วันอาทิตย์, 12 มกราคม 2568

กรมทรัพย์สินทางปัญญา ลงพื้นที่สวน มะยงชิด-มะปรางหวาน นครนายก

31 มี.ค. 2018
39

นครนายก – กรมทรัพย์สินทางปัญญา ลงพื้นที่สวน ” มะยงชิด – มะปรางหวาน นครนายก
กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ลงพื้นที่แหล่งผลิตสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ของจังหวัดนครนายก เพื่อตรวจสอบกระบวนการผลิตและเตรียมผลักดันแหล่งผลิตสินค้ามะยงชิดนครนายกและมะปรางหวานให้เป็นแหล่งเรียนรู้ควบคู่ไปกับเส้นทางท่องเที่ยวภายในจังหวัดนครนายก

ที่นครนายก นายทศพล ทังสุบุตร อธิบดีกรมทรัพย์ทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ลงพื้นที่สวนมะยงชิด – มะปรางหวาน ที่สวนนพรัตน์ ต.ดงละคร อ.เมือง จ.นครนายก โดยมีนายณัฐพงศ์ ศิริชนะ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครนายก นายนิพนธ์ วรรณภักดี พาณิชย์จังหวัดพร้อมเจ้าหน้าที่ ร.ต.ต.อำนวย หงษ์ทอง นายกสมาคมชาวสวนมะยงชิด และชาวสวนมะยงชิดกว่า 100 คน ให้การต้อนรับ นายทศพล ทังสุบุตร อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดเผยว่า ” สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือ GI เป็นเครื่องหมายที่ใช้กับสินค้าที่มาจากแหล่งผลิตที่เฉพาะเจาะจง ซึ่งคุณภาพหรือชื่อเสียงของสินค้านั้นๆ GI จึงเปรียบเสมือนแบรนด์ของท้องถิ่นที่บ่งบอกถึงคุณภาพและแหล่งที่มาของสินค้า สินค้ามะยงชิดนครนายกที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นสินค้า GI มีลักษณะเด่นคือ ผลใหญ่ รูปไข่ มีสีเหลืองเนื้อแน่น กรอบ มีกลิ่นหอม รสชาติหวานอมเปรี้ยว มีค่าความหวาน 18 – 22 บิกซ์ ส่วนมะปรางหวานนครนายกมีลักษณะผลใหญ่ยาวเรียว ปลายเรียวแหลม ค่าความหวานอยู่ที่ 16 – 19 บิกซ์ สินค้าทั้ง 2 ประเภทปลูกในเขตพื้นที่อำเภอเมืองนครนายก อำเภอบ้านนา อำเภอปากพลี และอำเภอองครักษ์ ด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ ทางตอนเหนือและตะวันออกของจังหวัดนครนายกเป็นภูเขาสูงชัน ส่วนหนึ่งอยู่ในเขตอุทยานเขาใหญ่ติดต่อกับเทือกเขาพยาเย็น ทางตอนกลางและใต้มีพื้นที่ราบ อันกว้างใหญ่ สภาพพื้นดินที่เป็นดินปนทราย ประกอบกับสภาพทางภูมิอากาศของจังหวัดมีลักษณะหนาวสลับร้อน ซึ่งส่งผลทำให้ปลผลิตมะยงชิดและมะปรางหวานของจังหวัดมีคุณภาพดีและมีเอกลักษณ์โดดเด่นแตกต่างจากที่อื่น

ด้านนายณัฐพงศ์ ศิริชนะ ผู้ว่าฯ กล่าวว่า ทางจังหวัดได้ช่วยสนับสนุนในการพัฒนาเศรษฐกิจ และคุณภาพชีวิตของเกษตรกรในท้องถิ่นให้ดีขึ้น โดยมีกรมทรัพย์สินทางปัญญาเป็นหน่วยงานสำคัญ ที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรม เป็นระบบ ครบวงจร จะเห็นได้ว่าปัจจุบันผลผลิตมะยงชิดและมะปรางหวานกำลังเป็นที่ต้องการของตลาด ทางจังหวัดจึงเร่งส่งเสริมให้เกษตรกรผู้ผลิตที่ยังไม่ได้เข้าสู่ระบบการควบคุมมาตร ฐาน GI ได้ทำเรื่องขออนุญาติใก้ตราสัญลักษณ์ GI เพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งเพื่อเป็นการควบคุมการผลิตสินค้ามะยงชิดและมะปรางหวานให้ได้มาตรฐานและยังช่วยป้องกันการปลอมแปลงการปลอมปนและแอบอ้างใช้ตราสัญลักษณ์ GI อีกด้วย

ภาพ/สมบัติ       เนินใหม่
ข่าว/รัชชานนท์ เนินใหม่
นายพรเทพ เขม้นเขตวิทย์
รายงานจากศูนย์ข่าวภาคตะวันออก

Loading