วันพฤหัสบดี, 24 ตุลาคม 2567

เพชรบุรี ส่งเสริมการท่องเที่ยวหาดเจ้าสราญ

จังหวัดเพชรบุรี -เทศบาลตำบลหาดเจ้าสำราญ กับการพัฒนาของผู้นำท้องถิ่นขัวญชาวบ้าน
วันที่ 13 ก.พ. 60

บุญยอด มาคล้าย นายกเทศมนตรีตำบลหาดเจ้าสำราญ จ.เพชรบุรี กล่าวว่า เข้ามารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีตำบลหาดเจ้าสำราญ มีเป้าหมายคือการพัฒนาส่งเสริมการท่องเที่ยวและพัฒนาการศึกษา เนื่องจากเดิมหาดเจ้าสำราญเป็นแหล่งท่องเที่ยวให้มีชื่อเสียง แต่ระยะหลังได้ขาดการดูแลจนเสื่อมโทรม ตนต้องการฟื้นฟูให้กลับมาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง เป็นที่รู้จัก และเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวทั่วประเทศ
ได้มีแนวคิดการสร้างแรงดึงดูดให้นักท่องเที่ยวมาเที่ยวหาดเจ้าสำราญ ได้วางแนวทางไว้ว่าในเบื้องต้นต้องจัดระเบียบหาดเจ้าสำราญ ทั้งพื้นที่การค้า สถานที่จอดรถให้เป็นระเบียบเรียบร้อย จัดกิจกรรมดึงดูดนักท่องเที่ยว โดยการตั้งเวทีชื่อเวที “อยากโชว์หาดเจ้าสำราญ” ซึ่งเป็นเวทีที่เปิดให้นักท่องเที่ยวแสดงออก ขึ้นโชว์การร้องเพลง การแสดง หรือทำกิจกรรมต่างๆ ได้ รวมทั้งเป็นเวทีที่ให้คนพื้นที่โดยเฉพาะเด็กๆ ได้แสดงออกโชว์ให้นักท่องเที่ยวดู โดยเวทีแห่งนี้มีทุกวันเสาร์และอาทิตย์ ตั้งเวลา 13.00-21.00 น.
นอกจากเวทีอยากโชว์แล้วในส่วนของหน้าหาดเจ้าสำราญจะมีการปรับภูมิทัศน์ให้สวยงาม และเนื่องจากหาดเจ้าสำราญมีตำนานและชื่อหาดเจ้าสำราญรัชกาลที่ 6 พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นผู้พระราชทานชื่อไว้ แต่ทุกวันนี้เป็นเพียงตำนาน บางคนก็รู้ บางคนก็ไม่รู้ จึงได้นำเรื่องนี้มาเป็นจุดโปรโมทการท่องเที่ยวหาดเจ้าสำราญ มีโครงการในปี 2557 ใช้งบประมาณของกรมโยธาธิการและผังเมือง 40 ล้านบาท ทำการก่อสร้างอุทยานประวัติศาสตร์พระมหาธีรราชเจ้า รัชกาลที่ 6 ซึ่งภายในอุทยานประวัติศาสตร์แห่งนี้มีอนุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ค่ายหลวงจำลอง และสร้างรถไฟจำลองที่เกาะกลางถนน และสถานีชื่อสถานีบางทะลุ หรือสถานีหาดเจ้าสำราญ เพื่อให้เป็นสถานที่ถ่ายรูป ภายในรถไฟจำลองจะเป็นห้องสมุด และนิทรรศการพระราชกรณียกิจ เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้มาเรียนรู้ได้มาศึกษา
