เดอะโอ๋ !!! ประชุม”เร่งรัดผลการสืบสวนติดตามจับกุมคดีอุกฉกรรจ์ สะเทือนขวัญ และคดีอาญา 4 กลุ่มของ ภ.1″
วันนี้ 29 ก.ย. 63 ที่ห้องประชุม ศปก.ภ.1 กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 1 ถ.วิภาวดีรังสิต แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กทม. พล.ต.ต.ธนายุตม์ วุฒิจรัสธำรงค์ รอง ผบช.ภ.1(สส) เป็นประธานในการประชุม”เร่งรัดผลการสืบสวนติดตามจับกุมคดีอุกฉกรรจ์ สะเทือนขวัญ และคดีอาญา 4 กลุ่มของ ภ.1″โดยมี พล.ต.ต.สุภธีร์ บุญครอง ผบกสส.ภ.1 พ.ต.อ.เลิศชาย จำปาทอง รอง ผบก.สส.ภ.1 พ.ต.อ.ธีระพันธุ์ สุคนธ์พันธุ์ ผกก.ฝอ.2 บก.อก.ภ.1 พร้อมด้วย รอง ผบก.ภ.จว.ฯ( ที่รับผิดชอบงานสืบสวน) ผกก.สส.ภ.จว.ฯ หน.สภ.ฯ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เฝ้าฟัง ณ ที่ตั้ง ด้วยระบบทางไกลผ่านจอภาพ (CAT Conference)
พล.ต.ต.ธนายุตม์ กล่าวในที่ประชุมโดยได้เร่งรัดผลการสืบสวนติดตามจับกุมคดี ภ.จว.อ่างทอง 1.คดีอุกฉกรรจ์สะเทือนขวัญฯ-ไม่มี 2.คดีอาญา 4 กลุ่ม 4 คดี สภ.แสวงหา สภ.วิเศษชัยชาญ สภ.เมืองอ่างทอง 2 คดี ภ.จว.สระบุรี 1.คดีอุกฉกรรจ์สะเทือนขวัญฯ 1 คดี( สภ.หนองแค ) 2.คดีอาญา 4 กลุ่ม-ไม่มี ภ.จว.สมุทรปราการ 1.คดีอุกฉกรรจ์สะเทือนขวัญฯ –ไม่มี 2.คดีอาญา 4 กลุ่ม 12 คดี( สภ.บางพลี สภ.เมืองสมุทรปราการ 2 คดี สภ.พระสมุทรเจดีย์ 2 คดี สภ.สำโรงเหนือ 2 คดี สภ.บางปู 3 คดี ) ภ.จว.นนทบุรี 1.คดีอุกฉกรรจ์สะเทือนขวัญฯ-2 คดี ( สภ.บางศรีเมือง 1 คดี สภ.ปลายบาง 1 คดี 2.คดีอาญา 4 กลุ่ม -2 คดี สภ.รัตนาธิเบศร์ 1 คดี สภ.บางศรีเมือง 1 คดี ภ.จว.ปทุมธานี 1.คดีอุกฉกรรจ์สะเทือนขวัญฯ -1 คดี(สภ.คลองหลวง 2.คดีอาญา 4 กลุ่ม –ไม่มี ภ.จว.พระนครศรีอยุธยา 1.คดีอุกฉกรรจ์สะเทือนขวัญฯ -1 คดี สภ.พระอินทร์ราชา สภ.บางปะหัน สภ.ช้างใหญ่ 2 คดีอาญา 4 กลุ่ม -3 คดี สภ.พระนครศรีอยุธยา สภ.ภาชี สภ.พระขาว ภ.จว.ชัยนาท 1.คดีอุกฉกรรจ์สะเทือนขวัญฯ-ไม่มี 2.คดีอาญา 4 กลุ่ม 2 คดี สภ.เมืองชัยนาท สภ.หันคา .ภ.จว.สิงห์บุรี 1.คดีอุกฉกรรจ์สะเทือนขวัญฯ –ไม่มี 2.คดีอาญา 4 กลุ่ม 1 คดี สภ.ค่ายบางระจัน ภ.จว.ลพบุรี 1.คดีอุกฉกรรจ์สะเทือนขวัญฯ 1 คดี สภ.สระโบสถ์ 2 คดีอาญา 4 กลุ่ม 2 คดี สภ.สระโบสถ์ สภ.เมืองลพบุรี
