วันอาทิตย์, 12 มกราคม 2568

โครงการนำร่อง”ครัวโรงเรียน”สู่ครัวบ้าน ผู้นำทางการเกษตรของ 5 จว.ชายแดนใต้”

“ครัวโรงเรียนสู่ครัวบ้าน” โครงการนำร่อง ผู้นำทางการเกษตรของ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้
สิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้สำหรับภูมิภาคใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ก็คือ คนส่วนใหญ่ในพื้นที่ มีอาชีพทางการเกษตร เช่นการทำสวนยาง สวนผลไม้ ประมง และอื่นๆ ซึ่ง เป็นการ”ต่อยอด”จากอาชีพเกษตกรรม ดังนั้นไม่ว่าแผนพัฒนาจะ ส่งเสริมในเรื่องของ “อุตสาหกรรม” และอื่นๆ แต่ สุดท้ายความ”ยั่งยืน”ของผู้คนใน จังหวัดชายแดนภาคใต้ ก็ยังยืนอยู่บนอาชีพเกษตกรรม นั่นเอง


และโครงการ”ครัวโลกสู่ครัวบ้าน” ที่ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้ทำการผลักดันให้เกิดขึ้น ตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นมา ก็เป็นอีกโครงการหนึ่งในการ”ผลิตต้นกล้า” หรือ”หน่ออ่อน” ของการสร้าง เยาวชนที่ทำการศึกษาอยู่ในโรงเรียน ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษา เป็นต้นไป ให้มีความรู้ ความเข้าใจ และรักในการเป็น”เกษตรกร” โดยการคาดหวังว่า ในอนาคต เยาวชนเหล่านี้ คือผู้นำทางการเกษตร ที่จะได้นำความรู้ ในเรื่องเกษตรแผนใหม่ หรือนำ”นวัตกรรม”ใหม่ของการเป็นเกษตกร มาพัฒนามาตุภูมิ หรือ”ถิ่นเกิด”ของตนเอง เป็นการ พัฒนาให้ผู้ที่อยู่ในภาคเกษตกรรม ได้เป็นเกษตกรแผนใหม่ เพื่อการ ยกระดับ ให้ การเป็น เกษตกร อยู่ดี มีสุข ไม่ใช่การเป็น เกษตกร ที่มีชีวิตแบบ”ลุ่มๆดอนๆ” อย่างที่เป็นมาในอดีต และ แม้แต่ใน ปัจจุบัน อาชีพ เกษตกร ก็ยังมีปัญหามากมาย

พล.ร.ต.สมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ กล่าวว่า โครงการนี้ เป็นโครงการที่ต้องการ สร้างเยาวชน ที่เป็นนักเรียน ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาในโรงเรียน โดยขยายผลจากแนวพระราชดำริ ส่งเสริมอาหารกลางวัน ปัญหาการขาดแคลนอาการกลางวันในโรงเรียน ด้วยการทำโครงการทำแปลเกษตร เพื่ออาหารกลางวัน ซึ่ง ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ( ศอ.บต.) ได้จัดทำโครงการติดตามงานขยายผลแนวพระราชดำริโครงการอาหารกลางวัน”ครัวโรงเรียนสู่ครัวบ้าน” ขึ้นในปี 2560-2561 และดำเนินกิจการขยายผลแนวพระราชดำริ “ครัวโรงเรียนสู่ครัวบ้าน” ในปี พ.ศ2562
โดยกลุ่มเป้าหมาย เป็นนักเรียนโรงเรียนในสังกัดของสำนักงานกระทรวงศึกษาธิการ และโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ในสังกัดของกองกำกับตำรวจตระเวนชายแดนที่ 43-44 ใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งจากการติดตามพบว่า มีเด็กนักเรียน ที่อยู่ในโครงการ ได้นำความรู้ที่ได้รับ จากโรงเรียน ( ครัวโรงเรียน ) มา สานต่อที่บ้าน (ครัวบ้าน ) ซึ่งจากการติดตามงานของ ศอ.บต. พบว่า นักเรียนในโครงการ มาสานต่อที่บ้าน มีการปลูกผักสวนครัวไว้กินและแบ่งปันเพื่อนบ้าน และจำหน่ายในส่วนที่เหลือ โดยใช้วิชาการเกษตรแผนใหม่ที่ได้รับมาเป็นตัวอย่างในครอบครัว และยังมีการนำระบบบัญชีในครัวเรือน มาแนะนำในครอบครัวเพื่อวางแผนการ ลดค่าใช้จ่ายใน ครัวเรือน ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพ่อหลวงรัชกาลที่ 9 ซึ่งสร้างความ ยินดี ให้กับผู้ปกครองเป็นอย่างยิ่ง


