วันพฤหัสบดี, 9 มกราคม 2568

นางสาว นุชนาถ ประทีปธีรานันต์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นประธาน Kick off มหกรรมท่องเที่ยววิถีชุมชนยลรุกขมรดกของแผ่นดิน วัฒนธรรมท้องถิ่นภาคกลางตอนบน 6 จังหวัด ยกระดับการท่องเที่ยววิถีชุมชนลุ่มน้ำเจ้าพระยา/ป่าสัก

นางสาว นุชนาถ ประทีปธีรานันต์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นประธาน Kick off มหกรรมท่องเที่ยววิถีชุมชนยลรุกขมรดกของแผ่นดิน วัฒนธรรมท้องถิ่นภาคกลางตอนบน 6 จังหวัด ยกระดับการท่องเที่ยววิถีชุมชนลุ่มน้ำเจ้าพระยา/ป่าสัก

วันที่ 1 มกราคม 65 ที่ลานด้านหน้าวิหารพระมงคลบพิตร อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา นายวีระชัย นาคมาศ ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มอบหมายให้ นางสาวนุชนาถ ประทีปธีรานันต์ รองผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธานเปิดกิจกรรม Kick off มหกรรมท่องเที่ยววิถีชุมชนยลรุกขมรดกของแผ่นดิน วัฒนธรรมท้องถิ่นภาคกลาง ภายใต้โครงการยกระดับการท่องเที่ยววิถีชุมชนลุ่มน้ำเจ้าพระยา/ป่าสัก โดยมี นางจุรีพร ขันตี วัฒนธรรมจังหวัด กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของการจัดงานในครั้งนี้ ร่วมกับหัวหน้าส่วนราชการ วัฒนธรรมจังหวัดกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน ผู้แทนชุมชน มาร่วมพิธีเปิดในครั้งนี้

สำหรับงาน “มหกรรมท่องเที่ยววิถีชุมชน ยลรุกขมรดกของแผ่นดินวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคกลาง” ในวันนี้จัดขึ้น ตามที่รัฐบาลมีนโยบายเรื่องการพัฒนาศักยภาพของชุมชนเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจฐานรากและสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการท่องเที่ยว เชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรม เพื่อสร้างรายได้และขับเคลื่อนเศรษฐกิจ รวมถึง ส่งเสริมและอนุรักษ์ประเพณีและวัฒนธรรมอันทรงคุณค่า ตลอดจนเพื่อเป็น การต่อยอดโครงการต้นไม้ที่ทรงคุณค่า “รุกขมรดกของแผ่นดิน ใต้ร่มพระบารมี” ของกระทรวงวัฒนธรรม ที่ได้ดำเนินการสืบค้น และรวบรวมข้อมูลต้นไม้ที่ มีความสำคัญทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของท้องถิ่น ซึ่งสามารถนำมาต่อยอดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เพื่อสร้างรายได้ให้กับคนในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยาร่วมกับสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสระบุรี จังหวัดอ่างทอง จังหวัดลพบุรี จังหวัดสิงห์บุรี และจังหวัดชัยนาท จัดงานนี้ขึ้น ในวันที่ 1 – 2 มกราคม 2565 และจะจัดที่จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดสงขลา ในลำดับต่อไป

ด้าน นางสาวนุชนาถ ประทีปธีรานันต์ กล่าวว่า การจัดกิจกรรมมหกรรมท่องเที่ยววิถีชุมชนยลรุกขมรดกของแผ่นดิน วัฒนธรรมท้องถิ่นภาคกลาง เพื่อส่งเสริมและประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยววิถีชุมชน ที่สำคัญในกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน 6 จังหวัด ให้เป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย และเป็นการนำทุนทางวัฒนธรรม ที่สำคัญของแต่ละจังหวัด ซึ่งมีวิถีชีวิต วัฒนธรรม ประเพณี ของชุมชนท้องถิ่นแต่ละแห่งที่เป็นเอกลักษณ์ ทั้งภาษา ความเชื่อ การแต่งกาย อาหารการกิน ศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนต้นไม้ใหญ่ ทรงคุณค่า ควรค่าแก่การศึกษา เรียนรู้ มาสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ ในลักษณะการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และวิถีชุมชน รวมทั้งเป็นการตอบสนองต่อนโยบายของรัฐบาล ในการสร้างงาน สร้างรายได้ ให้แก่ชุมชน และประชาชนได้เป็นอย่างดี

สุขุม แก้วกุดั่น อยุธยา

 

Loading