พล.ต.ต.ธนายุตม์ กล่าวต่อว่าได้กำชับให้ เงินกองทุนสืบสวน 1.เงินกองทุนเพื่อการสืบสวนและสอบสวนคดีอาญา ที่คณะอนุกรรมการ ของ ตร. โอนตรงให้แต่ละหน่วยนั้น ให้ทุกหน่วยเร่งรัดการเบิกจ่าย และการเบิกจ่ายต้องให้ถูกต้องตามระเบียบคณะกรรมการบริหารกองทุนเพื่อการสืบสวนและสอบสวนคดีอาญา ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงินกองทุนเพื่อการสนับสนุนการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจในการทำหน้าที่เกี่ยวกับการสืบสวนและสอบสวนคดีอาญา พ.ศ.2558 2.ให้ทุกหน่วยเร่งรัดการเบิกจ่าย ค่าใช้จ่ายในการส่งตัวผู้ต้องหาตามหมายจับ โดยนำค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค.2562 มาเบิกจ่าย 3.ค่าใช้จ่ายในการสืบสวน และ/หรือสอบสวนคดีสำคัญ ให้ทุกหน่วยตรวจสอบคดีที่อยู่ในความรับผิดชอบ ว่าเข้าลักษณะคดีสำคัญตามที่ ตร. กำหนดหรือไม่ หากเข้าลักษณะคดีสำคัญ ให้ทำคำสั่งแต่งตั้งคณะพนักงานสืบสวนสอบสวนคดีสำคัญ และทำเรื่องขอเบิกเงินค่าใช้จ่ายในการสืบสวนสอบสวนคดีสำคัญ มายัง ภ.1 เพื่อจักได้ส่งให้ ตร. พิจารณาอนุมัติจัดสรรเงินให้หน่วยที่ขอเบิกต่อไป 4.ให้ รอง ผบก.ภ.จว. ที่รับผิดชอบงานสืบสวน เป็นผู้ควบคุมกำกับดูแล การเบิกจ่ายเงินกองทุนสืบสวนฯ ทั้ง 3 ส่วน ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ถูกต้องตามระเบียบ
สำหรับ งานสืบสวน 1.การรายงานเหตุอุกฉกรรจ์ สะเทือนขวัญ และเหตุสำคัญที่จะต้องรายงาน เมื่อมีเหตุเกิดขึ้นให้รายงานต่อ รอง ผบช.ภ.1 (สส) และ ผบช.ภ.1 ทันที โดยให้รายงานโทรศัพท์ , ทางไลน์ ทันทีที่เหตุเกิด และรายงานทางเอกสารตามประมวลระเบียบการตำรวจเกี่ยวกับคดี ลักษณะที่ 18 บทที่ 1 ด้วย 2. เมื่อมีเหตุเกิดขึ้นท้องที่ใด นอกจากฝ่ายสืบสวนในท้องที่ที่เกิดเหตุแล้ว ผกก.สส.ภ.จว. และ สว.สส.ภ.จว. ที่รับผิดชอบพื้นที่ ต้องลงไปในพื้นที่เกิดเหตุทันที ไม่ต้องรอสั่งการจาก รอง ผบช.ภ.1 (สส) หรือ ผบช.ภ.1 ให้ออกไปพื้นที่เกิดเหตุโดยเร็ว เก็บพยานหลักฐานให้ครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ DNA และพยานหลักฐานต่างๆ ซึ่งจะนำมาวางแผนในการสืบสวนทุกคดีโดยไม่ต้องรอสั่งการ 3. เมื่อมีเหตุอุกฉกรรจ์ สะเทือนขวัญ และเหตุสำคัญ เกิดขึ้น ให้ ผบก.ภ.จว. นั่งหัวโต๊ะประชุมอำนวยการสั่งการ ควบคุมวางแผนการสืบสวนสอบสวนด้วยตนเอง ให้แบ่งมอบหน้าที่การปฏิบัติ และมอบหมายให้ รอง ผบก.ภ.