วันอังคาร, 21 มกราคม 2568

เดอะโอ๋”ลงพื้นที่จว.ชัยนาทตรวจสถานประกอบการที่ได้รับการผ่อนปรน

เดอะโอ๋ !!! ลงพื้นที่จว.ชัยนาทตรวจสถานประกอบการที่ได้รับการผ่อนปรนให้เปิดกิจการตามคำสั่ง พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯฉบับที่ 5 และ 6

วันนี้ 7 พ.ค.2563 ที่ร้านอาหารลาบเป็ดชัยนาท อ.เมือง จว.ชัยนาท พล.ต.ต.ธนายุตม์ วุฒิจรัสธำรงค์ รอง ผบช.ภ.1 / เอราวัณ 3 ลงพื้นที่ตรวจสถานประกอบการที่ได้รับการผ่อนปรนให้เปิดกิจการตามคำสั่ง พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯฉบับที่ 5 และ 6 ตามคำสั่งศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง ภ.1 (ศปม.ภ.1)ที่ 1/2563 เรื่อง การแบ่งมอบหมายอำนาจหน้าที่รับผิดชอบให้รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 1 โดยมอบหมายให้ พล.ต.ต.ธนายุตม์ วุฒิจรัสธำรงค์ รอง ผบช.ภ.1 เป็นผู้ควบคุมการปฏิบัติของจุดตรวจควบคุมการแพร่ระบาดโควิด-19 รับผิดชอบพื้นที่ ภ.จว.สระบุรี และ ภ.จว.ชัยนาท โดยมี พล.ต.ต.ระพีพงษ์ สุขไพบูลย์ผบก.ภ.จว.ชัยนาท พ.ต.อ.ธนดล แก้วอุบล รอง ผบก.ภ.จว.ชัยนาท พ.ต.อ.รัชพล ชนะศรีขจร รอง ผบก.ภ.จว.ชัยนาท พ.ต.อ.ฤทธินันท์ ปุ้ยพันธวงศ์ รอง ผบก.ภ.จว.ชัยนาท พ.ต.อ.ธีระชัย เด็ดขาด รอง ผบก.ภ.จว.ชัยนาทพ.ต.อ.ปฏิกรณ์ หาญหัตถกิจ ผกก.สภ.เมืองชัยนาท น.ส.ชวิศา วงศ์สังข์ เจ้าของร้านลาบเป็ดชัยนาทพร้อมด้วยข้าราชการตำรวจในสังกัด ,ฝ่ายปกครอง ,ทหาร และเจ้าหน้าที่สาธารณะสุข ร่วมตรวจ
พล.ต.ต.ธนายุตม์ กล่าวว่า ผลการตรวจร้านอาหารลาบเป็ดชัยนาท ดำเนินตามมาตราการ Social Distancing โดยคณะผู้ตรวจได้แนะนำ และตักเตือนได้แจ้งเพื่อทำความเข้าใจกับผู้ประกอบการ/ผู้ดูแลดังนี้
-การเตรียมสถานที่และอุปกรณ์ป้องกันโรค 1. ให้จัดจุดบริการล้างมือด้วยสบู่ ,แอลกอฮอล์เจล ,น้ำยาฆ่าเชื้อ โดยให้จัดเตรียมให้สามารถให้บริการได้ทุกวัน 2. จัดพื้นที่รอคิวรับอาหารแยกจากส่วนนั่งรับประทานอาหาร และมีระยะห่างระหว่างบุคคล อย่างน้อย 1 เมตร 3. จัดให้มีระยะห่างระหว่างโต๊ะ และระหว่างที่นั่ง รวมถึงระยะห่างระหว่างการเดิน อย่างน้อย 1 เมตร โดยจัดให้ไม่นั่งตรงข้ามกัน ไม่พูดคุยเสียงดัง หรือหัวเราะเสียงดัง 4.พิจารณาจัดทำฉากกั้น ระหว่างผู้รับประทานอาหาร 5.ทำสัญลักษณ์เว้นระยะห่างของจุดบริการ เช่น จุดบริการชำระเงิน จุดบริการสั่งอาหาร 6.พื้นที่ปรุงอาหารให้มีการแยกภาชนะ อุปกรณ์ปรุง หรือประกอบอาหาร เช่น เขียง มีด ระหว่าง อาหารสุกและอาหารดิบ และไม่ปรุงหรือประกอบอาหารใกล้ห้องน้ำ ห้องส้วม7.จัดเตรียมภาชนะและอุปกรณ์ในการรับประทานส่วนบุคคลให้กับลูกค้า และไม่ใช้อุปกรณ์ร่วมกัน เช่น เครื่องปรุง เกลือป่น ซอสปรุงรสต่าง ๆ เป็นต้น 8.จัดให้มีอุปกรณ์ตรวจคัดกรองอุณหภูมิร่างกายสำหรับผู้ที่จะใช้บริการ และจัดหาอุปกรณ์ป้องกันโรค เช่น หน้ากากอนามัย ,เฟสชีล ให้แก่พนักงานทุกคน 9. อาจพิจารณาให้มีระบบจองคิวออนไลน์หรือจองคิวหน้าร้าน โดยกำหนดเวลาในการเข้าบริการ อย่างชัดเจน รวมทั้งการชำระเงินค่าบริการผ่านระบบออนไลน์ หรือ QR code ผ่าน แอปพลิเคชั่น

