วันจันทร์, 28 ตุลาคม 2567

เปิดศูนย์เรียนรู้”ชวนเกษตรกรปลูกต้นโกโก้”

14 ธ.ค. 2019
56

นายบ้านไข่รันเปิดศูนย์เรียนรู้ ชวนเกษตรกรปลูกต้นโกโก้ แซมเสริมรายได้ ช่วงเศรษฐกิจแย่


วันนี้ 13 ธันวาคม 2562 ที่ แปลงสาธิตปลูกโกโก้เป็นพืชแซมเสริมรายได้ อ.นาทวี จ.สงขลา ของนายนิรันดร์ นิคมรัตน์ หรือนายบ้านไข่รัน อายุ 66 ปี อยู่บ้านเลขที่ 17 หมู่ 6 ต.นาทวี อ.นาทวี จ.สงขลา ได้เปิดเป็นศูนย์เรียนรู้ โดยมีเกษตรกรจากพื้นที่ อ.ยะหา และ อ.กาบัง จ.ยะลา และจาก อ.สะบ้าย้อย และ อ.นาทวี จ.สงขลา ประมาณ 100 คน สนใจ มาเรียนรู้เรื่องเกษตรผสมผสาน ซึ่งเกษตรกรดังกล่าว จะได้ความรู้เกี่ยวกับการปลูกต้นโกโก้ เพื่อเป็นรายได้เสริมในยามที่เศรษฐกิจตกต่ำอยู่ในขณะนี้ ซึ่งโกโก้ สามารถปลูกแซมผสมผสานกับพืชชนิดอื่นๆได้ ไม่ว่าจะปลูกแซมในสวนยางพารา หรือ สวนทุเรียน และสวนกาแฟ ก็ได้

นายนิรันดร์ หรือ นายบ้านไข่รัน กล่าวว่า ตอนนี้เรื่องเศรษฐกิจย่ำแย่ ยาง ยังไงก็ไปไม่ไหว ที่ไปไม่ไหว คิดดูยาง สามกิโลซื้อปลาทูยังไม่ได้กิโล เรื่องจริงแล้วถ้าอยู่สภาพแบบนี้โดยที่ว่าเราไม่คิดค้นหาวิธีมา ทำอย่างไรให้มีรายได้เสริมจะเอาทุเรียนเป็นหลักก็ไม่ได้ เพราะปีละครั้ง แต่คนนี้กินทุกวัน ก็เลยสนใจก็ค้นหา ก็มาดูโกโก้ศึกษาเรื่องโกโก้ เพราะอยู่ชุมพร ผมเล่นโกโก้ มาก่อน เจ๊ง เพราะตอนนั้นตลาดไม่มี ผมกลับมาอยู่นี้ อยู่ๆตลาดวิ่งมาหาผมเอง ตัดสินใจเลยไม่ลังเลลงไป 50 ไร่ ก็ตกห้าแสนกว่า ไม่ลังเลทำไหมไม่ลังเล พืชไม่มีอะไรเร็วเท่า โกโก้ ปีกว่าๆได้รับผล แล้วโกโก้นี้มันเป็นพืชอายุยืน เราตายก่อนนี่มันไม่เป็นไรปลูกทีเดียวสองปีคุ้มทุน ที่เหลือคือกำไรกินไปถึงลูกหลาน ผมอยากให้เกษตรกรมาดู ไม่ใช่ฝังใจแบบโบราณ กูยางอย่างเดียว ปาม์ลอย่างเดียวตายลูกเดียว ตัวเองไม่ได้พัฒนาไปนั่งด่ารัฐบาล จีน ยางนี่ คนกินคนเดียวคือจีน จีนยางเมืองไทยมันแพงไปเอาเวียดนามถูกกว่าเลยเจ๊ง ให้ขึ้น 60 คุณไม่ต้องหวัง ไม่มีขึ้นๆ พอมาทุเรียน ตอนนี้จีนปลูกเยอะ ต้นกล้าทุเรียนชุมพรปีนี้ออกไป 10 ล้านต้น คนกินใคร จีน แล้วต่อไปก็จะเหมือนกับยาง แต่โกโก้นี่ ประเทศไทยสั่งนอกมาปีหนึ่ง 6 – 7 หมื่นตัน ของเราปลูกเองทำเองยังไม่ได้ 200 ตัน 300 ตัน ยังไม่ได้และมีอีกนาน แล้วผมถามว่าคุณกลัวอะไร ถ้ากลัวโดนหลอก ก็เขาหลอกมาเยอะแล้ว หลอกอีกทีเป็นไง แต่ผมเชื่อใจนะ ว่าบริษัทเขาคงไม่หลอกเราแน่ เพราะถ้าหลอก มันไม่กล้าออกสื่อ ผมเลยไม่กลัว สัญญาพลิกแพลงได้แต่การออกสื่อแล้วมาพลิกแพลงชาวบ้านนี่ โดน


