วันอาทิตย์, 17 พฤศจิกายน 2567

นครปฐม”ผู้สูงอายุแห่มาฉีดวัคซีนเกือบครึ่งหมื่นราย

เมื่อวันที่ 29  กรกฎาคม 2564  ที่จังหวัดนครปฐม  ผู้สื่อข่าวรายงานว่าที่วัดอรัญญิการาม (วัดสามง่าม)  ผู้สูงอายุ และประชาชนในพื้นที่อำเภอดอนตูมเข้ารับการฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า  จำนวนเกือบ 3,000 ราย  ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ และผู้มีโรคประจำตัว 7 กลุ่มโรค

ซึ่งสถานที่ภายในโรงพยาบาลดอนตูมไม่เพียงพอกับประชาชนที่มารับบริการ  ซึ่งได้รับความเมตตาจากพระศรีธีรวงศ์ เจ้าคณะอำเภอดอนตูม  เจ้าอาวาสวัดสามง่าม ในการเอื้อเฟื้อสถานที่ให้ประชาชนได้รับความสะดวกในการฉีดวัคซีน และดูแลอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ให้กับบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างบรรลุเป้าหมาย ซึ่งการบริการฉีดวัคซีนให้กับประชาชนในอำเภอดอนตูมในครั้งนี้เป็นครั้งที่ ทั้งนี้ ได้จัดสถานที่ให้เป็นตามมาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) ของ ศบค.สาธารณสุข /จังหวัด และประกาศต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

            ในโอกาสนี้ พระศรีธีรวงศ์ เจ้าคณะอำเภอดอนตูม เจ้าอาวาสวัดอรัญญิการาม (วัดสามง่าม) ได้แจกน้ำดื่ม ร่มกันแดด ให้แก่ประชาชนที่มารอรับการฉีดวัคซีน พร้อมทั้งนำขนมและน้ำดื่มให้แก่บุคลากรทางการแพทย์  อสม. ที่มาปฏิบัติหน้าที่ ทั้งสิ้น 80 คน ด้วย

            ในวันนี้ (29 กรกฎาคม 2564) สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด – 19 ในพื้นที่จังหวัดนครปฐม ยังตรวจพบ มีผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในวันนี้พบการติดเชื้อรายใหม่จำนวน 379 ราย  คนไทย 370 ราย  ต่างชาติ 9 ราย  

อำเภอเมือง 57 ราย  อำเภอกำแพงแสน 144 ราย  อำเภอนครชัยศรี 86 ราย  อำเภอดอนตูม 13 ราย อำเภอบางเลน 8 รายอำเภอสามพราน 31 ราย อำเภอพุทธมณฑล 21 ราย  และมาจากจังหวัดอื่น  19 ราย   

                – ติดเชื้อระลอกใหม่สะสม 12,611 ราย (คนไทย 10,179 ราย  ต่างชาติ2,432 ราย)

                – ยังรักษาอยู่  7,586  ราย

                – รักษาหาย  4,885 ราย   

                – เสียชีวิต  140 ราย

           ขณะที่องค์การอนามัยโลกยืนยันแล้วว่า การฉีดวัคซีนโควิด – 19 ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันโรคโควิด – 19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่จะต้องทำควบคู่ไปกับการสวมหน้ากาก ล้างมือบ่อย ๆ การเว้นระยะห่าง และหลีกเลี่ยงพื้นที่แออัด เพราะแม้ผู้ที่เคยได้รับวัคซีนมาแล้ว ก็ยังสามารถมีโอกาสติดโรคโควิด – 19 ได้ จากละอองฝอย (Droplets) จากการไอหรือจาม       การสัมผัสสารคัดหลั่ง (Contact) เช่น น้ำลาย น้ำมูก เสมหะ ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยและป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด – 19 จึงควรปฏิบัติตามหลักการดังกล่าวอย่างเคร่งครัด 

ชนิดา  พรหมผลิน

ผู้สื่อข่าวนิวส์รีพอร์ต  รายงาน

Loading