กาญจนบุรี กลุ่มอนุรักษ์สัตว์วงศ์แมวนานาชาติ ประเทศไทย เข้าพบ หน.เขตฯสลักพระ นำเสนอความก้าวหน้าของโครงการวิจัย และพิจารณาหาแนวทางร่วมกันเพื่อเสริมการปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น และเพื่อเฝ้าระวังและป้องกันภัยคุกคามที่อาจจะเกิดขึ้นกับเสือโคร่ง ที่พบครั้งแรก
จากกรณี นายไพฑูรย์ อินทรบุตร หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ จ.กาญจนบุรี ได้รายงาน การพบเสือโคร่งในพื้นที่เขตฯ จากการตั้งกล้องดักถ่ายสัตว์ป่างานวิจัย จากองค์กรสัตววิทยาแห่งลอนดอน Zoological Society of London (ZSL)
![](https://www.newsreportnakhonpathominside.com/wp-content/uploads/2020/03/2E0A3118-1FBB-4AC2-9F34-46CCA4BB5D10-600x338.jpeg)
integtime=1620 A=281 D=281
flashCrossoverCdS=200.00
derivativeClipNormal=6
chargeFlashTarget=250.00
delayBetweenImagesFlash=15
delayBetweenImagesDaylight= 1.00
jpegCompressionRatio=12
Temperature= 18.12
ImageCount=2062
โดยเมื่อวันนี่ 27 ก.พ. 2563 ทางทีมงาน ZSL ได้นำภาพบันทึกจากกล้องดักถ่ายโครงการเสือโคร่งมาลงบันทึกไว้ที่ห้องข้อมูล ในจำนวนภาพทั้งหมดได้พบเสือโคร่งจำนวน 3 ตัว จากการตรวจสอบฐานข้อมูลต่าง ๆ ประกอบกับสถานีวิจัยสัตว์ป่าเขานางรำ จ.อุทัยธานี ปรากฏว่าเสือโคร่งทั้ง 3 ตัว ที่พบ มีรายละเอียดดังนี้
ตัวแรก รหัส HKT270M (Male) เป็นภาพถ่ายเสือโคร่งเพศผู้ พบบริเวณพื้นที่หน่วยพิทักษ์ป่าห้วยแม่ปลาสร้อย เป็นเสือที่มาจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ห้วยขาแข้ง, ตัวที่สอง รหัส TWT130M (Male) เป็นภาพถ่ายเสือโคร่งเพศผู้ พบบริเวณพื้นที่หน่วยพิทักษ์ป่าห้วยล้อ เป็นเสือที่มาจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ด้านตะวันตก
และตัวที่ 3 รหัส SLT001M (Male) เป็นภาพถ่ายเสือโคร่งเพศผู้ ที่พบเจอใหม่ในบริเวณพื้นที่หน่วยพิทักษ์ป่าสลักพระ(เขาเสือ) เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ เจ้าหน้าที่ ZSL จึงได้ตั้งชื่อเสือโคร่ง ตัวใหม่นี้ว่า SLT001M (สลักพระไทเกอร์001) โดยได้พบเจอที่เขตฯ สลักพระเป็นครั้งแรก และไม่ปรากฏว่าพบเจอที่ใดมาก่อน
ล่าสุดวันนี้ 12 มี.ค.63 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า น.ส.กฤษณา แก้วปลั่ง ผอ.องค์กรแพนเทอรา(PENTHERA)ประเทศไทย พร้อมด้วยนายอเล็กซานเดอร์ ก็อดฟรีย์ ผู้จัดการโปรแกรม แพนเทอรา(PENTHERA) ประเทศไทย รวมทั้งทีมงาน Panthera – กลุ่มอนุรักษ์สัตว์วงศ์แมวนานาชาติ ประเทศไทย เข้าพบนายไพฑูรย์ อินทรบุตร ที่สำนักงานเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ หมู่ 4 ต.วังด้ง อ.เมือง จ.กาญจนบุรี เพื่อนำเสนอความก้าวหน้าของโครงการวิจัย และพิจารณาหาแนวทางร่วมกันเพื่อเสริมการปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น และเพื่อเฝ้าระวังและป้องกันภัยคุกคามที่อาจจะเกิดขึ้นกับเสือโคร่ง ที่พบ
