พะเยา – “ศิลปะกับวิถีชุมชนคนแม่นาเรือ ภาพสามมิติบนแผ่นสังกะสี”สะท้อนอัตลักษณ์ชุมชน ร่วมกับ มจร.พะเยา
วันนี้ ( 8 กันยายน 2563 ) ที่ บ้านแม่นาเรือปง ม.16 ต.แม่นาเรือ อ.เมือง จ.พะเยา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา โดย ผศ.ดร.สหัทยา วิเศษ หัวหน้าโครงการวิจัยการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ในกลุ่มจังหวัดล้านนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยฯ ได้จัดให้มีกิจกรรม“ศิลปะกับวิถีชุมชนคนแม่นาเรือ : ภาพสามมิติบนแผ่นสังกะสี” โครงการการพัฒนาเมืองศิลปะเชิงสร้างสรรค์ในล้านนา ภายใต้ โครงการวิจัยการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ในกลุ่มจังหวัดล้านนา โดยทีมงาน อ.มานิตย์ โกวฤทธิ์ พร้อมคณะคณะทีมงานศิลปะเชิงสร้างสรรค์ (๓มิติ) และนายแทน วาเพชร ศิลปินลูกหลานชาวแม่นาเรือ
ผศ.ดร.สหัทยา เปิดเผยว่า กิจกรรม “ศิลปะกับวิถีชุมชนคนแม่นาเรือ : ภาพสามมิติบนแผ่นสังกะสี”เป็นกิจกรรมภายใต้โครงการวิจัย “การจัดการทรัพยากรวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ของกลุ่มจังหวัดล้านนา” มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา ภายใต้แผนงานวิจัยเรื่องการพัฒนาเมืองศิลปะเชิงสร้างสรรค์ในล้านนา ดำเนินงานวิจัยในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ประกอบด้วย จังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน น่าน พะเยา เชียงราย และแพร่ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก กองทุนวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ประจำปีงบประมาณ 2563 โดยมีวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรม เพื่อถ่ายทอดความรู้เชิงปฏิบัติการให้แก่เด็กเยาวชน โดยการวาดภาพบนกำแพงสาธารณะและถนนในชุมชนแม่นาเรือ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนา“ศิลปะสู่วิถีการพัฒนาชุมชนคนแม่นาเรือ” และ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในชุมชนแม่นาเรือ ผ่านการจัดแสดงงานศิลปะสามมิติบนแผ่นสังกะสี และกิจกรรมต่างๆ
กิจกรรมภายในงาน- การวาดภาพบนกำแพงสาธารณะและถนนในชุมชนแม่นาเรือ ของเด็กและเยาวชน การจัดแสดงภาพ “ศิลปะกับวิถีชุมชนคนแม่นาเรือ : ภาพสามมิติบนแผ่นสังกะสี” , เสวนาแนวคิดและความหมายของภาพสามมิติบนแผ่นสังกะสี : ศิลปะกับวิถีชุมชนคนแม่นาเรือ , เสวนา “ศิลปะสู่วิถีการพัฒนาชุมชน” และล้อเกวียน ล้อวิถีชีวิตคนแม่นาเรือ” การจัดบูทจำหน่ายสินค้าของดีวิถีชุมชนแม่นาเรือ กาดมั่ว /ครัวแลง การละเล่นพื้นบ้าน และการแสดงของเด็กเยาวชนในพื้นที่ตำบลแม่นาเรือ
(ภาพ/ข่าว สราวุธ ตั้งประเสริฐ พะเยา )