เดอะโอ๋!!! ลงพื้นที่ ตรวจร้านอาหารเดอะบ๊อกซ์ อ.เมืองสิงห์บุรี จว.สิงห์บุรี ภ.จว.สิงห์บุรี สถานประกอบการที่ได้รับการผ่อนปรนให้เปิดกิจการตามคำสั่ง พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ
ร้านอาหารเดอะบ๊อกซ์ อ.เมืองสิงห์บุรี จ.สิงห์บุรี พล.ต.ต.ธนายุตม์ วุฒิจรัสธำรงค์ รอง ผบช.ภ.1 / เอราวัณ 3 ลงพื้นที่ตรวจสถานประกอบการที่ได้รับการผ่อนปรนให้เปิดกิจการตามคำสั่ง พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ฉบับที่ 5 และ 6 ณ ร้านอาหารเดอะบ๊อกซ์ อ.เมืองสิงห์บุรี จ.สิงห์บุรี ตามคำสั่ง ศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง ภ.1 (ศปม.ภ.1)ที่ 1/2563 เรื่อง การแบ่งมอบหมายอำนาจหน้าที่รับผิดชอบให้รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 1 โดยมอบหมายให้ พล.ต.ต.ธนายุตม์ วุฒิจรัสธำรงค์ รอง ผบช.ภ.1 เป็นผู้ควบคุมการปฏิบัติของจุดตรวจควบคุมการแพร่ระบาดโควิด-19 รับผิดชอบพื้นที่ ภ.จว.พระนครศรีอยุธยา และ ภ.จว.สิงห์บุรี โดยมี พล.ต.ต.ชัยต์พจน์ สุวรรณรักษ์ ผบก.ภ.จว.สิงห์บุรี พ.ต.อ.สุทธิศักดิ์ วันที รอง ผบก.ภ.จว.สิงห์บุรี พ.ต.อ.เมธาพงษ์ บุญศรี ผกก.สภ.เมืองสิงห์บุรีนายพศวัต ยิ่งคิด เจ้าของร้านเดอะบ๊อกซ์ พร้อมด้วยข้าราชการตำรวจในสังกัด,ฝ่ายปกครอง,ทหาร และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ร่วมตรวจผลการตรวจร้านดำเนินตามมาตรการ Social Distancing โดยคณะผู้ตรวจได้แนะนำและตักเตือน ได้แจ้งเพื่อทำความเข้าใจกับผู้ประกอบการ/ผู้ดูแลดังนี้
พล.ต.ต.ธนายุตม์ วุฒิจรัสธำรงค์ รอง ผบช.ภ.1 / เอราวัณ 3 ได้กล่าวแนะนำถึง การเตรียมสถานที่และอุปกรณ์ป้องกันโรค ให้จัดจุดบริการล้างมือด้วยสบู่ ,แอลกอฮอล์เจล ,น้ำยาฆ่าเชื้อ โดยให้จัดเตรียมให้สามารถให้บริการได้ทุกวัน จัดพื้นที่รอคิวรับอาหารแยกจากส่วนนั่งรับประทานอาหาร และมีระยะห่างระหว่างบุคคล อย่างน้อย 1 เมตร จัดให้มีระยะห่างระหว่างโต๊ะ และระหว่างที่นั่ง รวมถึงระยะห่างระหว่างการเดิน อย่างน้อย 1 เมตร โดยจัดให้ไม่นั่งตรงข้ามกัน ไม่พูดคุยเสียงดัง หรือหัวเราะเสียงดัง พิจารณาจัดทำฉากกั้น ระหว่างผู้รับประทานอาหาร ทำสัญลักษณ์เว้นระยะห่างของจุดบริการ เช่น จุดบริการชำระเงิน จุดบริการสั่งอาหาร พื้นที่ปรุงอาหารให้มีการแยกภาชนะ อุปกรณ์ปรุง หรือประกอบอาหาร เช่น เขียง มีด ระหว่าง อาหารสุกและอาหารดิบ และไม่ปรุงหรือประกอบอาหารใกล้ห้องน้ำ ห้องส้วม จัดเตรียมภาชนะและอุปกรณ์ในการรับประทานส่วนบุคคลให้กับลูกค้า และไม่ใช้อุปกรณ์ร่วมกัน เช่น เครื่องปรุง เกลือป่น ซอสปรุงรสต่าง ๆ เป็นต้น จัดให้มีอุปกรณ์ตรวจคัดกรองอุณหภูมิร่างกายสำหรับผู้ที่จะใช้บริการ และจัดหาอุปกรณ์ป้องกันโรค เช่น หน้ากากอนามัย ,เฟสชีล ให้แก่พนักงานทุกคน อาจพิจารณาให้มีระบบจองคิวออนไลน์หรือจองคิวหน้าร้าน โดยกำหนดเวลาในการเข้าบริการ อย่างชัดเจน รวมทั้งการชำระเงินค่าบริการผ่านระบบออนไลน์ หรือ QR code ผ่าน แอปพลิเคชั่น
