วันจันทร์, 13 มกราคม 2568

นครปฐม พิจารณาตัดสินการประกวดบทกลอนเทิดพระคุณพ่อ เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ ภายใต้หัวข้อ “รักของพ่อ”

นครปฐม  พิจารณาตัดสินการประกวดบทกลอนเทิดพระคุณพ่อ เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ ภายใต้หัวข้อ “รักของพ่อ”

เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2565  เวลา  09.00 น.  ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จังหวัดนครปฐมโดย สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครปฐม พิจารณาตัดสินการประกวดบทกลอนเทิดพระคุณพ่อ เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ ภายใต้หัวข้อ “รักของพ่อ”  โดยมี ดร.สุดารัตน์ พงศ์อัมพรไกวัล วัฒนธรรมจังหวัดนครปฐม อำนวยการ การจัดกิจกรรมฯ และได้กล่าวชีแจงวัตถุประสงค์ของกิจกรรมต่อคณะกรรมการตัดสินการประกวดบทกลอน อ.วันวิสา นิยมทรัพย์ ประธานกรรมการตัดสิการประกวดบทกลอน  ผศ.ดร.อภิลักษณ์ เกษมผลกูล  อ.วศวรรษ  สบายวัน กรรมการตัดสินการประกวดบทกลอน  นางสาวอรพร คัมภีรศาสตร์ ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม ข้าราชการและเจ้าหน้าที่สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครปฐม ดำเนินการจัดกิจกรรมการประกวดดังกล่าว  ณ ห้องประชุมสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครปฐม อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม

การจัดกิจกรรมการประกวดเรียงความและการประกวดบทกลอน เทิดพระคุณของพ่อ เนื่องในโอกาส วันคล้ายวันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร      วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ มีวัตถุประสงค์เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณที่พระองค์ทรงมีพระเมตตา ต่อพสกนิกรชาวไทยทุกหมู่เหล่า สร้างความตระหนัก และความภาคภูมิใจในการใช้ภาษาไทยที่ถูกต้อง เหมาะสม 

อีกทั้งเพื่อเป็นการปลูกฝังค่านิยมที่ดีงามที่ลูกได้สำนึกในพระคุณของพ่อ ปฏิบัติหน้าที่ของลูกที่มีต่อพ่อด้วยใจ           อันบริสุทธิ์ โดยกลุ่มเป้าหมายในการจัดกิจกรรมการประกวดคือ นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไปพระองค์ทรงมีความห่วงใยในเรื่องการใช้ภาษาไทย โดยมีพระราชดำรัสตอนหนึ่งความว่า        

    

          “เราโชคดีที่มีภาษาของตนเองแต่โบราณกาล จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะรักษาไว้ ปัญหาเฉพาะในด้านรักษาภาษานี้ก็มีหลายประการ อย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในทางออกเสียง คือให้ออกเสียงให้ถูกต้องชัดเจน อีกอย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในวิธีใช้ หมายความว่า วิธีใช้คำมาประกอบประโยค นับเป็นปัญหาที่สำคัญ ปัญหาที่สาม คือ       ความร่ำรวยในคำของภาษาไทย ซึ่งพวกเรานึกว่าไม่ร่ำรวยพอ จึงต้องมีการบัญญัติศัพท์ใหม่มาใช้ สำหรับคำใหม่    ที่ตั้งขึ้นมีความจำเป็นในทางวิชาการไม่น้อย แต่บางคำที่ง่าย ๆ ก็ควรจะมี ควรจะใช้คำเก่า ๆ ที่เรามีอยู่แล้ว ไม่ควรจะมาตั้งศัพท์ใหม่ให้ยุ่งยาก”

 

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครปฐม กระทรวงวัฒนธรรม ได้น้อมนำพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จ       พระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในด้านการใช้ภาษาไทยมาดำเนินการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ ความภาคภูมิใจ ในมรดกทางวัฒนธรรมของชาติในด้านภาษา การส่งเสริมการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้องทั้งในด้านการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียนให้แก่เด็ก เยาวชน และประชาชนต่อไป

 

 

ชนิดา พรหมผลิน/นครปฐม

Loading