได้นำเสนอว่า วันนี้กลุ่มของตน จำนวนกว่า 90 ราย ไม่ต้องการเงินชดเชย เพราะได้มาสักวันก็จะหมดไป ขณะที่น้ำท่วมพื้นที่ทำกินอยู่เช่นนี้ แต่ขอระบบการพัฒนาบนพื้นที่ ให้สามารถทำกินไปได้ตลอดชั่วลูกหลาน โดยมีนายธวัช สุระบาล ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ, นายเมธี สุพรรณฝ่าย รองผู้ว่า พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ผู้ที่เกี่ยวข้องให้การต้อนรับและนำลงพื้นที่รับทราบปัญหา


หลังจากนั้นคณะได้เดินทางมาที่ศูนย์เศรษฐกิจพอเพียง หมู่บ้านสมาคมคนทาม โดยมีนางผา กองคำ นายกสมาคมคนทาม และสมาชิกให้การต้อนรับและนำเสนอปัญหาจากตัวแทนทั้ง 8 กลุ่ม ที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อน น้ำท่วมแปลงนาไปแล้ว และยังไม่ได้รับเงินชดเชย เพราะสำรวจแล้ว ยังคงตกค้างอยู่อีกบางส่วน ซึ่งส่วนใหญ่มุ่งที่จะมีการรวมกลุ่มกันพัฒนาอาชีพของตนเอง เพราะเชื่อว่าเงินที่ได้มาชดเชยเท่าใดก็ไม่เพียงพอต่อการต่อลมหายใจในอาชีพเกษตรกรไปชั่วลูกหลาน


นายวิวัฒน์ ศัลยกำธร รมช.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า การสร้างเขื่อนราษีไศลและเขื่อนหัวนา ได้มีผลกระทบต่อวิถีชีวิตของพี่น้องเกษตรกรกว่า 4 หมื่นไร่ หากจะแก้ไขปัญหาเพียงนำเงินมาจ่ายเยียวยา ชดเชยให้เท่าไร ก็คงะไม่สามารถแก้ไขปัญหาหมดได้ หากน้ำยังท่วมไร่นา ช่วงฤดูน้ำหลากหรือน้ำไม่มีเลยในช่วงฤดูแล้ง ในวันนี้เราจะต้องมาแก้ไขปัญหาด้วยการพัฒนาระบบอย่างยั่งยืน แบบไทยนิยม พัฒนาอาชีพมีการรวมกลุ่มกันทำอาชีพ โดยแยกการแก้ไขออกเป็น 2 ทางใหญ่ๆ คือการจ่ายเงินชดเชยในส่วนที่ยังไม่ได้รับให้อย่างถูกต้องตามกฎหมายของกรมชลประทานและการวางระบบจัดการพื้นที่ใหม่แก้ไขอย่างเป็นระบบ พัฒนาอาชีพอย่างยั่งยืน เพราะปัญหาเขื่อนนี้ได้แก้ปัญหามานานกว่า 26 ปีแล้ว ในเบื้องต้นจะได้นัดหมายประชุมวางแผนแก้ไขปัญหา ที่ศูนย์เศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนคนทามมูล เขื่อนราษีไศลในเดือนมีนาคม 2561 นี้
นางสำราญ สุรโครต ผู้แทนชาวบ้านเขื่อนหัวนา กล่าวว่า รัฐมนตรีช่วยว่าการเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่มาในครั้งนี้พี่น้องรู้สึกดีใจและภูมิใจมาก เพราะเชื่อว่ารัฐบาลชุดนี้น่าจะแก้ไชปัญหาเรื่องพี่น้องเขื่อนหัวนาแล้วเสร็จภายในเร็วๆ นี้ ซึ่งค่าชดเชยที่เคยพูดกันไว้มันก็ต้องเป็นไปตามนั้น ในการเยี่ยวยาดูแลฟื้นฟูให้ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งทุกคนยินดีให้ความร่วมมือและทำข้อมูลให้มันถูกต้องและนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป ชาวบ้านมีความรู้สึกดีใจมากที่หน่วยงานราชการเร่งเห็นความสำคัญของเกษตรกรในครั้งนี้


บุญทัน ธุศรีวรรณ ภาพ/ข่าว

Loading