ตราด / อพท.จับมือ วิทยาลัยนานาชาติ ม.มหิดล พัฒนานักสื่อความหมายชุมชนตำบลคลองใหญ่ อ.คลองใหญ่ จ.ตราด
วันที่ 1 กค 62 ตราด/ ที่ห้องประชุมท่าเทียบเรืออเนกประสงค์คลองใหญ่ต.คลองใหญ่ อ.คลองใหญ่ จ.ตราด นายวิระชาญ ประทีปาระยะกุล นายกเทศบาลตําบลคลองใหญ่ เป็นประธานกล่าวให้การต้อนรับ ในพิธีเปิดการสัมมนาเชิงปฎิบัติการ โครงการพัฒนานักสื่อความหมายชุมชนนายสุเทพ เกื้อสังข์ รองผู้อํานวยการ อพท เป็นประธานเปิดโครงการ โดยมี ดร.แก้วตา ม่วงเกษม และ ผศ.ดร.สมพงษ์ อํานวยเงินตรา อาจารย์จากวิทยาลัยนานาชาติมหาวิทยาลัยมหิตดล เป็นวิทยากรบรรยายพิเศษ พร้อมด้วยชุมชนตําบลคลองใหญ่และหน่วยงานเทศบาลตําบลคลองใหญ่เข้าร่วมในกิจกรรม ใช้เวลาในการจัดโครงการรวม 2 วันด้วยกัน
การจัดกิจกรรมพัฒนานักสื่อความหมายชุมชน ภายใต้โครงการกิจกรรมพัฒนานักสื่อความหมายท้องถิ่น ปี 2 เพื่อเป็นการต่อยอดจากโครงการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนต้นแบบปี 1 ในการพัฒนาบุคลากรที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับกิจกรรมสื่อความหมายของชุมชนให้มีทักษะและความชํานาญในการสื่อความหมายตามเส้นทางที่ได้ออกแบบการเล่าเรื่องอย่างเป็นระบบ การจัดกิจกรรมสัมมนาเชิงปฎิบัติการ โครงการพัฒนานักสื่อความหมายชุมชน เป็นโครงการจากสํานักท่องเที่ยวชุมชน (สทช.) ร่วมงานโดยสํานักงานพื้นที่พิเศษ 3 ซึ่งงานนี้จะทําให้ชุมชนทั้งสมาชิกชมชน ผู้นําชุมชน และเยาวชน ได้เรียนรู้ถึงการเป็นนักสื่อความหมายชุมชนที่ดี เพื่อให้นักท่องเที่ยวประทับใจ ต้องทําอย่างไรบ้าง การจัดการ องค์ความรู้ที่มีอยู่แล้ว เพื่อบอกเล่า รวมถึงการนําสิ่งที่ได้ไปลงมือปฎิบัติจริงมาเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
นายสุเทพ เกื้อสังข์ รอง ผอ.อพท.บอกว่า เป็นการนําร่องหลักสูตรพัฒนานักสื่อความหมายชุมชนมาใช้ในพื้นที่พิเศษที่ อพท.ได้คัดสรรไว้โดยจะนําไปทดลองใช้จริงใน 6 พื้นที่พิเศษ ได้แก่ พื้นที่ชุมชนดงเย็น จ.สุพรรณบุรี ชุมชนม่วงติ๊ด จ.น่าน ชุมชนภูหลวง จ.เลย ชุมชนหนองอ้อ จ.สุโขทัย ชุมชนตะเคียนเตี้ย จ.ชลบุรี และชุมชนตําบลคลองใหญ่ เพื่อพัฒนานักสื่อความหมายในแหล่งท่องเที่ยวให้มีพื้นฐานที่ดีส่งผลต่อการต้อนรับผู้มาเยือนได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังเป็นการรวบรวมองค์ความรู้ท้องถิ่น เพื่อนํามาจัดลําดับความสําคัญในการเล่าเรื่องและเส้นทางสื่อความหมายในชุมชน อีกทั้งยังเป็นการเน้นยํ้าความเป็นนักสื่อความหมายพร้อมและมีศักยภาพในการเป็นต้นแบบของการพัฒนา ด้านการนักสื่อความหมายในพื้นที่และสามารถถ่ายทอดประสบการณ์ผ่านกระบวนการเสริมสร้างประสบการณ์ประทับใจนักท่องเที่ยวได้เป็นอย่างถูกต้อง อาทิ การจัดการอารมณ์ การอ่านภาษากายเบื้องต้น การเข้าถึงพฤติกรรมกลุ่มนักท่องเที่ยว และการทํางานเป็นทีมอีกทั้งยังเน้นยํ้าความพร้อมทักษะในการเป็นนักสื่อความหมายชุมชน แนวทางเสริมสร้างประสบการณ์ WOW เพื่อการท่องเที่ยวโดนชุมชน และ 8 องค์ประกอบเส้นทางสร้างประสบการณ์ WOW สําหรับการท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นต้น เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพบุคลากรในชุมชนต่อไป
ภาพ/ข่าว วิเชียร ม่วงสี ทีมข่าวภูมิภาค
นาย พรเทพ เขม้นเขตวิทย์ รายงานจากศูนย์ข่าวภาคตะวันออก