วันอาทิตย์, 12 มกราคม 2568

จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการถ่ายทอดมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม”ลำตัดพื้นบ้านภาคกลาง”

 

        เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2562  กรมส่งเสริมวัฒนธรรม  สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครปฐม แหล่งเรียนรู้มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมลำตัดและเพลงพื้นบ้านภาคกลาง พ่อหวังเต๊ะ แม่ศรีนวล  ร่วมกันจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการถ่ายทอดมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม  “ลำตัดเพลงพื้นบ้านภาคกลาง”  ณ แหล่งเรียนรู้มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมลำตัดและเพลงพื้นบ้านภาคกลาง  พ่อหวังเต๊ะ แม่ศรีนวล  หมู่บ้านไผ่ประทุน ตำบลลำลูกบัว อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม  

ในการจัดโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้  ได้รับเกียรติจากนางสวาท  เกียรติภัทรชัย  ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอดอนตูม  เป็นประธานเปิดโครงการอบรม โดยมีผู้เข้าร่วมงานโครงการดังกล่าว อาทิ  นางทิวาพร  โชครุ่งเจริญชัย  รองประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอดอนตูม  นางสาวชนิดา  พรหมผลิน  นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ และผู้ประสานงานอำเภอดอนตูม  ดร.จิตกวี กระจ่างเมฆ  ประธานสภาวัฒนธรรมตำบลห้วยด้วน  ดร.อภิลักษณ์ เกษมผลกูล  กรรมการสภาวัฒนธรรม    จังหวัดนครปฐม  และนางวันวิสา  นิยมทรัพย์  กรรมการสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครปฐม  และเจ้าหน้าที่จาก     กรมส่งเสริมวัฒนธรรม  กระทรวงวัฒนธรรม

ในการจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการถ่ายทอดมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม  “ลำตัดเพลงพื้นบ้าน    ภาคกลาง”  ครั้งที่ ๕  มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม สนับสนุนให้นักเรียน นักศึกษา เยาวชน และประชาชนทั่วไป ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ในระดับชาติและนานาชาติ ได้เรียนรู้ สืบทอดเพลงพื้นบ้าน โดยให้เพลงพื้นบ้านเป็นเครื่องมือหนึ่งในการต่อยอดมรดกภูมิปัญญาวัฒนธรรมประเพณีเพลงพื้นบ้านของไทย ซึ่งเป็นการอนุรักษ์สืบสานเพลงพื้นบ้านภาคกลางอย่างยั่งยืน รวมทั้งการปลูกฝังเด็กและเยาวชน ให้มีความรักและหวงแหน สืบสานด้วยหัวใจรักในความเป็นไทย  ในการจัดฝึกอบรมในครั้งนี้ผู้เข้ารับการอบรมจะได้รับการฝึกฝนเพลง ดังนี้

1) บทเพลงหวังเต๊ะ  2 ) เพลงลอยนกน้อย  3) เพลงลอย ป๊ะเพียว  4) ลำตัด กลอนลู   5) กลอนเลย               6) ลำตัด กลอนลี  สอนชาย    7) กลอนลี  สอนหญิง   8) กลอนลา  ออกตัว (ชาย)   9) ลำตัด กลอนลิง (ชาย)     10) ลำตัดกลอนลิง (ญ)   11) ลำตัด  กลอนลันพระคุณพ่อพระคุณแม่   12) เพลงลอย พม่าทุงเล   13) เพลงเรือ   14)เพลงฉ่อย   15) เพลงเกี่ยวข้าว   16) เพลงอีแซว

           โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการถ่ายทอดมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมฯ  เชิงคุณภาพได้รับความสนใจ   จากนักเรียน นักศึกษา เยาวชน และประชาชนทั่วไป รวมทั้งสิ้นจำนวน  50 คน

​​​​​​​นางสาวชนิดา   พรหมผลิน

ผู้สื่อข่าวนิวส์รีพอร์ต  รายงาน  ภาพ/ข่าว

Loading