วันจันทร์, 13 มกราคม 2568

ลพบุรี!!ถั่วดาวอินคาผลผลิตคุณค่าของคนลพบุรี”

14 ก.ย. 2018
40

จังหวัดลพบุรี ถั่วดาวอินคาผลผลิตคุณค่าของคนลพบุรี

ผู้สื่อข่าวได้เดินทางไปยังโรงเรียนเกษตรกรในพระราชดำหริ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปสมุนไพรถั่วดาวอินคา ซึ่งตั้งอยู่ที่บ้านเลขที่ 69/1 หมู่ที่ 2 ต.กุดตาเพชร อ.ลำสนธิ จ.ลพบุรี เพื่อพบกับคุณพ่อประเสริฐ พึมขุนทด อายุ 64 ปี คุณแม่เต็ง อายุ 66 ปี และคุณศริพร อายุ 28 ปี เพื่อสอบถามถึงการปลูกต้นถั่วดาวอินคาในพื้นที่ของตนเอง ที่สามารถสร้างรายได้ สร้างธุรกิจ และสร้างชุมชนได้เป็นอย่างดีเป็นที่ยอมรับของคนในพื้นที่และต่างจังหวัด

คุณศิริพร พึมขุนทด อายุ 28 ปี บุตรสาวได้อออกมาต้อนรับและพาผู้สื่อข่าวเดินดูแปลงถั่วดาวอินคาบนเนื้อที่กว่า 7 ไร่ ซึ่งกำลังติดผลทั้งผลอ่อน ผลแก่ และผลสุก ในพื้นที่สวนผสม ซึ่งมีทั้งกล้วย เงาะ ทุเรียน ชมพู่ โดยมีร่องน้ำเลียบข้างมีการเลี้ยงปลาเบญจพรรณ ที่กำลังเจริญเติบโต โดยคุณศิริพร พร้อมด้วย พ่อแม่และญาติๆ ได้ช่วยกันเก็บผลสุกของถั่วดาวอินคารอบๆ พื้นที่ ซึ่งวันนี้ได้จำนวนมากถึง 100 กิโลกรัม

ซึ่งคุณพ่อประเสริฐ เล่าว่าเมื่อก่อนตนเองและครอบครัวได้ยึดอาชีพเกษตรกรมาโดยตลอดปลูกอ้อยปลูกข้าวโพด ในที่ใกล้บ้านก็ปลูกผัก ขุดบ่อเลี้ยงปลาเพื่อไว้กินในครอบครัว จนเมื่อต้นปี 2558 ได้รับการชักชวนจากเพื่อนเกษตรกรด้วยกันให้ไปอบรมเกี่ยวกับการปลูกถั่วดาวอินคา จนสามารถรู้ถึงการปลูก การดูแลรักษาและการเก็บเกี่ยว ซึ่งเห็นว่าเป็นเรื่องไม่ได้ยุงยากอะไร มีการรับซื้อผลผลิตที่แน่นอนอีกทั้งก็ยังได้ราคาที่สูงพอสมควร จึงได้เริ่มทำสัญญากับพ่อค้าเอกชนรายหนึ่ง ด้วยเงื่อนไขต้องซื้อต้นกล้าจากพ่อค้าเอกชนต้นละ 60 บาท 1 ไร่ใช้พันธุ์กล้าประมาณ 300 ต้น ที่ของตนที่ปลูกถั่วดาวอินคา 7 ไร่ ซึ่งลงทุนครั้งแรกสำหรับต้นกล้า 126,000 บาท

ปลูกถั่วดาวอินคาไปได้ประมาณ 7-8 เดือนถั่วดาวอินคาก็เริ่มให้ผลผลิต โดยพ่อค้าเอกชนมารับซื้อเมล็ดถั่วดาวอินคาพร้อมเปลือก กิโลกรัมละ 40 บาท เมล็ดที่กะเทาะเปลือกแล้วราคากิโลกรัมละ 60 บาท ขายไปชุดแรกที่ถั่วดาวอินคาให้ผลผลิตประมาณ 20,000 บาท และต้นถั่วดาวอินคาที่ดูแลรักษาอย่างดีก็เริ่มให้ผลผลิตชุดใหม่ออกมามากกว่าเดิมหลายเท่า คุณพ่อประเสริฐและครอบครัวมองเห็นถึงรายได้ที่จะเข้ามาเพิ่ม แต่ไม่เป็นไปตามคาดพ่อค้าเอกชนรายเดิมกลับกดราคาอ้างว่าถั่วดาวอินคาของตนมีสารปนเปื้อน เปื้อนสารเคมี น้ำมันโอเมก้าจากเมล็ดถั่วดาวอินคาไม่ได้มาตรฐาน แปลงเกษตรไม่ได้รับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ทั้งที่ตนเองไม่เคยใช้สารเคมีอะไรเลย เพราะเลี้ยงปลาตามร่องถั่วดาวอินคา แต่ก็ต้องจำยอมขายรวมในราคากิโลกรัมละ 20 บาท และในรอบต่อมาพ่อค้าเอกชนรายดังกล่าวก็ได้หายหน้าไป ไม่สามารถติดต่อได้อีกเกษตรกรที่ปลูกถั่วดาวอินคาในพื้นที่ ต.กุดตาเพชรหลายรายก็ต้องถูกลอยแพ

