มุกดาหาร เปิดโครงการสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์สู้ภัยแล้งเพื่อการเกษตรอย่างยั่งยืน
สูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์สู้ภัยแล้งเพื่อการเกษตรอย่างยั่งยืน ณ แปลงปลูกผักเกษตรอินทรีย์ หมู่ที่ 1 ตำบลกกแดง อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร ติดตั้งระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ดังกล่าวขึ้น เพื่อสร้างอาชีพรายได้และรายจ่ายให้เกษตรกรอย่างยั่งยืน
วันนี้ ( 19 เม.ย.61) นายไพฑูรย์ รักษ์ประเทศ ผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร เป็นประธานเปิดโครงการสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์สู้ภัยแล้งเพื่อการเกษตรอย่างยั่งยืน ณ แปลงปลูกผักเกษตรอินทรีย์ หมู่ที่ 1 ตำบลกกแดง อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร ซึ่งสำนักงานพลังงานจังหวัดมุกดาหาร ได้ดำเนินการ ติดตั้งระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ดังกล่าวขึ้น เพื่อสร้างอาชีพรายได้และรายจ่ายให้เกษตรกรอย่างยั่งยืน
นายไพฑูรย์ รักษ์ประเทศ ผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร กล่าวว่า โครงการสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์สู้ภัยแล้ง
เพื่อการเกษตรอย่างยั่งยืน เป็นหนึ่งในโครงการขับเคลื่อนวาระจังหวัด 36 กิจกรรม 36 ปี จังหวัดมุกดาหาร ซึ่งดำเนินการโดย สำนักงานพลังงานจังหวัดมุกดาหาร ที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานในการดำเนินการโครงการดังกล่าว ในพื้นที่จังหวัดมุกดาหารจำนวน 23 โครงการ โดยแยกเป็น โครงการสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อการเกษตรจำนวน 21 โครงการ หรือ 21 บ่อ โครงการสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อการประปาหมู่บ้านจำนวน 2 บ่อ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างและติดตั้งระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งเมื่อทุกโครงการแล้วเสร็จ จะทำให้ประชาชน เกษตรกร มีน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภคไม่น้อยกว่า 150 ครอบครัว และน้ำเพื่อการเกษตร ไม่น้อยกว่า 300 ไร่ โดยโครงการสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์สู้ภัยแล้งเพื่อการเกษตรอย่างยั่งยืน ณ หมู่ที่ 1 ตำบลกกแดง อำเภอนิคมคำ เป็นโครงการนำร่อง และดำเนินการแล้วเสร็จตั้งแต่ต้นเดือนที่ผ่านมา ซึ่งนอกจากแก้ปัญหาภัยแล้ง เกษตรกร มีน้ำเพื่อการเกษตร สร้างอาชีพและรายได้ ให้กับตนเอง ครอบครัว อย่างยั่งยืนต่อไป
นายกานต์ สุวรรณพันธ์ พลังงานจังหวัดมุกดาหาร กล่าวเสริมว่า สำหรับโครงการสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์สู้ภัยแล้งเพื่อการเกษตรอย่างยั่งยืน ตำบลกกแดง อำเภอนิคมคำสร้อย ประกอบด้วยแผ่นโซล่าเซลล์ พลังงานแสงอาทิตย์ กำลังผลิต 250 วัตต์ จำนวน 10 แผ่น รวมกำลังที่ได้ 2500 วัตต์ สูบน้ำบาดาลของกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ด้วยปั๊มสูบน้ำลึกหรือซับเมอร์ส ขนาด 3 แรงม้า ได้น้ำเพื่อการเกษตรไม่น้อยกว่า 8 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง ถังเก็บกักน้ำขนาดความจุ 20,000 ลิตร หรือ 20 คิวน้ำ จำนวน 1 ถัง ท่อเมนส่งน้ำขนาด 2 นิ้ว ยาว 200 เมตร เข้าพื้นที่เกษตร ของเกษตรกร ภายในกลุ่ม ซึ่งปลูกผักเกษตรอินทรีย์ จำนวน 4 กลุ่ม กลุ่มปลูกหม่อนเลี้ยงไหม จำนวน 2 กลุ่ม แต่ละกลุ่มมีสมาชิก จำนวน 7 ราย มีพื้นที่เกษตรกรรมติดต่อกันรวมไม่น้อยกว่า 15
อนุศักดิ์ – เสาวภา แสนวิเศษ /มุกดาหาร