ทั้งนี้ น.ส.กฤษณา แก้วปลั่ง ผอ.องค์กรแพนเทอรา(PENTHERA)ประเทศไทย เปิดเผยภายหลังว่า การพบเสือโคร่งครั้งแรกในเขตฯสลักพระ ในฐานะคนทำงานก็รู้สึกตื่นเต้น หนึ่งก็คือพบทีเดียวถึง 3 ตัว อีกทั้งเสือโคร่งทั้ง 3 ตัวยังเป็นเสือวัยรุ่นอีกด้วย โดยเสือ 1 ใน 2 ตัว มาจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแห้ง จ.อุทัยธานี และอีก 1 ตัวมาจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ด้านตะวันตก จ.กาญจนบุรี ส่วนเสือโคร่งตัวที่พบในเขตฯสลักพระครั้งแรก หากมีการศึกษาข้อมูลให้ครอบคลุม อาจจะทราบได้ว่าเสือโคร่งตัวนี้มาจากที่ใด
![](https://www.newsreportnakhonpathominside.com/wp-content/uploads/2020/03/8759B221-789B-4912-9746-33599A76241B-533x400.jpeg)
integtime=307 A=268 D=128
flashCrossoverCdS=200.00
RESERVED=0
AspectRatio=1.0000
derivativeClipNormal=6
RESERVED=0
chargeFlashTarget=270.00
delayBetweenImagesFlash=15
delayBetweenImagesDaylight= 1.00
holdOffTimeBetweenTriggers=0
jpegCompressionRatio=12
Temperature= 29.00
ImageCount=1482
และที่ตื่นเต้นอีกประการหนึ่งก็คือ มันทำให้เราเห็นเส้นทางการเดินทางของเสือในพื้นที่เชื่อมต่อกัน และนั่นหมายถึงว่างานในส่วนการป้องกันมีความเข้มแข็งขึ้น เพราะเสือสามารถเดินมาจากห้วยขาแข้ง และจากทุ่งใหญ่ฯมาถึงที่นี่ด้วยความปลอดภัย
แต่อย่างไรก็ตามเท่าที่ได้พูดคุยกัน เราก็ยังมีข้อกังวลเกี่ยวกับเรื่องการเข้าพื้นที่ไปล่าสัตว์ รวมทั้งเรื่องของปศุสัตว์ ดังนั้นเราต้องการที่จะขอความร่วมมือไปยังชาวบ้านในพื้นที่ช่วยกันเป็นหูเป็นตา หากพบเจอเสือก็ขอให้รีบส่งข่าวให้เจ้าหน้าที่ทราบโดยเร็ว
สำหรับประชากรเสือโคร่งทั้งประเทศในปัจจุบันนั้นพบว่า ที่ห้วยขาแห้ง และทุ่งใหญ่นเรศวรฯ มีมากที่สุด และอันที่จริงจากการพูดคุยเราก็อยากให้พื้นที่ป่าอนุรักษ์ เป็นเหมือนมรดกโลก ไล่มาตั้งแต่อุทยานฯเขื่อนศรีนครินทร์ อุทยานฯเฉลิมรัตนโกสินทร์ อุทยานฯไทรโยค มาถึงเขตฯสลักพระ ซึ่งจากเป็นพื้นที่กระจายของเสือโคร่งที่มาจากทุ่งใหญ่ฯและห้วยขาแข้ง เพราะเขตฯทุ่งใหญ่ฯและเขฯห้วยขาแข้งมีจำนวนเสือโคร่งมากที่สุด ซึ่งเสือโคร่งทั้ง 3 ตัวที่พบ จะเป็นเครื่องพิสูจน์ได้ว่านี่คือพื้นที่ป่าเชื่อมต่อที่สำคัญ
ถามว่าเราจะสามารถเพิ่มประชากรของเสือโคร่งได้อย่างไร เรื่องนี้มันขึ้นอยู่กับประชากรของเหยื่อ เพราะปัจจุบันยังมีการล่าสัตว์ป่ากันอยู่ จึงทำให้ประชากรเหยื่อของเสือโคร่งลดน้อยลง แต่จากการศึกษาประชากรเหยื่อพบว่าปัจจุบันนี้ยังมีเพียงพอ แต่ในอนาคตข้างหน้ายอมรับว่าเรายังไม่รู้ เพราะฉะนั้นเราจะต้องลดปัจจัยคุกคามนั่นก็คือการล่าสัตว์ป่า