พล.ต.ต.ธนายุตม์ กล่าวต่อว่า การเตรียมความพร้อมในการให้บริการ โดย ก่อนเปิดให้บริการทุกวัน ให้มีการตรวจคัดกรองอาการป่วย ไข้ ไอ จาม หรือเป็นหวัดสำหรับพนักงานทุกคน กรณีพบผู้ที่มีอุณหภูมิร่างกายสูงกว่า 37.5 องศาเซลเซียส ให้หยุดงาน และสังเกต อาการตนเองที่บ้าน ,กรณีที่พบพนักงานบริการป่วยด้วยอาการทางเดินหายใจให้งดปฏิบัติงานจนกว่าอาการดีขึ้น จัดให้มีการประชาสัมพันธ์ เพื่อแจ้งมาตรการป้องกันควบคุมโรค ให้กับผู้ประกอบการ ร้านค้าย่อย และผู้ใช้บริการทราบ จัดให้มีการคัดกรองอาการป่วย ไข้ ไอ จาม หรือเป็นหวัด สำหรับผู้ใช้บริการก่อนเข้าร้าน พิจารณาจัดให้มีการเหลื่อมเวลาการให้บริการ ด้วยระบบคิว เพื่อลดความแออัด รวมทั้งลด เวลาในการให้บริการให้สั้นลงเท่าที่จำเป็น หากชำระด้วยเงินสด ต้องไม่สัมผัสมือโดยตรง พนักงานทุกคน ต้องสวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย ระหว่างให้บริการ ตลอดจน รักษาระยะห่างระหว่างผู้ใช้บริการ อย่างน้อย 1 – 2 เมตร และยืนห่างจากพนักงานคนอื่นอย่างน้อย 1 – 2 เมตร จัดหากระดาษหรือมุมไว้ยังจุดสั่ง-การสั่งอาหารตามสั่งเพื่อลดการสัมผัสจากการพูดคุย โดยตรง ผู้ปรุงอาหารทุกคน ให้สวมผ้ากันเปื้อน หมวกคลุมผมตลอดการทำอาหาร รวมทั้งพิจารณา สวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย และอุปกรณ์ป้องกันละอองฝอยน้ำลายใส่อาหาร และ ให้ล้างมือทุกครั้งก่อนปรุงอาหาร รวมทั้งทำความสะอาดครัวอยู่เสมอ กรณีผู้สัมผัสอาหารที่มีบาดแผลต้องปิดแผลให้มิดชิด หลีกเลี่ยงการปฏิบัติงานที่ต้องสัมผัสอาหาร โดยตรง ถ้าไม่สามารถหยุดปฏิบัติงานได้ ควรเลี่ยงไปปฏิบัติงานหน้าที่อื่นแทนจนกว่า บาดแผลจะหายสนิท จึงกลับมาปฏิบัติงานตามปกติ พิจารณาให้บริการเมนูปรุงสุกเป็นชุดสำหรับรับประทานคนเดียว และให้บริการอาหารที่ สะอาดปลอดภัย ร้านอาหารอาจพิจารณางดให้บริการ กรณีพบผู้ใช้บริการที่ไม่สามารถปฏิบัติตามมาตรการ ป้องกันควบคุมโรค หรือมีอาการป่วยจากการคัดกรองก่อนเข้าร้านอาหาร
สำหรับในส่วน การทำความสะอาด ควรทำความสะอาดเมนู ที่ใส่เงินทอนและพื้นที่จุดร่วมสัมผัส เช่น ประตู ลูกบิด ห้องน้ำ อยู่เสมอ จัดบริการอ่างล้างมือพร้อมสบู่ หรือ เจลแอลกอฮอล์สำหรับทำความสะอาดมือ ไว้ยังจุดสั่ง-รับอาหาร ล้างหรือเช็ดอุปกรณ์ด้วยน้ำยาทำความสะอาดหรือน้ำยาฆ่าเชื้อทุกครั้งที่ให้บริการลูกค้า แต่ละราย ดูแลสถานที่ปรุงประกอบอาหาร บริเวณพื้น โต๊ะที่นั่ง บริเวณที่รับประทานอาหารให้สะอาด อยู่เสมอโดยทำความสะอาดด้วยน้ำยาทำความสะอาดฆ่าเชื้อ จัดให้มีถังขยะใส่ถุงรองรับกระดาษชำระใช้แล้วในทุกโต๊ะ และให้กำจัดขยะมูลฝอยทุกวัน หากพบว่าผู้ปฏิบัติงานในร้าน เป็นผู้ป่วยยืนยัน หรือมีข้อมูลบ่งชี้ว่าร้านอาจเป็นจุดแพร่เชื้อได้ ให้เจ้าของร้านปิดร้านตามคำสั่งของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ พร้อมทั้งทำความ สะอาดสถานที่ และดำเนินการตามประกาศของกรมควบคุมโรค