นายนิรันดร์ฯ ยังกล่าวถึงเรื่องในการเก็บเกี่ยวผลผลิตของโกโก้ ว่า ทุเรียนผมไม่อยากจะพูดถึง เมื่อก่อนเป็นแปลงใหญ่ที่สุด 500 กว่าต้น แล้วมาเจอภัยแล้งหกเดือนสิบแปดวันเองตายเหลือ 20 ต้นก็เลยไม่พูดถึง เมื่อก่อนผมได้ที 50 ตัน ก็เหลือแต่มังคุด 600 ต้น ผมอย่างน้อยก็ปีละ 20 ตันผมตั้งไว้ที่ 7 บาท ผมไม่ได้แพงอย่างคนอื่น 7 บาท ผมอยู่ได้ แต่ว่าทุเรียนและมังคุดนี่ปีละครั้ง ค่าใช้จ่าย จ่ายทุกวันก็เลยหาโกโก้ ๆนี้ มันเป็นตลอด 15 วันเก็บ ถ้าปลูกเยอะๆเก็บได้ทุกวันเพราะเป็นลูกโซ่ มันเป็นจากดินขึ้นไป ลูกนี่แก่ ลูกนี่สุก ลูกนี่ออก ออกดอกไปเรื่อยไล่ตามไปเรื่อย ทำไมผมบอกว่าสองปีคืนทุน ผมให้ปีแปดเดือนก็แล้วกัน ปีห้าเดือนเดี๋ยวมันเร็วเกินไป ปีแปดเดือน ปีครึ่งพอดี ปีครึ่ง ผมตีขั้นต่ำต้นละ 1 กิโล ใน 100 ต้น 100 กิโล 15 วันเก็บครั้ง หมายความว่าเดือนหนึ่งเก็บสองครั้ง ก็สองกิโลเท่ากับ 200 กิโล คูณด้วยราคา 10 ถึง 15 บาท คูณราคาเข้าไป 2,000 ต่อเดือน ปีหนึ่งเท่าไร สองหมื่นกว่า แต่ถ้าคุณเก็บไปประมาณ 6 เดือน จะขึ้นมา 3 กิโล ๆเดือนหนึ่งก็ 6 กิโล ต่อต้น ร้อยต้นก็ 600 กิโล คูณ 10 เข้าไป 6,000 ปีหนึ่งเท่าไร หกหมื่น ยิ่งต้นมากขึ้นไปๆอายุสัก 3 – 4 ปี 5 กิโล 10 กิโล ต่อต้น ๆเดือนหนึ่ง สิบกิโลพันหนึ่ง สองพันต่อเดือนสองพันกิโลต่อเดือนคูณด้วย 10 ถ้าบริษัทรับซื้อสูงกว่านั้นเราก็ได้กำไรเดือนสองหมื่น อะไรปีหนึ่งเท่าไร ของผมลงไป 5,000 ต้น เก็บงวดหนึ่งผมเอาต้นละ 1 กิโล ก็ 5 ตัน ๆคูณ 10 ห้าหมื่น เดือนละแสน

นายปรีชา สถิตย์เรืองศักดิ์/หาดใหญ่/สงขลา

Loading