ม.มหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี”ขับเคลื่อนโรงเรียนปลูกมะเขือเทศอัจฉริยะ

กาญจนบุรี ม.มหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี ขับเคลื่อนโรงเรือนปลูกมะเขือเทศอัจฉริยะ ระบบ Smart Grobot (Agrointelligent) เพื่อแหล่งถ่ายทอดความรู้ ต้นแบบด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม พัฒนาการเกษตรในพื้นที่

 

วันที่ 11 มกราคม 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จตุรงค์ จันทร์สี่ทิศ อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การเกษตร มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี หัวหน้าโครงการโรงเรือนปลูกมะเขือเทศอัจฉริยะระบบ Smart Grobot (Agrointelligent) ได้เปิดเผยว่า ขณะนี้ ที่มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี ได้มีการดำเนินการจัดทำ โรงเรือนปลูกมะเขือเทศอัจฉริยะ ระบบ Smart Grobot (Agrointelligent) ซึ่งเป็นมะเขือเทศที่ผลิตด้วยระบบอัจฉริยะ คือควบคุมสภาพการผลิตการ ให้ปุ๋ย ให้น้ำตามความต้องการของพืช และรวมไปถึงขบวนการ Post harvest ที่มีการตรวจสอบความหวาน ให้ได้ความหวานและกรดตามมาตรฐาน บริษัทเอกชนประเทศญี่ปุ่น โดยเครื่องตรวจสอบรสชาติทุกผล ก่อนส่งเข้าตลาด โดยโรงเรือนดังกล่าวได้ดำเนินโครงการไปแล้วกว่า 90 เปอร์เซ็น ซึ่งเป็นโครงการต่อเนื่องจากศูนย์ความร่วมมือทางการวิจัยและฝึกอบรมด้านการปลูกพืชในโรงเรือนของมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี มีเป้าหมายในการยกระดับกระบวนการผลิตพืชมูลค่าสูง โดยพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีด้านต่างๆ ทั้งเทคโนโลยีชีวภาพ การเกษตร วิศวกรรม และ IOT เพื่อใช้ในโรงเรือนผลิตมะเขือเทศคุณภาพสูง ที่ริเริ่มพัฒนาโดย บริษัท JNC Corporations จากประเทศญี่ปุ่น แนวคิดและเทคโนโลยีดังกล่าวได้นำมาทดสอบในประเทศไทยด้วย การสนับสนุนเทคโนโลยี smart farm ของ บริษัท อะโกรอินเทลลิเจ้นท์ จำกัด ( Agrointelligent Thailand ) โดยโครงการนี้ อยู่ภายใต้ความร่วมมือ ของ มหาวิทยาลัยมหิด วิทยาเขตกาญจนบุรี ร่วมกับ บริษัท JNC Corporations Japan, Nekkoya Inc. Japan, Agrointelligent Thailand

ซึ่ง เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2563 นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้นำคณะลงพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี ก็ได้เข้าเยี่ยมชมโรงเรือนปลูกมะเขือเทศอัจฉริยะระบบ Smart Grobot (Agrointelligent ) ดังกล่าวด้วย โดยมี โดยมี ผศ.ดร.ธัชวีร์ ลีละวัฒน์ ประธานกรรมการบริหารศูนย์ AIC กาญจนบุรี รองอธิการบดีฝ่ายสารสนเทศและวิทยาเขตกาญจนบุรี มหาวิทยาลัยมหิดล ให้การต้อนรับ

ซึ่งโครงการดังกล่าว มีเป้าหมายในการเป็นแหล่งถ่ายทอดความรู้เป็นต้นแบบด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาการเกษตรในพื้นที่ต่อไป ระบบเกษตรอัจฉริยะ ซึ่งเป็นระบบเกษตรชั้นสูงที่เป็นมิตร ต่อสิ่งแวดล้อม และใช้ทรัพยากรให้สอดคล้องกับสภาพของพื้นที่มากที่สุด รวมทั้งมีระบบการจัดการอย่างมี ประสิทธิภาพ โดยนําระบบ AI และ IoT มาช่วยวางแผนและตัดสินใจ บนฐานข้อมูลสารสนเทศที่ถูกต้อง ทําให้สามารถคาดการณ์ผลผลิตได้อย่างแม่นยํา ช่วยลดความสูญเสีย ลดต้นทุน ลดปริมาณการใช้สารป้องกันกําจัดศัตรูพืช ปุ๋ยเคมี น้ำ และลดการใช้แรงงานคน

อีกทั้งยังให้ความสําคัญกับ สิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยต่อผู้บริโภค และการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า จึงถือเป็นโอกาสของเกษตรกร และโอกาสของประเทศที่จะทําให้เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น รวมทั้งพัฒนาศักยภาพของเกษตรกรให้เข้าถึงและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและนวัตกรรม ทางการเกษตร เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ เทคโนโลยีดิจิทัล ฯลฯ. และการใช้ประโยชน์จากข้อมูล เพื่อใช้ในกระบวนการผลิตสินค้าที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดต่อไป

ปรีชา ไหลวารินทร์ / กาญจนบุรี

Loading