วันเสาร์, 11 มกราคม 2568

สนธยา เผย ประยุทธ์ เห็นชอบตามหลักการในฐานะประธานบอร์ด EEC ตามโครงการ NEO พัทยา หวังพัฒนาศักยภาพการลงทุน-ท่องเที่ยว และระบบแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขัง

สนธยา เผย ประยุทธ์ เห็นชอบตามหลักการในฐานะประธานบอร์ด EEC ตามโครงการ NEO พัทยา หวังพัฒนาศักยภาพการลงทุน-ท่องเที่ยว และระบบแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขัง

นายสนธยา คุณปลื้ม นายกเมืองพัทยา กล่าวว่าที่ผ่านมาได้มีการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ EEC โดยมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุม ดังนั้นในฐานะที่ได้เป็นคณะกรรมการนอกจากจะมีการหารือภาพและแผนโดยรวมแล้ว ในส่วนของเมืองพัทยายังได้นำเสนอแผนและโครงการในการพัฒนาหลายด้าน เพื่อต้อง การให้เมืองพัทยากลายเป็นศูนย์กลางทางการท่องเที่ยวและการลงทุนอย่างแท้จริง
การประชุมครั้งนี้สิ่งสำคัญที่ได้นำเสนอคือเรื่องแผนพัฒนาเมืองพัทยาหรือ NEO PATTAYA เพื่อต้อง การขยายผลไปสู่การพัฒนาพื้นที่เมืองพัทยาให้เป็นศูนย์กลางทางการลงทุนและการท่องเที่ยวทั้งในระดับ EEC และเป็นศูนย์กลางหลักของประเทศ โดยในเรื่องของการการท่องเที่ยวนั้นได้เสนอโครงการในการพัฒนาพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ทั้งชายหาดพัทยา ชายหาดจอมเทียน เขาทัพพระยา หรือแม้กระทั่งตลาดค้าอาหารทะเลสดลานโพธิ์นาเกลือ ตามโครงการ Old town นาเกลือ และ NEO เกาะล้านด้วย ซึ่งทั้ง 5 สถานที่นี้จะต้องมีการปรับปรุงพัฒนาและจัดทำเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงคุณภาพในโฉมใหม่ที่จะสร้างแรงดึงดูดให้กับนักท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี

นายสนธยา กล่าวต่อไปว่าสำหรับโครงการ Old Town นาเกลือนั้น จะมีการจัด 12 โครงการหลัก ซึ่งปัจจุบันได้ดำเนินการไปแล้วบางโครงการ และบางโครงการกำลังจะจัดทำ ด้วยได้รับการพิจารณาและอนุมัติงบประมาณลงมาเรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้โครงกรทั้งหมดคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2566 ซึ่งโครงการเหล่านี้จะทำให้ตลาดลานโพธิ์และชุมชนนาเกลือ กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมแห่งใหม่ที่มีศักยภาพ โดยเฉพาะเรื่องของการค้าอาหารทะเลสดที่จะมีการปรับปรุงตลาดให้มีความสวยงาม สะดวก สะอาด และถูกสุขลักษณะ ได้มาตรฐาน ทั้งเรื่องของร้านค้า และลานเอนกประสงค์เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวในการนั่งรับประทานอาหาร โดยปัจจุบันกำลังดำเนินการจัดสร้างอาคารที่จอดรถไว้เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวอีกด้วย
นอกจากเรื่องของการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวแล้ว ปัญหาสำคัญของเมืองพัทยาอีกประการคือเรื่องระ บบระบายน้ำ และระบบบำบัดน้ำเสีย ซึ่งกรณีนี้ได้รายงานให้ทางนายกรัฐมนตรีได้รับทราบไปแล้ว ทั้งแผนการแก้ไขปัญหาทั้งในระยะสั้น กลาง และยาว โดยในระยะสั้นนั้นกำลังดำเนินการวางท่อระบายน้ำขนาด 2 เมตรวางแนวตลอดเลียบทางรถไฟ เพื่อรับน้ำจากฝั่งตะวันออกซึ่งเป็นเขตชุมชนทั้งจากตำบลหนองปรือ หนองปลาไหล และห้วยใหญ่ เพื่อระบายน้ำที่หลากเข้าสู่เมืองพัทยาไปปล่อยยังคลองธรรมชาติ โดยโครงการนี้คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2566 ขณะที่แผนระยะกลางนั้นจะมีการสนับสนุนงบประมาณในการซ่อมปั้มสถานีสูบขนาดใหญ่จำนวน 6 สถานี ตามพื้นที่ปัญหา เพื่อให้สามารถสูบระบายน้ำที่ท่วมขังซ้ำซากตามแหล่งชุมชน และสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆเพื่อระบายลงสู่คลองสาธารณะและทะเล ขณะที่แผนในระยะยาวนั้นในอดีตเมืองพัทยาเคยเสนอผ่านไปยังคณะกรรมการนโยบายน้ำแห่งชาติ ที่จะร่วมกักรมโยธาธิการและผังเมืองในการวางแผนแม่บทในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังทั้งระบบ กระทั่งปี 2564 โครงการนี้ผ่านความเห็นชอบจาก ครม.แล้ว แต่ยังอยู่ในช่วงระหว่างการจัดสรรงบประมาณที่คาดว่าน่าจะทราบผลอย่างเป็นทางการในปีงบประมาณ 2566 นี้
สุดท้ายคือปัญหาของระบบบำบัดน้ำเสียซึ่งจะต้องมีการพัฒนาและขยายขีดความสามารถในการบำ บัดและรองรับน้ำเสียให้ได้จำนวนมากขึ้น จากการเติบโตทางเศรษฐกิจ สังคม และประชากร โดยปัจจุบันเมืองพัทยามีโรงบำบัดน้ำเสีย 2 แห่ง คือ ซอยวัดหนองใหญ่ ที่รับน้ำเสียได้วันละ 6.5 หมื่น ลบ.ม.แต่กำลังมีการออก แบบเพื่อเพิ่มความสามารถในการรองรับน้ำเสียเพิ่มขึ้นเป็น 1.5-2 แสน ลบ.ม./วัน ส่วนโรงบำบัดซอยวัดบุญกัญจนาราม มีความสามารถในการบำบัดน้ำเสียได้วันละ 4 หมื่น ลบ.ม.แต่ปัจจุบันรับน้ำเสียเพียง 2 หมื่น ลบ.ม. โดยสถานที่แห่งนี้จะเป็นโครงการในอนาคตที่จะต้องมีการพัฒนาและเพิ่มความสามารถในการบำบัดน้ำเสียเพิ่มขึ้น ด้วยความเติบโตทางเศรษฐกิจ การลงทุน และการท่องเที่ยว ที่ปัจจุบันพื้นที่จอมเทียนถือว่าเป็นพื้นที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก

ภาพ/ข่าว นิราช/นันฐพล/พิชญ์ฐญา ทิพย์ศรี จ.ชลบุรี
พรเทพ เขม้นเขตวิทย์ รายงานจากศูนย์ข่าวภาคตะวันออก

Loading