วันเสาร์, 26 ตุลาคม 2567

กรมศิลปากร ต่อยอดบุพเพสันนิวาส ตามรอยสมัยสมเด็จพระนารายณ์ จากอยุธยา สู่ ลพบุรี

ลพบุรี กรมศิลปากรต่อยอดบุพเพสันนิวาส ตามรอยสมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯจากอยุธยาสู่ลพบุรี

เมื่อเวลา 14.30 น. วันที่ 7 เม.ย.61 กระทรวงวัฒนธรรม โดย กรมศิลปาการจัดโครงการวรรณคดี และประวัติศาสตร์สัญจร ต่อยอดองค์ความรู้ และกระแสรักษ์ไทย ตามรอยสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จากอยุธยาสู่ลพบุรี โดยนำประชาชนที่สนใจร่วมศึกษาเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ภาษา วรรณกรรม และจารีตประเพณีสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ณ โบราณสถานสำคัญในจังหวัดลพบุรี โดยมีประชาชนที่สนใจจำนวน 120 คน ลงพื้นที่จังหวัดลพบุรี ตามรอยสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

นายอนันต์ ชูโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า นวนิยายหรือบทละครอิงประวัติศาสตร์มีคุณค่าก่อให้เกิดความสนใจเรียนรู้ ค้นคว้า หอข้อมูลประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมประเพณีวิถีชีวิตไทย ซึ่งจะส่งผลให้เกิดจิตสำนึกรักบ้านเกิด ดังเช่น นวนิยายเรื่อง “บุพเพสันนิวาส” ประประพันธ์ของ “รอมแพง” ได้ก่อให้เกิดกระแสรักษ์ไทย แต่งชุดไทย และสนใจประวัติศาสตร์ชาติไทยมากขึ้น โดยกรมศิลปากรในฐานะหน่วยงานที่มีบทบาทหน้าที่ในการดูแล และอนุรักษ์มรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติ ทั้งแหล่งโบราณสถาน และโบราณวัตถุ ตลอดจนบทบาทหน้าที่ในการเผยแพร่องค์ความรู้ด้านประวัติศาสตร์ ภาษา วรรณกรรม และจารีตประเพณี

กิจกรรมโครงการวรรณคดีและประวัติศาสตร์สัญจร ได้นำประชาชนผู้สนใจร่วมศึกษาประวัติศาสตร์ ภาษา วรรณกรรม และจารีตประเพณีสมัยอยุธยา ณ โบราณสถานสำคัญในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจังหวัดลพบุรี ระหว่า 7-8 เม.ย.61 เพื่อเผยแพร่ความรู้และเครือข่ายความร่วมมือด้านประวัติศาสตร์ให้กับบุคคลภายนอก โดยมีสำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ สำนักการสังคีต สำนักช่างสิบหมู่ กองโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ 3 พระนครศรีอยุธยา สำนักศิลปากรที่ 4 ลพบุรี และสำนักบริหารกลาง ร่วมบูรณาการองค์ความรู้ จัดกิจกรรมทัศนศึกษาตามสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับตัวละคร และในบทนวนิยาย

ได้แก่พระราชวังโบราณ วัดพระศรีสรรเพชญ์ และวัดไชยวัฒนาราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา วัดสันเปาโล วัดพระศรีมหาธาตุ พระนารายณ์ราชนิเวศน์ และบ้านเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ (บ้าหลงราชทูต) จังหวัดลพบุรี ประชาชนที่ร่วมกิจกรรมในครั้งนี้นอกจากจะได้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ โบราณคดี วรรณกรรม จารีตประเพณีสมัยอยุธยาและลพบุรีแล้ว ยังได้เห็นคุณค่าของโบราณสถาน และสามารถเผยแพร่องค์ความรู้ที่รับอย่างถูกต้อง อีกทั้งมีส่วนในการธำรง รักษาจารีตประเพณี อนุรักษ์ บำรุงรักษา มรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติไทยอย่างมีคุณค่า

กฤษณ์ ลพบุรี

Loading