วันเสาร์, 18 มกราคม 2568

มาตรการช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาน ครั้งที่ 13

27 เม.ย. 2018
28

มาตรการช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน ครั้งที่ 13

วันศุกร์ที่ 27 เมษายน 2561 เวลา 10.00 น. ตามนโยบายของรัฐบาลให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติดำเนินการปราบปรามกลุ่มองค์กรอาชญากรรมที่กระทำ ความผิดและส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มที่มีพฤติการณ์ใช้โทรศัพท์หลอกลวงประชาชนโดย แสดงตนเป็นบุคคลอื่น หรือกลุ่มแก๊งคอลเซ็นเตอร์ มีพฤติการณ์ใช้โทรศัพท์หลอกลวงประชาชนทั่วไปและมีผู้หลงเชื่อจนเป็น เหตุให้เกิดการสูญเสียทรัพย์สินไปเป็นจำนวนมาก และ พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผบ.ตร. ได้มีคำสั่งให้จัดตั้ง“ศูนย์ป้องกัน และปรามปรามการฉ้อโกงประชาชนผ่านระบบโทรศัพท์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ” โดยมอบหมายให้ พล.ต.อ.ธนิตศักดิ์ ธีระสวัสดิ์ ที่ปรึกษาพิเศษ ตร. เป็น ผอ.ศูนย์ฯ และให้ พล.ต.ต.สุรเชษฐ์ หักพาล รอง ผบช.ทท. ควบคุม กำกับชุดปฏิบัติการประจำศูนย์ฯ ได้ประสานความร่วมมือกับสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ร่วมปฏิบัติการ ทลายเครือข่ายแก๊งคอลเซ็นเตอร์ข้ามชาติ จากการปฏิบัติงานของสายด่วน ๑๗๑๐ ของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และสายด่วน ๑๑๕๕ ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ร่วมกับธนาคารกสิกรไทย และธนาคารกรุงเทพ ได้ช่วยเหลือผู้เสียหายจากการถูกหลอกลวงของแก๊งคอลเซ็นเตอร์ สามารถอายัดเงินของผู้เสียหายที่ถูกหลอกลวงและโอนไปยังบัญชีของกลุ่มคนร้ายแล้วระงับไม่ให้สามารถถอนเงินออกไป และได้นำเงินคืนให้กับผู้เสียหาย จำนวน 4 ราย รวมเป็นเงินจำนวน 280,950.18 บาท ได้แก่

๑. ผู้เสียหายในคดีของ สน.ประชาชื่น ถูกหลอกลวงให้โอนเงินไปยังบัญชีของคนร้ายรวมเป็นเงิน จำนวน 315,000 บาท ในคดีนี้ เจ้าหน้าที่สามารถอายัดเงินของผู้เสียหายไว้ได้ จำนวน 3,273.18 บาท​
๒. ผู้เสียหายในคดีของ สภ.รัตนาธิเบศร์ จังหวัดนนทบุรี ถูกหลอกลวงให้โอนเงินไปยังบัญชีของคนร้ายรวมเป็นเงิน จำนวน 2,772,496 บาท ในคดีนี้ เจ้าหน้าที่สามารถอายัดเงินของผู้เสียหายไว้ได้ จำนวน 63,094 บาท
๓. ผู้เสียหายในคดีของ สภ.สังขะ จังหวัดสุรินทร์ ถูกหลอกให้โอนเงินไปยังบัญชีของคนร้ายรวมเป็นเงิน จำนวน 114,600 บาท ในคดีนี้ เจ้าหน้าที่สามารถอายัดเงินของผู้เสียหายไว้ได้เต็มจำนวน​
4. ผู้เสียหายในคดีของ สภ.นครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ถูกหลอกให้โอนเงินไปยังบัญชีของคนร้ายรวมเป็นเงิน จำนวน 204,381 บาท ในคดีนี้ เจ้าหน้าที่สามารถอายัดเงินของผู้เสียหายไว้ได้ จำนวน 99,983 บาท
จากข้อมูลผู้เสียหายทั้ง 4 ราย เจ้าหน้าที่สามารถอายัดเงินของผู้เสียหายได้เต็มจำนวนทั้งหมด 1 ราย
จากการสอบถามผู้เสียหายที่สามารถทำการอายัดเงินได้ทัน ส่วนใหญ่จะใช้เวลาในการตั้งสติ คิดทบทวน และทราบว่าถูกคนร้ายแก๊งคอลเซ็นเตอร์ หลอกลวง เฉลี่ยแล้วใช้เวลาดังนี้

อายัดเต็มจำนวน​​​​​​ใช้เวลาประมาณ ๑๕ – ๓๐​นาที
อายัดได้บางส่วนมากกว่าครึ่งของจำนวนที่ถูกหลอก​ใช้เวลาประมาณ ๓๐ นาที – ๑ ชั่วโมง​
อายัดได้บางส่วนน้อยกว่าครึ่งของจำนวนที่ถูกหลอก​ใช้เวลาตั้งแต่ ​ ๑ ชั่วโมง ขึ้นไป
โดยใช้ช่องทางติดต่อการอายัดเงิน ผ่านช่องทางสายด่วน 1155, 1710 และ ทางธนาคาร
สรุปจากการผลการปฏิบัติงานในการอายัดเงินของผู้เสียหายที่ถูกหลอกลวงจากแก็งคอลเซ็นเตอร์ หลอกลวงไปยังบัญชีคนร้าย สามารถอายัดเงินคืนให้แก่ผู้เสียหายได้ จำนวน 93 ราย รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 17,480,205.86 บาท

