วันจันทร์, 13 มกราคม 2568

ประเพณีบุญเดือน 3 ตักบาตรข้าวโป่งด้วยครกโบราณ”

ประเพณีบุญเดือน 3 ตักบาตรข้าวโป่งด้วยครกโบราณสวมใส่ผ้าไหม ผ้าไทย ผ้าไทยพื้นเมือง นมัสการรอยพระพุทธบาทจำลอง ประจำปี 2562

ของชาวบ้านโนนคร้อ อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ 23 ก พ 62 ได้เปิดขึ้นแล้วอย่างยิ่งใหญ่ สวยงาม ที่ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชบรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 และเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 หมู่ที่ 11 นาย พิชัย ตั้งคำเจริญ ปลัดจังหวัดชัยภูมิ เป็นประธานนำประชาชน ชาวบ้านโนนคร้อ 3 หมู่บ้านประกอบด้วยบ้านโนนค้อ หมู่ที่ 6 หมู่ที่ 11 และหมู่ที่ 12 ตำบลบ้านขาม อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ ตลอดจนประชาชน และอำเภอ ใกล้เคียง รวมทั้งนักท่องเที่ยวจำนวนมาก พร้อมใจสวมใส่ผ้าไหม ผ้าไทย ผ้าพื้นเมือง ที่บรรพบุรุษพ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ได้สะสม และสอนให้ลูกหลานชาวบ้านโนนค้อทอผ้า ทำผ้ามาช้านาน ได้นำมาสวมใส่ร่วมตักบาตรข้าวโป่ง ทำตำด้วยครกโบราณ หรือครกกระเดื่องที่ใช้แรงชาวบ้านมาลงแขกช่วยกันตำข้าวโป่ง ซึ่งครกโบราณนี้มีอยู่ในหมู่บ้านโนนคร้อ ที่ยังมีการรักษาไว้มากที่สุดของจังหวัดชัยภูมิ รวมทั้งตักบาตรข้าวสาร อาหารแห้งแด่พระภิกษุสงฆ์ ตลอด 2 ฝั่งถนนระยะทางยาวกว่า 4 กิโลเมตร พร้อมขบวนแห่ ที่สื่อถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของ ชาวบ้านโนนคร้อ ที่มีการอพยพมาตั้งหมู่บ้านโนนคร้อ แห่งนี้ ของบรรพบุรุษตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ที่มีการดำรงตนตามหลักปรัชญาเกษตรทฤษฎีใหม่ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชบรมนาถบพิตร ในหลวงรัชกาลที่ 9 มาเป็นแนวทางในการปฏิบัติเข้าไปภายในหมู่บ้าน ก่อนจะไปสิ้นสุดลงที่วัดคลองหว้า บ้านโนนค้อ หมู่ที่ 6 ก่อนที่ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ จะนำชาวบ้านโนนคร้อ ร่วมประกอบพิธีติดทอง และนมัสการรอยพระพุทบาทจำลอง ประจำปี 2562 นี้ สำหรับประเพณีตักบาตรข้าวโป่งข้าวสารอาหารแห้งสวมใส่ผ้าไหม ผ้าไทย ผ้าพื้นเมือง และนมัสการรอยพระบาทจำลองนี้ ชาวบ้านโนนคร้อ

ได้ยึดถือและปฏิบัติติดต่อกันมาช้านาน ตามฮิต 12 คลอง 13 ขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามซึ่งพ่อแม่ปู่ย่าตายาย จะพาบุตรหลานเดินทางไปประกอบอาชีพ หรือทำงานต่างถิ่น ซึ่งจะกลับมาในเดือน 3 หรือเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี ทำการตักบาตร และทำบุญ นมัสการรอยพระพุทธบาทจำลอง เพื่อเป็นพุทธบูชา ตลอดจนเป็นศิริมงคลต่อตนเองและครอบครัว โดยข้าวโป่งนี้ ชาวบ้านจะร่วมใจกันนำข้าวเหนียวแช่น้ำ หรือที่ชาวอีสานเรียกว่า หม่าข้าว จากนั้นจะขอแรงเพื่อนบ้าน มาช่วยกันตำด้วยครกโบราณ ที่มีอยู่กระจายในหมู่บ้านมากกว่า 10 ครก ปัจจุบันโบราณนี้นับวันจะสูญหายไป แต่ชาวบ้านโนนคร้อ ยังคงอนุรักษ์ประเพณีไว้ไห้ลูกหลานสืบทอดต่อไป การทำช้าวบ้านจะมาช้วยกันตำข้าวเหนียวผสมกับไข่แดง -ถั่ว-งา- น้ำตาล-น้ำมันพืช-หัวกะทิมะพร้าวและเครือ ตด หมา(เป็นพืชสมุนไพร ที่ทำให้ข้าวโป่งฟูเป็นแผ่น เมื่อทอดหรือย่าง)จากนั้นจะนำไปปั้นเป็นแผ่น แล้วนำไปตากแดดให้แห้งเก็บไว้ได้นานๆ และเป็นของฝากให้กับลูกหลาน ได้นำกลับไปรับประทานในการทำงาน หลังเสร็จบุญเดือน 3 ผ่านพ้นไปแล้ว ซึ่งชาวบ้านโนนคร้อ 3 หมู่บ้าน จะยังคงสืบสานขนบธรรมเนียม ประเพณีอันดีงามหนึ่งเดียวในประเทศไทยนี้ให้คงอยู่สืบไป***

.ภักดีชุมพล
จ.ชัยภูมิ //รายงาน

Loading