วันอาทิตย์, 12 มกราคม 2568

มหาวิทยาลัยนราธิวาสผลิตแพทย์เพิ่ม

มหาวิทยาลัยนราธิวาสฯผลิตแพทย์เพิ่ม เยียวยาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่งแพทย์ใหม่ป้ายแดงรุ่นที่ 5 ลงพื้นที่อีก 23 คน


เมื่อเวลา 10.00 น.วันที่ 2 พ.ค.60 ณ ห้องประชุม ดร.จงรัก พลาศัย ชั้น 3 สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยนราธิวาส อ.เมือง จ.นราธิวาส ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รสสุคนธ์ แสงมณี อธิการบดีมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ เป็นประธานพิธีเปิดโครงการปัจฉิมนิเทศบัณฑิตแพทย์ ปีการศึกษา 2559 โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จงรัก พลาศัย นายกสภามหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสงขลา และผู้อำนวยการศูนย์แพทย์ศาสตรศึกษาคลินิก ผู้บริหารนักศึกษา คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ นักศึกษาคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสฯ ผู้ปกครอง จำนวนกว่า 200 คน ร่วมแสดงความยินดีกับบัณฑิตใหม่ที่กำลังจะลงไปปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่ 3 จังหวัดขายแดนภาคใต้ ประกอบด้วย นราธิวาส ยะลา และปัตตานี พร้อมเป็นสักขีพยานในการมอบโล่เชิดชูเกียรติแก่บัณฑิตแพทย์ทั้ง 24 คน ที่จบการศึกษาในครั้งนี้


ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รสสุคนธ์ แสงมณี อธิการบดีมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ กล่าวว่าคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสฯ เริ่มรับนักศึกษาเข้ารับการศึกษาหลักสูตรแพทย์ศาสตร์บัณฑิตตั้งแต่ปี 2550 เป็นต้นมา และในปี 2559 นี้ นักศึกษาแพทย์รุ่นที่ 5 คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสฯ จำนวน 23 คน ได้สำเร็จการศึกษาเพื่อออกไปปฏิบัติงานรับใข้สังคมในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ นับเป็นเกียรติอประวัติของคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสฯเป็นอย่างยิ่ง โดยคณะแพทย์ศาสตร์ จึงจัดให้มีโครงการปัจฉิมนิเทศนักศึกษาแพทย์ เพื่อแสดงความชื่นชม ยินดี แก่ผู้สำเร็จการศึกษา และเป็นการเตรียมความพร้อมในการออกไปปฏิบัติงานในสังคมให้เป็นที่ยอมรับของชุมชน และสังคม ภายใต้ความหลากหลายทางวัฒนธรรม มีคุณธรรมจริยธรรมตามที่สถาวิชาชีพได้กำหนดไว้ส่งผลให้เกิดประโยชน์และพัฒนาชาติสืบไป


ด้าน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จงรัก พลาศัย นายกสภามหาวิทยาลัยนราธิวาสฯ กล่าวว่า สำหรับปี 2560 นี้ ทางมหาวิทยาลัยนราธิวาสฯ ได้ผลิตแพทย์เพิ่มปีละ 24 คน ซึ่งในขณะนี้เรามีแพทย์ที่ผลิตออกมาแล้ว รวม 11 รุ่น โดยทั้งหมดเป็นบุตรหลานของประชาชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และเมื่อนักศึกษาเหล่านี้สำเร็จการศึกษาไปแล้วจะต้องออกปฏิบัติงานรับใช้สังคมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ในสภาวะปัจจุบันการพัฒนาการศึกษาจะต้องไปควบคู่กับปัญหาสังคมที่ยังเกิดความรุนแรง โดยเฉพาะเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ ในฐานะสถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่จะต้องให้ความสำคัญและมีความตั้งใจในการแก้ปัญหาและพัฒนาการศึกษาอย่างจริงจัง การขาดแคลนบุคลาการทางการแพทย์ในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ถือได้ว่ายังเป็นปัญหาสำคัญที่จะต้องเร่งแก้ไข และจะต้องมุ่งมั่นผลัดดันให้นักเรียนในพื้นที่เข้ามาเรียนในสายวิทยาศาสตร์ เพื่อก้าวสู่การเป็นแพทย์ให้มากขึ้น

 

 

ภาพ/ข่าว ซาการียา ดอเลาะ

Loading