วันอาทิตย์, 3 พฤศจิกายน 2567

มุกดาหาร!!เริ่มแล้ว”งานแข่งเรือออกพรรษาไทย-ลาวลาว”

22 ต.ค. 2018
60

มุกดาหาร เริ่มแล้ว งานแข่งเรือออกพรรษาไทย-ลาวลาว ( มุกดาหาร-สะหวันนะเขต) ปี 2561
จังหวัดมุกดาหาร ร่วมกับเทศบาลเมืองมุกดาหารกำหนดจัดงานประเพณีแข่งเรือออกพรรษาไทย-ลาว ( มุกดาหาร-สะหวันนะเขต) ปี 2561 สานประเพณี 2 ฝั่งโขง 22-24 ตุลาคม 2561 ที่ท่าน้ำเขื่อนริมแม่น้ำโขง ตลาดอินโดจีน

22 10 61 ที่บริเวณท่าเทียบเรือเทศบาลเมืองมุกดาหาร นายชยันต์ ศิริมาศ ผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร นางสุวรรณี ตั้งปณิธานนท์ นายกเทศมนตรีเมืองมุกดาหาร นายคำพูน ตุไพทูน รองเจ้าแขวง แขวงสะหวันนะเขต นายบุนยู้ ทำมะวง เจ้านครไกสอนพมวิหาน พร้อมด้วยส่วนราชการ ภาครัฐ องค์กรเอกชน การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ประชาชนชาวจังหวัดมุกดาหาร ตลอดจนชาวแขวงสะหวันนะเขต จัดงานประเพณีแข่งเรือออกพรรษาไทย-ลาว (มุกดาหาร-สะหวันนะเขต เพื่อสืบสานประเพณี 2 ฝั่งโขง ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ระหว่างวันที่ 22-24 ตุลาคม 2561 ที่ท่าน้ำเขื่อนริมแม่น้ำโขง ตลาดอินโดจีนเทศบาลเมืองมุกดาหาร

โดยวันนี้เป็นวันแรกของงาน ได้เชิญคณะผู้แทนจากแขวงแขวงสะหวันนะเขต สปป.ลาว พร้อมเรือประเภทสวยงาม เข้าร่วมในขบวนพิธีเปิดงาน ซึ่งประกอบด้วย ขบวนแห่ถ้วยพระราชทานของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ขบวนแห่เรือบกของชุมชนต่าง ๆ ในเขตเทศบาลเมืองมุกดาหาร และอำเภอต่าง ๆ ที่อยู่ติดแม่น้ำโขง พร้อมการแสดงฟ้อนรำ เพื่อทำพิธีบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ประชาชนชาวจังหวัดมุกดาหารนับถือ เช่น เจ้าพ่อเจ้าฟ้ามุงเมือง เจ้าแม่สองนางพี่น้อง ได้เปิดโอกาสให้ประชาชน จาก สปป.ลาว เดินทางมาร่วมงานงานเป็นกรณีพิเศษ เหมือนประเพณีปฎิบัติที่สืบทอดกันมา ซึ่งนอกจากเดินทางด้วยเรือโดยสารข้ามฟาก หรือรถยนต์ โดยผ่านด่านสากล สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 2 ( มุกดาหาร – สะหวันนะเขต ) และท่าเทียบเรือท่าข้ามเทศบาลเมืองมุกดาหาร ยังเปิดโอกาส ให้ประชาชนเดินทางมากับเรือแพขนานยนต์ โดยใช้สัญลักษณ์ หรือ โบว์ ที่ทางการลาวออกให้ติดที่หน้าอก
ทั้งนี้ เพื่อนุรักษ์ ขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น ส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัด ส่งเสริมวัฒนธรรมประเพณี 2 ฝั่งโขงและความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันสืบไป ซึ่งแต่ละปีมีประชาชนชาวลาวเดินทางมาร่วมงานเป็นจำนวนมากไม่ต่ำกว่า 10,000 คน