คุณศิริพรซึ่งเป็นบุตรสาว เห็นความทุกข์ยากของพ่อและแม่ และพี่ป้าน้าอาที่ปลูกถั่วดาวอินคา ที่เพิ่งเรียนจบการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาการโรงแรมและการท่องเที่ยว ซึ่งได้ทำงานอยู่โรงแรมแห่งหนึ่งในจังหวัดภูเก็ต เมื่อมีเวลาว่างก็จะศึกษาหาความรู้ประโยชน์จากถั่วดาวอินคา โดยคิดว่าจะเอาเมล็ดถั่วดาวอินคามาแปรรูปให้เกิดคุณค่าได้อย่างไรบ้าง ในเบื้องต้นได้เอาใบถั่วดาวอินคามาแปรรูปเป็นชา นำเมล็ดมาคั่วขายให้กับเพื่อนบ้าน ตามตลาดนัดใกล้บ้านแต่ก็ไม่สามรถระบายถั่วดาวอินคาที่มีจำนวนมากออกได้ทัน ต้องทิ้งโดยเปล่าประโยชน์

ตนเองและครอบครัวจึงได้ไปปรึกษากับหน่วยงานเกษตรในพื้นที่ และ อบต.กุดตาเพชร เพื่อขอสนับสนุน เครื่องมือในการกะเทาะเปลือก เครื่องอบแห้ง เครื่องบรรจุ และเครื่องสกัดน้ำมัน โดยมีแนวคิดต่างๆ จากหน่วยงานราชการเข้ามาให้ความรู้ สนับสนุน พัฒนาการแปรูปผลิตภัณฑ์เกษตรในครัวเรือนขนาดเล็ก จนได้รับรางวัลจากการะทรวงพัฒนาชุมชนเมื่อปี 2560 และได้รับการรับรองของสำนักงานอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข

ขณะนี้คุณศิริพรและครอบครัว สามารถแปรรูปผลผลิตจากถั่วดาวอินคาออกจำหน่ายในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตที่ทางคุณศิริพรเป็นศูนย์กลางการจำหน่าย เนื่องจากมีลูกค้าต่างประเทศชอบนำไปบริโภค และตามห้างสรรพสินค้าต่างๆ รวมถึงตามร้านค้าต่างๆ ในต่างจังหวัด ซึ่งผลิตภัณฑ์ จากผลผลิตถั่วดาวอินคาที่ขายดีที่สุดก็คือน้ำมันถั่วดาวอินคาสกัดเย็น น้ำมันถั่วดาวอินคาแบบแคปซูล กาแฟดาวอินคา ชาดาวอินคา ถั่วดาวอินคาอบกรอบ นอกจากนี้ยังมีสบู่ดาวอินคา แชมพูดาวอินคา เมล็ดถั่วดาวอินคาที่นำไปเพาะปลูก รวมถึงต้นถั่วดาวอินคา

ซึ่ง ณ ปัจจุบันคุณศิริพร ต้องการผลผลิตจากถั่วดาวอินคามากถึงเดือนละ 1,000 -1,500 กิโลกรัม ชาวบ้านที่ปลูกถั่วดาวอินคาในละแวกบ้าน ต.กุดตาเพชร ที่นำมามาขายจะรับซื้อด้วยในราคายุติธรรม หรืออาจมากกว่าพ่อค้าเอกชนรายเดิมเพราะเห็นใจในความทุกข์ยาก และความตั้งใจของพี่น้องเกษตรกร

กฤษณ์ ลพบุรี

Loading