วันจันทร์, 23 ธันวาคม 2567

นครพนม”ชาวบ้านห้วยพระ”ยื่นหนังสือร้อง จนท.ละเว้น

นครพนม ชาวบ้านห้วยพระยื่นหนังสือร้อง  จนท.ที่ดินฯละเว้น กรณีการบริหารจัดการน้ำโขง เลย ชี มูล สงคราม อ้างแต่ข้อดีไม่มีข้อเสีย

วันที่ 22 สิงหาคม 2563 ณ ห้องประชุมพระธาตุพนม ชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดนครพนม นายพันธ์ ชมภูพระ ผู้ใหญ่บ้านห้วยพระ หมู่ 9 ต.ท่าจำปา อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม พร้อมด้วยชาวบ้านห้วยพระ หมู่ 9 หมู่ 14 เข้ายื่นหนังสือร้องเรียนต่อนายศักดา คงเพชร ประธานคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาแนวทางการบริหารจัดการกลุ่มลุ่มแม่น้ำโขง เลย ชี มูล สงคราม สภาผู้แทนราษฎร และนายแพทย์ประสงค์ บูรณ์พงศ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเสรีรวมไทย เพื่อขอความเป็นธรรม กรณีนายศิริสานนท์ กุลฉวะ รักษาราชการแทนเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดนครพนม สาขาท่าอุเทน ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ

กล่าวคือเมื่อปี พ.ศ.2532 อำเภอท่าอุเทนได้ออกใบจอง(น.ส.2) ให้แก่บุคคลที่ขาดคุณสมบัติในการจับจองที่ดิน อันเป็นการฝ่าฝืนระเบียบคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ ว่าด้วยการจัดที่ดินเพื่อประชาชน พ.ศ.2498 ต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ ซึ่งกรมสอบสวนคดีพิเศษมีความเห็นว่าอำเภอท่าอุเทน(ในสมัยนั้น) ออกใบจองฝ่าฝืนระเบียบคณะกรรมการแห่งชาติฯจริง จึงส่งเรื่องให้กรมที่ดินดำเนินการสอบสวนเพื่อเพิกถอนสิทธิ์ตามาตรา 61 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน

ต่อมาจังหวัดนครพนมสั่งให้สำนักงานที่ดินฯสาขาท่าอุเทน ตรวจสอบอย่างละเอียดพบว่ามีการออกใบจองให้แก่ผู้ขาดคุณสมบัติจริง และพบว่ามีการนำใบจองไปออกเป็นโฉนด และ น.ส.3 ก. จำนวนหลายแปลงนับพันไร่ โดยระบุชื่อบริษัทเกษตรปิยมิตร นอกจากนี้เอกสารสิทธิ์ที่ออกนั้นยังไปทับที่สาธารณประโยชน์ สำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันอีกด้วย

กรมที่ดินจึงมีหนังสือต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนความความในมาตรา 61 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2562 ประกอบด้วย 1.เจ้าพนักงานที่ดินฯ สาขาท่าอุเทน 2.นายอำเภอท่าอุเทน 3.นายก อบต.ท่าจำปา 4.ปฏิรูปที่ดินฯ และ 5.นายศิริสานนท์ นักวิชาการที่ดินชำนาญการ สำนักงานที่ดินฯสาขาท่าอุเทน เป็นทั้งกรรมการและเลขานุการ

หลังประชุมกันเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2563 คณะกรรมการจึงมีมติเป็นเอกฉันท์ เห็นควรให้เพิกถอนเอกสารสิทธิ์โฉนดที่ดิน,น.ส.3 ก. ของบริษัทเกษตรปิยมิตร และมอบให้นายศิริสานนท์ กุลฉวะ ในฐานะเลขาฯ ทำบันทึกพร้อมความเห็นของคณะกรรมการสอบสวน ต่ออธิบดีกรมที่ดินเพื่อพิจารณาสั่งการเพิกถอนตามกฎหมายและระเบียบกรมที่ดินต่อไป