นายกบุญยอดกล่าวเพิ่มเติมว่า ด้านการศึกษาตนต้องการพัฒนาเพราะในอนาคตประเทศไทยได้เข้าร่วมเออีซี หรือประชาคมอาเซียน ซึ่งปัจจุบันการศึกษาของประเทศไทยยังด้อยเนื่องจากอยู่ในอันดับ 8 ในกลุ่มอาเซียน หากไม่พัฒนาภาษา เมื่อนักท่องเที่ยวต่างชาติมาเที่ยวหาดเจ้าสำราญ ก็ไม่สามารถสื่อสารกันได้จึงได้ประสานกับมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีมาพัฒนาด้านภาษาให้ นอกจากนี้ยังขอครูจากเขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 1 มาสอนภาษาให้นักเรียน
“หากมีความรู้ด้านภาษาจะมีประโยชน์กับหาดเจ้าสำราญมาก เมื่อมีนักท่องเที่ยวเข้ามา อย่างไรก็ตามเพื่ออนุรักษ์ความเป็นไทยก็ได้รณรงค์ให้คนหาดเจ้าสำราญสอนลูกหลานให้พูดภาษาถิ่น เพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น และอัตลักษณ์ของคนหาดเจ้าสำราญไว้” ส่วนการพัฒนาอาชีพในพื้นที่เทศบาลตำบลหาดเจ้าสำราญแบ่งเขตการประกอบอาชีพเป็น 2 เขตคือเขตเกษตรกรรม และประมงชายฝั่ง ในส่วนของประมงชายฝั่ง ก่อนที่จะมาทำหน้าที่หน้ายกเทศมนตรีตำบลหาดเจ้าสำราญ ชาวประมงชายฝั่งมีปัญหาเดือดร้อนเรื่องการประกอบอาชีพ เนื่องจากสัตว์น้ำในทะเลมีน้อยชาวประมงจับสัตว์น้ำมาขายได้เงินไม่พอค่าน้ำมันเครื่องเรือ เมื่อเข้ามาทำหน้าที่นายกเทศมนตรีตำบลหาดเจ้าสำราญ ได้มีการประสานเจ้าหน้าที่กรมประมง ปล่อยพันธุ์กุ้ง ปลา และปู ลงในทะเลหาดเจ้าสำราญหลายล้านตัว ซึ่งให้สัตว์น้ำในทะเลหาดเจ้าสำราญกลับมาอุดมสมบูรณ์อีกครั้ง ชาวประมงสามารถจับมาขายเป็นอาชีพเลี้ยงตัวได้
นายกบุญยอดกล่าวทิ้งท้ายว่า สำหรับนโยบายเรื่องดูแลสิ่งแวดล้อม หาดเจ้าสำราญเป็นเมืองท่องเที่ยวจึงมีปัญหาเรื่องขยะเนื่องจากปัจจุบันเทศบาลหาดเจ้าสำราญต้องเสียงบประมาณกำจัดขยะเดือนละกว่า 100,000 บาท หรือปีละกว่า 1 ล้านบาท และมีแนวโน้มค่าใช้จ่ายในการจัดการขยะจะเพิ่มขึ้นทุกวัน จึงมีนโยบายจัดการขยะ โดยทำโครงการขยะได้บุญ มีการคัดแยกขยะแล้วนำไปขายนำเงินที่ได้ไปถวายวัดต่างๆ ในเขตเทศบาลตำบลหาดเจ้าสำราญ นอกจากนี้ในทุกวันพุธชุดเจ้าหน้าที่อาสาก็จะร่วมมือกันเก็บขยะต่างผู้ค้าทำความวอาด
บริเวณหาดเจ้าสำราญซึ่งได้รับความร่วมมือจากแม่ค้าพ่อค้า รวมถึงเจ้าหน้าที่อาสา ได้ลงมติให้ทุกคนทุกร้านช่วยกันเก็บขยะทำความสะอาดหาดเจ้าสำราญ เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระของเทศบาลในการจัดการต่างๆ
นายกได้กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่าต้องการบริหารเทศบาลตำบลหาดเจ้าสำราญ พัฒนาให้หาดเจ้าสำราญมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป เพราะมีของดีอยู่ทั้งด้านประวัติศาสตร์และด้านการท่องเที่ยว” นายกเทศมนตรีตำบลหาดเจ้าสำราญ กล่าว

บุญยอดคล้าย’พัฒนาการท่องเที่ยวและการศึกษา




ภาพ / ข่าว
มณฑิตา เขตนารี
ผู้สื่อข่าวจังหวัดเพชรบุรี
080-644-724-3

Loading