จว. ที่รับผิดชอบงานสืบสวน ประชุมติดตาม เร่งรัดคดีทุกวัน จนกว่าคดีจะคลี่คลายและจับกุมผู้กระทำความผิดได้ 4. การทำงานต้องมีการบูรณาการร่วมกัน ให้มีการประสานงานกันระหว่าง บก.สส.ภ.1 กก.สส.ภ.จว.และ งานสืบสวน สภ. โดยมีการแบ่งหน้าที่กันทำ และทำงานกันเป็นทีม 5.ให้ทุก สภ. กก.สส.ภ.จว. และ บก.สส.ภ.1 จัดตั้งแฟ้มสืบสวนทุกคดี โดยปรับปรุงให้เป็นปัจจุบัน และมอบหมายให้มีผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน ให้มีการเร่งรัดคดีทุกวัน ในส่วนของ สภ. ให้ รอง ผกก.สส.สภ. เป็นผู้ควบคุมสั่งการ ในส่วนของ กก.สส.ภ.จว. ให้ รองผกก.สส.ภ.จว. เป็นผู้ควบคุมสั่งการ ในส่วนของ บก.สส.ภ.1 ให้ รอง ผบก.สส.ภ.1 หรือ ผบก.สส.ภ.1 เป็นผู้ควบคุมสั่งการ จนกว่าจะสืบสวนคลี่คลายคดี หรือปิดคดีได้ 6. ให้ทุก สภ. จัดทำข้อมูลท้องถิ่นให้ครบถ้วนสมบูรณ์ เป็นสารบบ สามารถตรวจสอบได้ โดยให้อยู่ในห้องปฏิบัติการสืบสวน เช่น แผนที่เดินดินของตำบล หมู่บ้าน โดยให้ รอง ผบก.ภ.จว. ที่รับผิดชอบงานสืบสวน เร่งรัดการดำเนินการให้เรียบร้อย 7. ให้ทุก สภ. จัดทำข้อมูลบุคคลพ้นโทษทุกประเภท ให้เป็นระบบ สามารถตรวจสอบได้ และมอบหมายผู้รับผิดชอบให้ชัดเจน เพื่อตามพฤติการณ์ อย่าให้ก่อเหตุขึ้นอีกได้ โดยให้ รอง ผบก.ภ.จว. ที่รับผิดชอบงานสืบสวน เร่งรัดการดำเนินการให้เรียบร้อย 8. ให้ทุก สภ. จัดทำแฟ้มหมายจับค้างเก่า และมีเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบแต่ละหมายจับให้ชัดเจน ในแฟ้มต้องมีข้อมูลครบถ้วนถูกต้องสมบูรณ์ มีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา และจัดทำแฟ้มประวัติบุคคลให้เป็นปัจจุบัน แบ่งเป็นคดีชีวิตร่างกาย เพศ ทรัพย์ ยาเสพติด และอื่นๆ และให้มีผู้รับผิดชอบให้ชัดเจน โดยให้ รอง ผบก.ภ.จว. ที่รับผิดชอบงานสืบสวน เร่งรัดการดำเนินการให้เรียบร้อย 9. ให้ฝ่ายสืบสวน จัดทำข้อมูลกล้อง CCTV ให้ครบถ้วนถูกต้อง เช่น ตำแหน่งติดตั้งอยู่ที่ใดบ้าง มีจำนวนกี่ตัว รุ่นใด ใครเป็นผู้รับผิดชอบ จะต้องมีข้อมูลอยู่ในห้องปฏิบัติการสืบสวน เวลามีเหตุเกิดขึ้นจะได้ดำเนินการได้ทันที 10. ให้ทุก สภ. แสวงหาความร่วมมือจากประชาชนในการจัดตั้งแหล่งข่าวทุกหมู่บ้าน ชุมชน ทุกตำบล ทุกท้องถิ่น อย่างน้อย 2 คน เพื่อเป็นสายข่าวแหล่งข่าว 11. ให้ทุก สภ. กก.สส.ภ.จว. บก.สส.