-การเตรียมความพร้อมในการให้บริการ 1.ก่อนเปิดให้บริการทุกวัน ให้มีการตรวจคัดกรองอาการป่วย ไข้ ไอ จาม หรือเป็นหวัดสำหรับพนักงานทุกคน กรณีพบผู้ที่มีอุณหภูมิร่างกายสูงกว่า 37.5 องศาเซลเซียส ให้หยุดงาน และสังเกต อาการตนเองที่บ้าน ,กรณีที่พบพนักงานบริการป่วยด้วยอาการทางเดินหายใจให้งดปฏิบัติงานจนกว่าอาการดีขึ้น 2.จัดให้มีการประชาสัมพันธ์ เพื่อแจ้งมาตรการป้องกันควบคุมโรค ให้กับผู้ประกอบการ ร้านค้าย่อย และผู้ใช้บริการทราบ 3.จัดให้มีการคัดกรองอาการป่วย ไข้ ไอ จาม หรือเป็นหวัด สำหรับผู้ใช้บริการก่อนเข้าร้าน 4.พิจารณาจัดให้มีการเหลื่อมเวลาการให้บริการ ด้วยระบบคิว เพื่อลดความแออัด รวมทั้งลด เวลาในการให้บริการให้สั้นลงเท่าที่จำเป็น 5.หากชำระด้วยเงินสด ต้องไม่สัมผัสมือโดยตรง 6.พนักงานทุกคน ต้องสวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย ระหว่างให้บริการ ตลอดจน รักษาระยะห่างระหว่างผู้ใช้บริการ อย่างน้อย 1 – 2 เมตร และยืนห่างจากพนักงานคนอื่นอย่างน้อย 1 – 2 เมตร 7.จัดหากระดาษหรือมุมไว้ยังจุดสั่ง-การสั่งอาหารตามสั่งเพื่อลดการสัมผัสจากการพูดคุย โดยตรง 8 ผู้ปรุงอาหารทุกคน ให้สวมผ้ากันเปื้อน หมวกคลุมผมตลอดการทำอาหาร รวมทั้งพิจารณา สวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย และอุปกรณ์ป้องกันละอองฝอยน้ำลายใส่อาหาร และ ให้ล้างมือทุกครั้งก่อนปรุงอาหาร รวมทั้งทำความสะอาดครัวอยู่เสมอ 9.กรณีผู้สัมผัสอาหารที่มีบาดแผลต้องปิดแผลให้มิดชิด หลีกเลี่ยงการปฏิบัติงานที่ต้องสัมผัสอาหาร โดยตรง ถ้าไม่สามารถหยุดปฏิบัติงานได้ ควรเลี่ยงไปปฏิบัติงานหน้าที่อื่นแทนจนกว่า บาดแผลจะหายสนิท จึงกลับมาปฏิบัติงานตามปกติ 10.พิจารณาให้บริการเมนูปรุงสุกเป็นชุดสำหรับรับประทานคนเดียว และให้บริการอาหารที่ สะอาดปลอดภัย 11.ร้านอาหารอาจพิจารณางดให้บริการ กรณีพบผู้ใช้บริการที่ไม่สามารถปฏิบัติตามมาตรการ ป้องกันควบคุมโรค หรือมีอาการป่วยจากการคัดกรองก่อนเข้าร้านอาหาร

-การทำความสะอาด 1.ทำความสะอาดเมนู ที่ใส่เงินทอนและพื้นที่จุดร่วมสัมผัส เช่น ประตู ลูกบิด ห้องน้ำ อยู่เสมอ 2.จัดบริการอ่างล้างมือพร้อมสบู่ หรือ เจลแอลกอฮอล์สำหรับทำความสะอาดมือ ไว้ยังจุดสั่ง-รับอาหาร 3.ล้างหรือเช็ดอุปกรณ์ด้วยน้ำยาทำความสะอาดหรือน้ำยาฆ่าเชื้อทุกครั้งที่ให้บริการลูกค้า แต่ละราย 4.ดูแลสถานที่ปรุงประกอบอาหาร บริเวณพื้น โต๊ะที่นั่ง บริเวณที่รับประทานอาหารให้สะอาด อยู่เสมอโดยทำความสะอาดด้วยน้ำยาทำความสะอาดฆ่าเชื้อ 5.จัดให้มีถังขยะใส่ถุงรองรับกระดาษชำระใช้แล้วในทุกโต๊ะ และให้กำจัดขยะมูลฝอยทุกวัน 6.หากพบว่าผู้ปฏิบัติงานในร้าน เป็นผู้ป่วยยืนยัน หรือมีข้อมูลบ่งชี้ว่าร้านอาจเป็นจุดแพร่เชื้อได้ ให้เจ้าของร้านปิดร้านตามคำสั่งของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ พร้อมทั้งทำความ สะอาดสถานที่ และดำเนินการตามประกาศของกรมควบคุมโรค

Loading