วันเสาร์, 16 พฤศจิกายน 2567

เชียงใหม่”สืบสานพระพุทธศาสนา”สร้างอุโบสถ

สืบสานพระพุทธศาสนาสร้างอุโบสถฉลองสัญญาบัตรพัดยศวัดต้นโชค


12 มกราคม 2563 เวลา 0909 น เพื่อเป็นการสืบสานพระพุทธศาสนา วัดต้นโชค บ้านต้นโชค ตำบลหนองบัว อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ ได้จัดสร้างพระอุโบสถพุทธเจดีย์ศรีมหาโชค โดยคณะศรัทธาธรรมร่วมในการจัดสร้างงบประมาณที่มากกว่า 9 ล้านบาท เพื่อใช้ในการประกอบพิธีทางพระพุทธศาสนาในชุมชน และพระครูสุทธิวนาพิทักษ์ เจ้าอาวาสได้รับสัญญาบัตรพัดยศและตราตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลหนองบัว จึงได้ทำการทำบุญสืบชะตาหลวงในตำบลและฉลองทั้งอุโบสถและตราตั้งพัดยศพร้อมๆกัน ซึ่งมีเจ้าภาพร่วมในการสร้างอุโบสถถวาย โดยมีคุณอุฬาร คุณมลทิพย์ ชูศิริ ร่วมสมทบเงินจำนวน 4,500,000 บาท คุณเสถียร คุณมาลี โตเขียว ร่วมสมทบเงินจำนวน 2,500,000 บาท คุณแม่สองเมือง จินดาหลวง,คุณไพฑูรย์ วรรณวิจิตร,คุณพงษ์วิษณุ วิภิญโญ,คุณสอน คุณชุติมา มั่นคงเจริญยิ่ง,คุณไพศาล สุขเจริญ,คุณหมอสุวรรณ อุตมะแก้ว,คุณรุ่งทิวา ใจมาทอง,คุณโชติวัฒน์ คุณวรศิลป์ สุวรรณ,คุณวรรณา เลิศเกียรติดำรง,คุณสมศักดิ์ วีระนิติกุล,คุณยงยุทธ รุ่งเรืองฤทธิชัย ทุกท่านร่วมสมทบเงินจำนวน 100,000 บาท และ คุณธนวน โตเขียว ร่วมสมทบเงินจำนวน 50,000 บาท คุณริราพงศ์ พฤทธิมุททากุล,คุณสมเพชร กลุ่มธนาคารกรุงไทย ร่วมสมทบเงินจำนวน 35,000 บาท และยังมีอีกหลายรายที่ร่วมทำบุญสร้างพระอุโบสถพุทธเจดีย์ศรีมหาโชค

ในวันนี้เป็นวันที่ดีจึงได้ทำการนิมนต์พระสงฆ์และเกจิอาจารย์ดังล้านนา จำนวน 109 รูปมาร่วมในการสวดพระพุทธมนต์และสืบชตาหลวง ทำบุญมอบพระอุโบสถพุทธเจดีย์ศรีมหาโชคพร้อมฉลองสัญญาบัตรพัดยศและตราตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลหนองบัว พระครูสุทธิวนาพิทักษ์ ในวันนี้โดยมีพระอดุลยธรรมโสภิต รองเจ้าเจ้าคณอำเภอฝาง (พระพรรษามากที่สุดในสามอำเภอ) พระครูดอกเตอร์สุจิตตารักษ์ เจ้าคณะอำเภอฝาง พระครูวิธานธรรมโสภณ เจ้าคณะอำเภอแม่อาย พระครูดอกเตอร์สถิตธรรมภิรักษ์ เจ้าคณะอำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานฝ่ายสงฆ์และนายอุทัย สอนจีน ปลัดอาวุโสทำการแทนนายอำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานฝ่ายฆารวาส นายขจรศักดิ์ วงศ์สุข ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอไชยปราการ นายสุชาติ บัวคำ นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลปงตำ นายสมเจตน์ สุวรรณ์ นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลหนองบัว นายบุญมา กิติใจ อดีต นายก อบต.ศรีดงเย็น อดีต สจ.จังหวัดเชียงใหม่ มาร่วม ในงานสืบชะตาหลวงวันนี้ มีชาวบ้านมาร่วมในงานนี้จำนวนมากกว่า 3,000 คน เพราะชาวบ้านล้านนาเชื่อว่าจะเป็นมงคลอันดีและทำให้ผู้ที่ได้มาร่วมในงานมหามงคลได้รับแต่สิ่งที่ดีเข้ามาในชีวิตและผู้ที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมนี้จะรับแต่โชคดีตลอดไป

นายสำราญ แสงสงค์/เชียงใหม่

Loading