ภ.1 นำข้อมูลอาชญากรรมที่เกิดขึ้นในแต่ละวันมาวิเคราะห์เหมือนฝ่ายป้องกันปราบปราม วิเคราะห์สถานภาพอาชญากรรม สาเหตุที่เกิด แหล่งที่เกิด เวลาที่เกิดเหตุ สถานที่เกิดเหตุ เหมือนนาฬิกาอาชญากรรม ซึ่งจะต้องมีการสืบสวนก่อนเกิดเหตุ และปฏิบัติการเชิงรุก 12. ให้ บก.สส.ภ.1 กก.สส.ภ.จว. ที่มีข้าราชการตำรวจที่ผ่านการอบรมงานสืบสวน ให้มีการถ่ายทอดให้นักสืบรุ่นน้อง มีการอบรมการสืบสวนต่างๆ หรือศึกษาดูงานในคดีที่สืบสวนจับกุมแล้วว่ามีการดำเนินการอย่างไร ให้จัดตั้งห้องสมุดนักสืบ หรือตำราสืบสวนในคดีที่ดำเนินการสำเร็จ หรือศูนย์อิเล็กทรอนิกส์ ไว้ให้นักสืบรุ่นน้อง 13. การให้ข่าวหรือสัมภาษณ์ในคดีต่างๆ หากไม่จำเป็นอย่าให้ข่าวเกี่ยวกับรายละเอียดของคดี เพราะอาจทำให้เสียหายต่อรูปคดี นักสืบต้องพูดให้น้อย ทำงานให้มาก โดยให้ รอง ผบก.ภ.จว. ที่รับผิดชอบงานสืบสวน ควบคุมกำกับดูแลและกำชับในเรื่องนี้ 14. ทุกคดีที่เกิดขึ้น รอง ผบก.ภ.จว. ที่รับผิดชอบงานสืบสวน และ ผกก.สส.ภ.จว. ต้องมีการประชุมวางแผนแนวทางการสืบสวน และมอบหมายหน้าที่ให้ชัดเจน 15. เมื่อมีการจับผู้ต้องหาตามหมายจับได้แล้ว ให้ดำเนินการถอนหมายออกจากระบบทันที ดังนี้ 15.1 ให้พนักงานสอบสวน ลงถอนหมายในระบบ CRIMES ทุกครั้ง โดยให้ หน.สภ. รับผิดชอบควบคุมสั่งการ และให้ รอง ผบก.ภ.จว. ที่รับผิดชอบงานสอบสวน เป็นผู้รับผิดชอบควบคุมการปฏิบัติ และตรวจสอบการลงข้อมูลในระบบให้ถูกต้องครบถ้วนเป็นปัจจุบัน 15.2 ให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายสืบสวน ลงถอนหมายในระบบ PDC ทุกครั้ง โดยให้ หน.สภ. รับผิดชอบควบคุมสั่งการ และให้ รอง ผบก.ภ.จว. ที่รับผิดชอบงานสืบสวน เป็นผู้รับผิดชอบควบคุมการปฏิบัติ และตรวจสอบการลงข้อมูลในระบบให้ถูกต้องครบถ้วนเป็นปัจจุบัน 16. ให้ผู้บังคับบัญชาทุกระดับ ตรวจสอบ ควบคุม กำกับดูแล ผู้ใต้บังคับบัญชา ไม่ให้เข้าไปเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ห้ามมิให้เรียกรับผลประโยชน์จากผู้กระทำความผิด การจับกุมในลักษณะกลั่นแกล้ง มีส่วนพัวพัน หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ หากพบว่ามีการกระทำความผิดให้ดำเนินการทั้งคดีอาญา ทางวินัยและทางปกครอง อย่างถึงที่สุด 17. การทำงานของนักสืบต้องยึดกฎหมาย ระเบียบ คำสั่ง ข้อบังคับ นโยบายของผู้บังคับบัญชาโดยเคร่งครัด