จากสถิติการรับแจ้งเหตุของศูนย์ป้องกันและปราบปรามการฉ้อโกงประชาชนผ่านระบบโทรศัพท์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (ศป.ฉปทน.ตร.) รับแจ้งเหตุตั้งแต่วันที่ ๘ ธ.ค.๖๐ ถึงวันที่ 26 เม.ย.๖๑ จำนวน 421 คดี มูลค่าความเสียหาย 209,486,195.65 บาท
กรณียังมีผู้เสียหายที่ถูกเครือข่ายแก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกลวง แต่ยังไม่ได้ไปร้องทุกข์ จึงขอประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนท่านใดที่ได้รับความเสียหายจากเครือข่ายแก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกลวงจนสูญเสียทรัพย์สิน ให้รีบแจ้งมาท ศูนย์ป้องกันและปราบปรามการฉ้อโกงประชาชนผ่านระบบโทรศัพท์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

ตั้งอยู่ที่ ชั้น ๑ อาคาร ๑ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ถนนพระรามที่ ๑ แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
สายด่วน ๑๑๕๕ หมายเลขโทรศัพท์ ๐ ‭๒๒๕๑ ๙๗๙๓‬ หมายเลขโทรสาร ๐ ‭๒๒๕๒ ๗๘๘๑‬
ศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน สายด่วน ๑๗๑๐
ตั้งอยู่ที่ ชั้น ๑ เลขที่ ๔๒๒ ถนน พญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
​“ในกรณีที่รู้ตัวว่าถูกหลอกลวง ขอให้แจ้งสายด่วน ๑๑๕๕ และ ๑๗๑๐ โดยเร็วที่สุด”
การจับกุมผู้ต้องหาตามหมายจับคดีแก๊งคอลเซ็นเตอร์

ตามนโยบายรัฐบาลและการปฏิบัติการโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติทำการปราบปรามเครือข่ายแก็งคอลเซ็นเตอร์และองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติที่หลอกลวงและสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชน
​​พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผบ.ตร. ได้จัดตั้งศูนย์ป้องกันและปรามปรามการฉ้อโกงประชาชนผ่านระบบโทรศัพท์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศป.ฉปทน.ตร.) โดยมี พล.ต.อ.ธนิตศักดิ์ ธีระสวัสดิ์ ที่ปรึกษาพิเศษ ตร. เป็นผู้อำนวยการศูนย์ฯ และมี พล.ต.ต.สุรเชษฐ์ หักพาล รอง ผบช.ทท. เป็นหัวหน้าชุดปฏิบัติการประจำศูนย์ฯ โดยได้ทำการสืบสวนและปราบปรามจนนำไปสู่การจับกุมผู้กระทำความผิด และได้เร่งรัดผลการจับกุมผู้ต้องหาตามหมายจับในคดีคอลเซ็นเตอร์อย่างต่อเนื่อง
ผลการจับกุมในรอบสัปดาห์ ระหว่างวันที่ 21 – 27 เมษายน 2561 เจ้าหน้าที่ตำรวจชุด ศป.ฉปทน.ตร. สามารถจับกุมผู้ต้องหาตามหมายจับในคดีแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ได้จำนวนทั้งสิ้น 5 ราย โดยส่วนใหญ่เป็นผู้รับจ้างเปิดบัญชี และสามารถจับกุมตัวผู้ต้องหารายสำคัญที่ทำหน้าที่เป็นโพยก๊วนฟอกเงิน คือ
​ นายฉาง ติง กั้ว หรือ MR.CHANG TING-KUO หรือ Jackie Chang หรือ อากั้ว สัญชาติไต้หวัน หนังสือเดินทางประเทศจีน เลขที่ ‭306682052‬ (ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลจังหวัดพิษณุโลกที่ 268/2560 ลงวันที่ 3 พฤศจิกายน 2560)
ในความผิดฐาน “มีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ”
ประวัติการเดินทางเข้า-ออก ประเทศไทย ของนายฉาง ติง กั้ว ผู้ต้องหา
​ นายฉาง ติง กั้ว ผู้ต้องหา มีประวัติการเดินทางเข้า-ออก ประเทศไทย รวมจำนวน 42 ครั้ง (ตั้งแต่ปี ‭2556-2561‬) โดยเข้ามาในฐานะนักท่องเที่ยว และครั้งล่าสุดเดินทางเข้ามาในประเทศไทยทางจุดผ่านแดนถาวรบ้านคลองลึก จังหวัดสระแก้ว เมื่อวันที่ 8 มี.ค.2561

ทั้งนี้ ศูนย์ป้องกันและปราบปรามการฉ้อโกงประชาชนผ่านระบบโทรศัพท์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้ปฏิบัติการระดมกวาดล้างจับกุมผู้ต้องหาตามหมายจับคดีคอลเซ็นเตอร์ ที่หลบหนีการจับกุมตามหมายจับที่พนักงานสอบสวนทั่วประเทศ ได้ดำเนินการออกหมายจับไว้ถึงปัจจุบัน (26 เม.ย.61)
​​มีจำนวนทั้งสิ้น​​547​​หมาย
​​จับกุมไปแล้ว​​361​​หมาย​ ถูกจับในต่างประเทศรอการส่งกลับ 46 หมาย
​​คงเหลือ​​​186​​หมาย​ และเป็นหมายไม่มีคุณภาพ ​ 55 หมาย
​​คงเหลือจำนวนทั้งสิ้น​ 85​​หมาย

CR. @ โอ๋ สมาคมคนข่าว ผู้สื่อข่าว นิวส์รีพอร์ต @ รายงาน

Loading