เครือข่ายชาวสวนมะพร้าวประจวบฯขึ้นป้ายจี้ รมว.เกษตร เร่งออกกฎกระทรวงคุมสวนร้างแก้ปัญหา มะพร้าวนำเข้า / มะพร้าวเถื่อน ,,กะทิแช่แข็ง,,กลัว มะพร้าวไทยราคา ดิ่ง
วันที่ 30 ธันวาคม นายพงษ์ศักดิ์ บุตรรักษ์ แกนนำเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนมะพร้าว จ.ประจวบคีรีขันธ์ นำตัวแทนครือข่ายชาวสวนฯกว่า 100 คน ติดตั้งป้ายขนาดใหญ่ 8 จุดบริเวณริมถนนสายท่าหล่อ – หนองระแวง พื้นที่ ต.ธงชัย ต.กำเนิดนพคุณ อ.บางสะพาน โดยมีข้อความที่แสดงถึงสาเหตุความล้มเหลว ในการบริหารจัดการสินค้ามะพร้าวของเกษตรกรทั่วประทศต่อเนื่องนานหลายปี โดยเฉพาะ จ.ประจวบคีรีขันธ์ซึ่งมีพื้นที่ปลูกมากที่สุด ภายหลังเครือข่ายเกษตรกรฯมีข้อเรียกร้องถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อขอให้เออกมาตรการควบคุมให้ชัดเจน แต่ปัจจุบันยังมีปัญหาจากการลักลอบนำเข้ามะพร้าวเถื่อนที่มีการปนเปื้อนของแมลงศัตรูพืช
นายพงษ์ศักดิ์ กล่าวว่า ขณะนี้มีการบาดของหนอนหัวดำขยายวงกว้างจากกรณีนายทุนซื้อสวนมะพร้าวไว้แต่ไม่ได้รับผิดชอบดูแลสวน ทำให้มีผลกระทบกับสวนมะพร้าวแปลงข้างเคียง แม้ว่าเจ้าของสวนจะดูแลรักษาดีอย่างไรก็ยังมีปัญหา โดยเฉพาะสวนมะพร้าวอินทรีย์ในพื้นที่ ต.ธงชัย ที่ผลผลิตมีราคาสูงถึงผลละ26 บาท และมีตลาดส่งออกต่างประเทศรองรับ ทำให้ชาวสวนมะพร้าวอินทรีย์บางรายต้องใช้ยาฉีดป้องกันแมลงโดยการเจาะลำต้นมะพร้าว และจะหมดโอกาสในการขายผลผลิตไปต่างประเทศนาน 3 ปี ขณะที่ยาฉีดจะหมดอายุภายใน 6 เดือนเท่านั้น
“ เครือข่ายชาวสวนไม่ได้เรียกร้องของบประมาณเพื่อช่วยเหลือ แต่ขอเรียกร้องให้รัฐมนตรีว่ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์เร่งพิจารณาออกกฎกระทรวงเพื่อบังคับให้เจ้าของสวนที่ปล่อยทิ้งร้างเป็นแหล่งสะสมของแมลงจัดการปัญหาก่อนถึงฤดูแล้งช่วงที่แมลงระบาดอย่างหนัก หากไม่สนใจตามระยะเวลาที่เหมาะสมเจ้าหน้าที่เกษตรอำเภอสามารถเข้าไปดำเนินการตามกฎหมายได้ทันทีเพื่อป้องกันการระบาดเพิ่มทั้งการเรียกค่าเสียหายเพื่อชดเชยให้เจ้าของสวนข้างเคียง ขณะที่การใช้งบของกระทรวงเกษตรฯที่ผ่านมามีการใช้งบกว่า 1,000 ล้านบาท เพื่อเจาะลำต้นมะพร้าวฉีดสารเคมี 2 รอบแต่ยังไม่ได้แก้ปัญหาในระยาว”นายพงษ์ศักดิ์ กล่าว
แกนนำเครือข่าย กล่าวอีรกว่า หากมะพร้าวในประเทศในแหล่งปลูกสำคัญที่ อ.บางสะพาน อ.ทับสะแก โดนแมลงระบาดหนักทำให้ผลผลิตเหลือน้อย กลุ่มทุนเจ้าของโรงงานผลิตกะทิก็จะได้รับประโยชน์จากข้ออ้างในการนำเข้ามะพร้าวนอกเพิ่ม จะทำให้มีปัญหาทับซ้อนในการแก้ไขปัญหาจากกลไกด้านราคาที่ชาวสวนประสบวิกฤตนานกว่า 2 ปี ที่ผ่านมาได้ยื่นหนังสือหลายครั้ง ผ่านหลายหน่วยงาน ยื่นผ่าน สส.ในพื้นที่ตั้งแต่วันที่ 30 สิงหาคม 2562 ยื่นผ่านศูนย์ดำรงธรรมบางสะพานวันที่ 18 ตุลาคม 2562 เดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมายื่นผ่านสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้แก้ไขปัญหากรรระบาดของแมลง แต่ยังไม่มีการตอบรับ ไม่มีใครลงมาพุดคุยหาทางแก้ปัญหา
“ สำหรับการขึ้นป้ายประท้วงอยู่ในที่ดินของชาวสวนไม่บดบังภูมิทัศน์ริมถนน เป็นการแสดงออกให้เห็นว่าปัญหายังไม่ได้รับการแก้ไข และเป็นความรับผิดชอบของรัฐบาลจะต้องให้ความสนใจ ขณะที่หน่วยงานระดับจังหวัดมักจะอ้างว่าทราบข้อมูลทั้งหมดแล้วแต่ยังไม่มีแผนในการปฏิบัติให้เกิดผลเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะการออกใบกำกับเคลื่อนย้ายใน จ.ประจวบคีรีขันธ์ยังไม่มี ทั้งนี้เครือข่ายฯไม่ได้ห้ามนำเข้า หรือขอให้ปิดโรงงานกะทิ แต่การนำเข้ามะพร้าวนอกต้องเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายส่วนร่วมในการตัดสินใจ ไม่ควรปิดบังข้อมูล เนื่องจากในปี 2560 – 2561 นำเข้าเฉลี่ยเดือนละ 40 ล้านผล ทำให้มีปัญหากระทบผลผลิตในประเทศอย่างชัดเจน ”นายพงษ์ศักดิ์ กล่าว
แกนนำเครือข่าย ฯ กล่าวอีกว่า ล่าสุดรัฐมนตรีว่าการะทรวงพาณิชย์อนุมัติให้นำเข้าตามกรอบการค้าเสรีอาเซียนหรืออาฟต้า 3.2 หมื่นตันหรือ 26 ล้านผล ภาษี0 % แต่ไม่มีกฎระเบียบที่ชัดเจน ไม่ประกาศให้มะพร้าวเป็นพืชเศรษฐกิจเป็นความมั่นคงทางอาหาร ไม่มีแนวทางทำให้ราคาในประเทศคุ้มกับต้นทุนการผลิต อย่าให้ต่ำกว่าผลละ 15 บาท และหากราคามีความยั่งยืน ยืนยันว่าชาวสวนมีความพร้อมจะพัฒนาคุณภาพผลผลิตโดยไม่ต้องใช้งบของทางราชการเข้ามาส่งเสริม
พิสิษฐ์รื่นเกษมข่าว จังหวัดประจวบคีรีขันธ์