สำหรับงานประเพณีแข่งเรืออกพรรษาไทย-ลาว (มุกดาหาร-สะหวันนะเขต ) ที่แม่น้ำโขง ตลาดอินโดจีนจังหวัดมุกดาหาร เป็นงานประเพณีที่สืบทอดกันมายาวนานนับ 100 ปี ตั้งแต่สมัยรัชการที่ 5 ซึ่งเดิมเป็นการแข่งขันเพื่อความสนุกสนาน ของฝีพายเรือหัวเมืองต่าง ๆ ในระหว่างรอการประชุมของเจ้าเมืองที่เมืองมุกดาหาร และชาวบ้านหลังจากว่างเว้นจากการทำนา ปัจจุบันได้กลายเป็นประเพณีความเชื่อ ความศรัทธา ต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองและเทพเจ้าแห่งลำน้ำโขง โดยเฉพาะในวันแรกของงาน นอกจากขบวนแห่ทางบก ยังจัดให้มีขบวนแห่งทางน้ำและพิธีบวงสรวง สักการบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวมุกดาหาร และชาวลุ่มน้ำโขงนับถือตามความเชื่อถือ พญานาค พระแม่คงคา และทำพิธีเบิกน่านน้ำ โดยอัญเชิญเจ้าพ่อเจ้าฟ้ามุงเมือง ซึ่งเป็นที่เคารพ สักการะและเป็นแรงศรัทธายึดเหนี่ยวจิตใจ ของชาวมุกดาหารตั้งแต่ตั้งเมืองมุกดาหาร จนถึงปัจจุบัน ในการปกปักรักษาบ้านเมืองจังหวัดมุกดาหารให้ร่มเย็นเป็นสุขมาโดยตลอด จากตำหนัก ลงประทับเรือเจ้าฟ้ามุกดาสวรรค์ ซึ่งเป็นเรือโบราณสมัยรัชกาลที่ 5 เพื่อประกอบพิธีเบิกน่านน้ำ บวงสรวง สักการบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ พญานาคและพระแม่คงคา โดยผู้ทรงคุณวุฒิ พร้อมด้วยฝีพาย เรือประเพณีมุกดาหาร-สะหวันนะเขต และเรือประเภทต่าง ๆ ที่เข้าร่วมการแข่งขันทุกลำ เพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคล ถูกต้อง ตามจารีตประเพณีปฏิบัติมาแต่โบราณกาล โดยเริ่มจากจุดปล่อยเรือ บริเวณปากห้วยมุก ล่องไปตามแม่น้ำโขง ถึงจุดตัดสินหน้าวัดศรีบุญเรือง ระยะทาง 1,500 เมตร
จากนั้นจึงเป็นการแข่งขันเรือความเร็วประเภทต่าง ๆ ซึ่งแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ เรือรุ่นจิ๋ว 12 ฝีพาย เรือโบราณ รุ่นกลาง 25-35 ฝีพาย เรือโบราณรุ่นใหญ่ 36 ฝีพายขึ้นไป เรือท้องถิ่นรุ่นใหญ่ 36 ฝีพาย ขึ้นไป และเรือทั่วไป รุ่นกลาง 25-35 ฝีพาย จนเสร็จสิ้นการแข่งขัน

นอกจากนี้ ในภาคกลางคืน ยังจัดให้มีมหกรรมอาหารไทย-อินโดจีน สินค้า OTOP ผลิตภัณฑ์โครงการไทยนิยม ยั่งยืน การแสดงของนักเรียน เยาวชน และประชาชน การแสดงดนตรีพื้นเมือง ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น หมอลำผญา และการลอยกระจู้ ในวันออกพรรษา ขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 จำนวน 100,000 ดวง เพื่อบวงสรวง บูชา สักการะ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ พญานาค พระแม่คงคา และการจุดพลุ แสง สี เสียง กลางลำน้ำโขงอีกด้วย..

อนุศักดิ์ – เสาวภา แสนวิเศษ / มุกดาหาร

Loading