วันเสาร์, 16 พฤศจิกายน 2567

บูชาดาวพระเคราะห์ งานประจำปีวัดถาวรวราราม(วัดญวน)

กาญจนบุรี นายกเหล่ากาชาดกาญจน์ เป็นประธานพิธีบูชาดาวพระเคราะห์ในงานประจำปีวัดถาวรวราราม (วัดญวน)

วันนี้ 20 ก.พ. 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นางรชยา ภูมิสวัสดิ์ นายกเหล่ากาชาดจังหวัดกาญจนบุรี ได้เดินทางมาเป็นประธานในพิธีบูชาดาวพระเคราะห์สูตรและปิดทองพระพุทธสถาพรมงคลในงานบูชาดาวพระเคราะห์สูตรประจำปี 2564 วัดถาวรวราราม (วัดญวน) โดยมีพระสมณานัมธีราจารย์ ปลัดขวา อนัมนิกาย เจ้าอาวาสวัดถาวรวราราม(วัดญวณ) พร้อมด้วยคณะที่ปรึกษาและกรรมการเหล่ากาชาดจังหวัดกาญจนบุรี แขกผู้มีเกียรติ พี่น้องประชาชนที่เดินทางมาร่วมพิธีให้การต้อนรับ ณ บริเวณพระอุโบสถวัดถาวรวราราม(วัดญวน) ตำบลบ้านเหนืิอ อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี

จากนั้น นางรชยา ภูมิสวัสดิ์ นายกเหล่ากาชาดจังหวัดกาญจนบุรี ได้เป็นประธานในการจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย พร้อมกับเป็นประธานในการจุดไฟพระฤกษ์ เพื่ิอเปิดงานพิธีบูชาดาวพระเคราะห์สูตรและปิดทองพระพุทธสถาพรมงคลในงานพิธีบูชาดาวพระเคราะห์สูตรประจำปี 2564 ของวัดถาวรวราราม (วัดญวน) ที่ได้จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 18-22 กุมภาพันธุ์ 2564 บริเวณแท่นหมู่เบื้องหน้าพระพุทธสถาพรมงคลพระประธานภายในพระอุโบสถวัดถาวรวราราม (วัดญวน)

หลังจากนั้น นางรชยา ภูมิสวัสดิ์ นายกเหล่ากาชาดจังหวัดกาญจนบุรีพร้อมด้วยที่ปรึกษาและกรรมการเหล่ากาชาดจังหวัดกาญจนบุรีและแขกผู้มีเกียรติที่เดินทางมาร่วมพิธีได้ร่วมกันประกอบพิธีต่างๆโดยมีคณะสงฆ์จากวัดถาวรวราราม(วัดญวน)เป็นผู้ประกอบพิธีภายในพระอุโบสถวัดถาวรวราราม(วัดญวน) พระสมณานัมธีราจารย์ ปลัดขวา อนัมนิกาย เจ้าอาวาสวัดถาวรวราราม(วัดญวณ)ได้มอบของที่ระลึกให้กับประธานในพิธีและแขกผู้มีเกียรติที่เดินทางมาร่วมพิธี

สำหรับประวัติวัดถาวรวราราม ซึ่งชาวญวนที่นับถือพุทธศาสนานิกายมหายานซึ่งถูกกวาดต้อนเข้ามาเมื่อครั้งเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ไปตีเมืองญวนเมื่อ พ.ศ. 2377 ได้ช่วยกันสร้างวัดนี้ขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 โดยตั้งชื่อเป็นภาษาญวนว่าวัดคั้นถ่อตื่อ ต่อมารัชกาลที่ 5 พระราชทานชื่อเป็นภาษาไทยว่าวัดถาวรวราราม ปัจจุบันเป็นวัดในพระพุทธศาสนา ฝ่ายอนัมนิกายลัทธิมหายาน ที่ยังสืบทอดประเพณีแบบมหายานเช่นเดียวกับวัดจีนแห่งอื่นในไทย ที่ตั้งวัดถาวรวราราม (วัดญวน) ถ. บวรบ้านเหนือ ต. บ้านเหนือ อ. เมือง ริมแม่น้ำแควใหญ่ ติดกับวัดเทวสังฆาราม

สิ่งน่าสนใจพระพุทธรูปในโบสถ์ โบสถ์หลังนี้เป็นหลังแรกของวัด สร้างโดยเจ้าอธิการเหยี่ยวเค เจ้าอาวาสองค์ที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2436 ในสมัยรัชกาลที่ 5 หลังสร้างโบสถ์เสร็จ เจ้าอธิการเหยี่ยวเค เจ้าอาวาสองค์ที่ 6 (ดร.องสุตบทบวร) ได้ชักชวนชาวบ้านนั่งเรือทวนแม่น้ำแควใหญ่ขึ้นไปเสาะหาพระประธานของโบสถ์ตามนิมิต กระทั่งเดินทางไปถึงวัดนางพิม บ้านท่าเสา ต.ทุ่งลาดหญ้า วัดร้างที่สร้างมาแต่สมัยอยุธยา พบพระพุทธรูปศิลาทรายแดงสามองค์ประดิษฐานอยู่ในโบสถ์ ท่านจึงอัญเชิญทั้งสามองค์ลงแพล่องมาประดิษฐาน ณ โบสถ์แห่งนี้ โดยได้ซ่อมแซมลงรักปิดทองเสียใหม่

องค์ที่เป็นพระประธานเรียกกันว่าหลวงพ่อโต หรือพระพุทธสถาพรมงคล เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประดิษฐานในซุ้มเรือนแก้วขนาดหน้าตักกว้าง 5 ศอก สูง 8 ศอก 1 คืบ ส่วนอีกสององค์ขนาดเท่ากัน คือหน้าตักกว้าง 3 ศอก สูง 4 ศอก 1 คืบ องค์เบื้องขวาเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ส่วนองค์เบื้องซ้ายเป็นปางสมาธิ

ชาวเมืองกาญจน์ ร่วมกับเจ้าอธิการเหยี่ยวเคยสร้างขึ้น เพื่อถวายแด่พระสังฆราชญาณสังวร โดยเริ่มสร้างเมื่อ ปี พ.ศ. 2539 ใช้เวลาสร้างนานถึง 10 ปี ตัวอาคาร เป็น ทรงกลมคล้ายเก๋งจีน สูง สองชัน ตั้งอยู่ริมแม่น้ำแควใหญ่ ตกแต่งด้วยศิลปะจีนอย่างงดงาม เสาประดับด้วยมังกร ประตูไม้และหน้าต่างแกะสลัก เป็นรูปสัตว์ละดอกไม้นานาชนิดแสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ ลงรักปิดทองอย่างสวยงาม ชั้นล่างประดิษฐานเจ้าแม่กวนอิม ปางประทานพระชั้นบนประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ

ด้านตรงข้ามวัดญวน อยู่บนฝั่งถนนตรงข้ามกับวัด เป็นสุสานของบรรพบุรุษชาวญวนและชาวจีนในเมือง กาญจน์ มีอนุสารีย์กรรมการและทหารนิรนามซึ่งสร้างขึ้นหลังการล้างป่าช้าเมื่อ พ.ศ. 2494 ซึ่งพบโครงกระดูกมากกว่า 4,500 ศพ ส่วนใหญ่เป็นชาวเอเชียที่มาเป็นกรรมกรรับจ้างสร้างทางรถไฟ

ปรีชา ไหลวารินทร์ / กาญจนบุรี

Loading