วันอาทิตย์, 12 มกราคม 2568

กรมฝนหลวงและการบินเกษตรขยายพื้นที่ช่วยเหลือเกษตรกร

14 มี.ค. 2018
56

กรมฝนหลวงและการบินเกษตรขยายพื้นที่ช่วยเหลือเกษตรกรเพิ่มเติมในกระบวนการปฏิบัติการฝนหลวงเพื่อบรรเทาความรุนแรงและความเสียหายจากพายุลูกเห็บในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ!!

วันที่ 13 มีนาคม 2561 เวลา 10.00 น. นายสุรสีห์กิตติมณฑล อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตรเปิดเผยว่า จากสภาวะภัยแล้งบริเวณพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภัยพิบัติทางธรรมชาติ ที่มีความรุนแรงจากการเกิดพายุลูกเห็บส่งผลกระทบสร้างความเสียหายแก่ประชาชนและพื้นที่ทางการเกษตร กรมฝนหลวงและการบินเกษตรได้เตรียมยับยั้งความรุนแรงจากพายุลูกเห็บ โดยใช้เครื่องบินแบบปรับความดัน (Super King Air) นำสารฝนหลวง”ซิลเวอร์ไอโอไดด์”ซึ่งมีคุณสมบัติใกล้เคียงกับผลึกน้ำแข็งในธรรมชาติ ยิงใส่เข้าใส่ก้อนเมฆที่อุณหภูมิต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส เพื่อเร่งกระบวนการทางธรรมชาติทำให้ผลึกน้ำแข็งเปลี่ยนสถานะเป็นน้ำ อันจะทำให้ผลึกน้ำแข็งที่เป็นลูกเห็บละลายตกลงมาเป็นน้ำฝน ซึ่งช่วยบรรเทาความรุนแรงและความเสียหาย ที่เกิดจากพายุลูกเห็บ ทั้งนี้กรมฝนหลวงฯ ได้จัดเครื่องบิน Super King Air พร้อมปฏิบัติการไว้ที่ กองบิน 46 จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งจะสามารถขึ้นบินปฏิบัติการในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้ทันทีหากมีภาวะการเกิดพายุลูกเห็บ

สำหรับการปฏิบัติการฝนหลวงเพื่อช่วยเหลือพื้นที่ทางการเกษตร และภารกิจในการเติมน้ำให้กับอ่างเก็บน้ำต่างๆ ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้น กรมฝนหลวงฯ ตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวง 2 หน่วย ที่จังหวัดอุดรธานี และ จังหวัดนครราชสีมา โดยตั้งฐานเติมสารฝนหลวงเพิ่มขึ้นอีก 1 ฐาน ที่จังหวัดขอนแก่น เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการฝนหลวงให้ครอบคลุมทั่วทั้งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด การปฏิบัติการฝนหลวงนอกจากจะเพิ่มความชุ่มชื้นกับป่าไม้ ยังเป็นการเติมน้ำให้เขื่อนหลักทั้ง 12 เขื่อน นอกจากนั้นยังได้ประสานความร่วมมือในการแจ้งแผนและผลปฏิบัติการ อาทิสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสถานีอุตุนิยมวิทยาจังหวัดเป็นต้น เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับเกษตรกรในพื้นที่ต่างๆด้วย

อย่างไรก็ตาม ประชาชนและเกษตรกรสามารถแจ้งการขอรับบริการฝนหลวง เพื่อบรรเทาภัยพิบัติทางธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นปัญหาภัยแล้ง การขาดแคลนน้ำการแก้ปัญหาหมอกควัน ไฟป่า หรือพายุลูกเห็บ ได้ที่ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงในทุกภูมิภาคของประเทศ ทั้งนี้สามารถติดตามสถานการณ์และข้อมูลข่าวสารอย่างต่อเนื่องได้ทางเพจ Facebook กรมฝนหลวงและการบินเกษตร หรือเว็บไซต์กรมฝนหลวงและการบินเกษตรกรมฝนหลวงและการบินเกษตร!!.

Loading