ด้านนายอเล็กซานเดอร์ ก็อดฟรีย์ ผู้จัดการโปรแกรม แพนเทอรา(PENTHERA) ประเทศไทย เปิดเผยว่า เราเข้ามาสำรวจประชากรเสือโคร่งในเขตฯสลักพระได้ประมาณ 4-5 ปีแล้วโดยสำรวจมาเรื่อยๆ และมาในปีนี้เราได้เพิ่มระดับการสำรวจให้ใหญ่ขึ้น จนกระทั่งพบเสือโคร่ง 3 ตัว ซึ่งมันมีอยู่ 2 ตัวที่มาจากพื้นที่มรดกโลก คือจากห้วยขาแข้งและเขตฯทุ่งใหญ่ด้านตะวันตก ส่วนเสือโคร่งตัวที่เราเรียก รหัส SLT001M (Male)เป็นเสือโคร่งตัวใหม่ที่ไม่เคยพบมาก่อน และในขณะนี้เรากำลังติดตามประชากรเสือโคร่งในเขตฯสลักพระอยู่
ส่วนนายไพฑูรย์ อินทรบุตร หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ เปิดเผยว่าการที่คณะทีมงาน แพนเทอรา(PENTHERA) ประเทศไทย ที่เป็นกลุ่มอนุรักษ์สัตว์วงศ์แมวนานาชาติ ได้เข้ามาทำงานด้านวิจับเพื่อให้เห็นความสมบูรณ์ของป่า และการมาพบในครั้งนี้เขามีจุดประสงค์ที่จะเข้ามาช่วยซัพพอร์ตในเรื่องของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติโดยเฉพาะเรื่องประชากรของเสือ รวมทั้งเรื่องของสัตว์ป่าที่มีสิทธิ์ใกล้ที่จะสูญพันธุ์ หรือสัตว์ป่าที่โดนคุกคาม
ถามว่าการพบเสือโคร่งครั้งแรกในพื้นที่เขตฯสลักพระ จะมีแนวทางป้องกันอย่างไรนั้น ทางเราจะทำการประชาสัมพันธุ์เมื่อมีการประชุมหมู่บ้านเราก็จะแจ้งให้ประชาชนได้รับทราบข้อมูล ส่วนการป้องการเราได้มีการจัดทีมเดินลาดเวนในเชิงคุณภาพ ที่กรมอุทยานแห่งชาติฯโดยท่านอธิบดีฯธัญญา เนติธรรมกุล ที่ให้ความสำคัญในการลาดตระเวนในเชิงคุณภาพซึ่งเป็นงานหลักของกรมให้มีความเข้มแข็ง ด้วยการพยายามวางกำลังให้รัดกุมในโซนที่เจอเสือโคร่ง รวมทั้งส่วนอื่นๆที่อาจจะมีภัยคุกคามเข้ามาด้วย และนอกจากนี้เรายังใช้เชิงทางวิทยาศาสตร์เข้ามาช่วย เช่นดูภาพจากกล้องดักถ่าย เพื่อดูภัยคุกคามและดูเรื่องของสัตว์ป่า เพื่อนำมาวางแผนให้มีประสิทธิภาพที่สูงขึ้น
สำหรับพฤติกรรมของเสือมักจะไม่ออกนอกพื้นที่ ยกเว้นปศุสัตว์บางจุด ที่ชาวบ้านนำสัตว์เลี้ยงลักลอบเข้าไปเลี้ยงโดยผิดหมาย ซึ่งเราจะพยายามผลักดันให้ชาวบ้ายนำสัตว์เลี้ยงออกนอกพื้นที่ เพราะการปศุสัตว์จะทำให้มีปัญหา เพราะการล่าเหยื่อของเสีอ เสือจะมองว่าปศุสัตว์เป็นเหยื่อที่ล่าง่ายที่สุด ยกเว้นเหยื่อที่เป็นสัตว์ป่าจะมีมากก็ตาม
ซึ่งเราจะประชาสัมพันธุ์ให้ชาวบ้านทราบว่าการที่เข้าไปใช้พื้นที่เลี้ยงปศุสัตว์โดยผิดกฎหมายอยู่แล้ว จะต้องนำสัตว์เลี้ยงออกนอกพื้นที่เพื่อลดการสูญเสียของสัตว์เลี้ยงรวมทั้งตัวชาวบ้านเองด้วย และนอกจากนี้ยังเป็นการลดการปะทะกับเสือโคร่งด้วย อย่างหนึ่งที่อยากจะบอกให้ชาวบ้านได้เข้าใจว่า การที่เสือมานั้นไม่ใช่ว่าจะเกิดอันตรายกับคน เพราะเสือเขาไม่ได้มาคุกคามคน แต่เสือจะมาล่ากินสัตว์ในพื้นที่มากกว่า และการที่พบเสือจะทำให้มองเห็นว่าศักภาพของจังหวัดกาญจนบุรี มีความเข้มแข้งที่มีป่าที่สมบูรณ์ขึ้น และที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่ของเราก็คอยปราม และคอยติดตามรวบรวมรายชื่อของชาวบ้านที่เลี้ยงปศุสัตว์ รวมทั้งรายชื่อภัยคุกคาม เพื่อนำเสนอให้กับฝ่ายความมั่นคงต่อไป.
ปรีชา ไหลวารินทร์ / กาญจนบุรี
ขอบคุณแหล่งที่มาภาพ/ข่าวเจ้าของภาพ