โดยเฉพาะในปี 2562 นี้ ได้มีการคัดเลือก นักเรียนที่ได้รับรางวัลตามโครงการ “ครัวโรงเรียนสู่ครัวบ้าน” จำนวน 10 คน จาก โรงเรียนใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เข้ารับ ให้กับ นักเรียนต้นแบบเหล่านี้ ซึ่งในส่วนของ ศอ.บต. นั้น มีแผนงานในการ สนับสนุน นักเรียนต้นแบบ ที่ได้รับรางวัลในโครงการ “ครัวโรงเรียนสู่ครัวบ้าน” เพื่อเป็นการ ส่งเสริม สนับสนุน เป็น ขวัญ และ กำลังใจ สำหรับนักเรียนที่ได้รับรางวัล ได้แก่ ด.ญ.ซารีฟะห์ มัรยัมอัลอิดรุส เรียนอยู่ชั้นประถมปีที่ 5 โรงเรียนบ้านช่องแมว ต.ละหาร อ.สายบุรี จ.ปัตตานี ด.ญ.ปภาวรินทร์ ชุมภูราช นักเรียนชั้นประถมปีที่ 5 โรงเรียนบ้านนา ต.บ้านนา อ.จะนะ จ.สงขลา ด.ญ.ระสิดา แก้วเพชร ศึกษาอยู่ชั้นประถมปีที่ 5 โรงเรียนบ้านนา ต.บ้านนา อ.จะนะ จ.สงขลา ด.ญ.พัณณิตา แก้วสำอาง ชั้นประถมปีที่ 5 โรงเรียนบ้านตอหลัง ต.ไพรวัน อ.ตากใบ จ.นราธิวาส ด.ญ.รอฮาดา ดายะหอ นักเรียนชั้นประถมปีที่ 6 โรงเรียนบ้านปะแต ต.ปะแต อ.ยะหา จ.ยะลา ด.ญ. กัญจนพร สงนวล นักเรียนชั้นประถมปีที่ 5 โรงเรียนบ้านป่าแก่บ่อหิน อ.ทุ่งหว้า จ.สตูล ด.ญ. นัสรีญา เงดฉูนุ้ย นักเรียนชั้นประถมปีที่ 6 โรงเรียนบ้านปาเต๊ะ ต.เจ๊ะบีลัง อ.เมืองสตูล จ.สตูล ด.ญ. ฮุซนา หมัดบิลเฮด นักเรียนชั้นประถมปีที่ 6 โรงเรียนบ้านทุ่งไหม้ ต.น้ำผุด อ.ละงู จ.สตูล


ซึ่ง ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ จะทำการสนับสนุน นักเรียนที่ได้รับการคัดเลือกให้ได้รับรางวัลทั้งหมด ได้ศึกษาต่อในด้านการเกษตร เพื่อให้เป็นนักเรียน”ต้นแบบ” ในการ”นำร่อง” ของ วิชาการเกษตร เพื่อกลับมาพัฒนา”มาตุภูมิ” ซึ่งหาก คนเหล่านี้ สำเร็จการศึกษา ในด้านการเกษตร ก็จะผลักดันรับราชการ ในตำแหน่งการเกษตร เพื่อที่จะได้ใช้ความรู้ มา พัฒนา ตามแนวทาง เกษตรแผนใหม่ ในการสร้างความ มั่นคง มั่งคั่ง ให้กับ เกษตกร ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

นายปรีชา สถิตย์เรืองศักดิ์/หาดใหญ่/สงขลา

Loading