นับจากวันนั้นถึงวันนี้เป็นเวลากว่า 4 เดือนแล้ว นายศิริสานนท์ กุลฉวะ กลับเพิกเฉยไม่นำเสนอบันทึกพร้อมความเห็นของคณะกรรมการสอบสวนไปยังอธิบดีฯ ซึ่งถือว่าเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่
ในทางกลับกันนายศิริสานนท์ กุลฉวะ ด้ทำหนังสือ ที่ นพ.0020.20/5852/5854/5856/5857 ลงวันที่ 7 สิงหาคม 2563 ถึงคณะกรรมการชุดสอบสวน เพื่อขอให้ทบทวนและรับรองรายงานการประชุมฯ ทั้งๆที่หมดกรอบเวลาของการทำงานของคณะกรรมการสอบสวนแล้ว และไม่มีระเบียบหรือกฎหมายใดให้อำนาจนายศิริสานนท์ กุลฉวะ กระทำการงดเว้น หรือขอให้ทบทวนมติที่ประชุมฯอีก จึงเป็นการเจตนาละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ อาจจะเข้าข่ายความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 อีกด้วย ตนในฐานะผู้นำชุมชนตลอดจนชาวบ้านทั้งหมู่ 9 หมู่ 14 บ้านห้วยพระ ได้รับความเดือดร้อนเสียหายจึงพากันมาร้องขอความเป็นธรรมดังกล่าว
ด้าน นายศักดา คงเพชร ประธานคณะอนุกรรมาธิการฯ ได้รับปากว่าจะรีบดำเนินการอย่างเร่งด่วน เพราะเป็นความเดือดร้อนของประชาชน ซึ่งในพื้นที่ก็มีนายแพทย์ประสงค์ บูรณ์พงศ์ รองประธานอนุกรรมาธิการฯ คนที่หนึ่ง อยู่ก็จะประสานกันทำงานเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน

จากนั้นก็เข้าสู่การประชุมร่วมระหว่างคณะอนุกรรมาธิการฯ จังหวัดนครพนม ผู้แทนส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง สื่อมวลชน และประชาชนทั่วไป โดย น.ส.ฉวี วงศ์ประสิทธิพร ผู้เชี่ยวชาญด้านยุทธศาสตร์ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ(สทนช.) บรรยาสรุปโครงการโขง เลย ชี มูล สงคราม ร่วมกับที่ปรึกษาบริษัทเอกชน โดยอ้างถึงข้อมูลว่าพื้นที่ในลำน้ำสงครามไม่เหมาะแก่การสร้างอ่างกักเก็บน้ำ สิ่งก่อสร้างที่เหมาะคือการสร้างประตูระบายน้ำ โดยในเขตจังหวัดนครพนมจะมีการสร้างประตูระบายน้ำ 2 แห่ง คือ 1.บ้านนาเพียง ต.ไชยบุรี อ.ท่าอุเทน และ 2.จุดบรรจบระหว่างแม่น้ำโขงกับแม่น้ำสงคราม บริเวณปากน้ำบ้านตาล ต.ไชยบุรี แต่มีเสียงโต้แย้งว่าเป็นการกีดขวางการอพยพของปลาในแม่น้ำโขงที่จะว่ายเข้าไปวางไข่ในลำน้ำสงคราม ซึ่งปัจจุบันถูกขึ้นทะเบียนเป็นแรมซาร์ไซต์ ลำดับที่ 15 และลำดับที่ 2420 ของโลก ซึ่งเปรียบเสมือนสาวน้อยบริสุทธิ์ มีป่าบุ่งป่าทามสำหรับอนุบาลสัตว์น้ำ ที่ยังไม่ถูกเทคโนโลยีสมัยใหม่คุกคาม จึงเป็นมดลูกในการเพาะพันธุ์ปลาแม่น้ำโขงที่ว่ายเข้าไปวางไข่

นอกจากนี้ น.ส.ฉวี วงศ์ประสิทธิพร กล่าวว่ายังจะนำสื่อมวลชนจากส่วนกลางมาสัญจรในสถานที่จริง โดยมองข้ามสื่อในพื้นที่ที่รู้ระบบนิเวศของแม่น้ำโขงและลำน้ำสาขาต่างๆ อาจจะเหมือนเมื่อช่วงต้นปี 2563 ที่ สทนช. นำสื่อส่วนกลางลงพื้นที่สำรวจแม่น้ำโขง โดยพาไปดูแต่ที่ดีๆสวยงาม แล้วก็นำเรื่องราวไปเขียนแต่มุมมองที่ดีเท่านั้น ทำให้สื่อในพื้นที่ไม่มีความเชื่อมั่นในการปฏิบัติงานของ สทนช.

เทพพนม รายงาน/ภาพ/ข่าว

Loading