มุกดาหาร ส่งเสริมการปลูกกล้วยหอม คาเวนดิช พืชเศรษฐกิจเพื่อการส่งออก
มุกดาหาร กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านช้างไทยแลนด์ ร่วมกับเทศบาลเมืองมุกดาหาร ส่งเสริมการปลูกกล้วยหอม คาเวนดิช พืชเศรษฐกิจเพื่อการส่งออก การลงทุนที่คุ้มค่าของกล้วยคาเวนดิช มีผู้สนใจจากจังหวัดมุกดาหารและจังหวัดใกล้เคียงเป็นจำนวนมาก
18 มี.ค. 2561 ณ ศาลาเรารักมุกดาหาร ตลาดอินโดจีน อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร นายอนุรักษ์ ตั้งปณิธานนท์ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองมุกดาหาร เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมการปลูกกล้วยหอม คาเวนดิช เพื่อการส่งออก จังหวัดมุกดาหารโดยทีมวิทยากรจากกลุ่มบ้านช้างไทยแลนด์ นำโดยคุณประสาธน์ เปรื่องวิชาธร เจ้าของสวนกล้วยเกี๋ยง จังหวัดพะเยา ประธานกลุ่มบ้านช้างไทยแลนด์ ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านช้างไทยแลนด์ ประธานบริหารบริษัท หว่าง กสิกรรม จำกัด โดยการประสานงานของคุณดาวดวงดี พัฒนาธนทรัพย์ ตัวแทนกลุ่มบ้านช้างไทยแลนด์ สาขาจังหวัดมุกดาหาร มีผู้สนใจจากจังหวัดมุกดาหารและจังหวัดใกล้เคียงเข้าร่วมการกว่า 120 คน
การลงทุนในการปลูกของกล้วยคาเวนดิช เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกร มีความรู้ เทคนิควิธีการ ในการปลูกกล้วยหอมคาเวนดิช เพื่อการส่งออกจากวิสาหกิจชุมชนกลุ่มบ้านช้างไทยแลนด์ เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ จะได้รับการแนะนำ และให้คำปรึกษา แก้ไขปัญหาในเรื่องการปลูกและการส่งเสริมการผลิตให้ได้ผลผลิตตามที่ตลาดส่งออกต้องการ เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ จะได้รับการรับประกันราคาผลผลิต จากผู้ซื้อคือวิสาหกิจชุมชนกลุ่มบ้านช้างไทยแลนด์ เกษตรกร ที่ปลูกกล้วย ควรให้น้ำระบบน้ำหยด หรือระบบน้ำฝอย เพื่อประหยัดน้ำ โดยให้ประมาณ 8 ลิตร ต่อต้น ต่อวัน เป็นปริมาณที่ไม่เกินความต้องการของต้นกล้วย นอกจากนี้การให้ระบบน้ำฝอย ยังเพิ่มความชุ่มชื้น ให้แก่สวนอีกด้วย
กล้วยคาเวนดิชเกิดจากการพัฒนาปรับปรุงพันธุ์กล้วยไข่ อาศัยเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ร่วมกับการใช้รังสีแกรมมาในการปรับปรุงพันธุ์ จากนั้นทำการคัดเลือกกล้วยไข่ที่มีลักษณะดี มีความคงตัวของสายพันธุ์ และสามารถตรวจสอบเอกลักษณ์ทางพันธุกรรมได้ เหมาะแก่การปลูกเพื่อการส่งออก เนื่องจากมีเหลืองอ่อนแม้ยังดิบ เนื้อละเอียดเนียน ไม่มีไส้กลาง คล้ายกล้วยหอมทอง ลักษณะภายนอก ผลป้อมปลายมน สีผิวเหลืองสดใส ปลายทู่ แต่ความยาวก้านผลยาวมากกว่าเดิม จึงทำให้การเรียงของผลภายในหวีเป็นระเบียบ ผลไม่เกยกัน การวางตัวในแต่ละเครือสวยงาม ทำให้ได้ผลผลิตที่สามารถส่งออกได้ต่อเครือสูงขึ้น ดังนั้น แม้จะปลูกในพื้นที่เท่าเดิม ปริมาณเท่าเดิม แต่สามารถเพิ่มปริมาณการส่งออกได้
อนุศักดิ์ – เสาวภา แสนวิเศษ / มุกดาหาร