เดอะโอ๋ !!! ประธานในการประชุมบริหารราชการ ภ.7 ครั้งที่ 3/2565
วันนี้ 11 เม.ย. 65 ที่ห้องประชุม ภ.7 ชั้น 2 จว.นครปฐม พล.ต.ท.ธนายุตม์ วุฒิจรัสธำรงค์ ผบช.ภ.7 เป็นประธานในการประชุมบริหารราชการ ภ.7 ครั้งที่ 3/2565 และพิธีมอบใบประกาศเกียรติคุณให้กับข้าราชการตำรวจในสังกัด ภ.7 ตามโครงการยกย่องเชิดชูเกียรติข้าราชการตำรวจผู้ที่มีผลการปฏิบัติหน้าที่ดีเด่นของตำรวจภูธรภาค 7 ประจำเดือน กุมภาพันธ์ 2565
โดยมี พล.ต.ต.นัยวัฒน์ ผะเดิมชิต รอง ผบช.ภ.7 พล.ต.ต.อาทิชา เปาอินทร์ รอง ผบช.ภ.7พล.ต.ต.บุญญฤทธิ์ รอดมา รอง ผบช.ภ.7 พล.ต.ต.ปรัชญา ประสานสุข รอง ผบช.ภ.7 พร้อมพล.ต.ต.นิรันดร ศิริสังข์ไชย ผบก.อก.บช.ภ.7 พล.ต.ต.ประสพชัย มัตสยะวนิชกูล ผบก.สส.ภ.7 พล.ต.ต.ไพโรจน์ คุ้มภัย ผบก.ภ.จว.กาญจนบุรี พล.ต.ต.ชมชวิณ ปุระธนานนท์ ผบก.ภ.จว.นครปฐม พล.ต.ต.เกรียงไกร วุฒิพานิช ผบก.ภ.จว.สุพรรณบุรี พล.ต.ต.วันชัย ธารณธรรม ผบก.ภ.จว.ประจวบคีรีขันธ์ พล.ต.ต.อภิชาติ วรรณภักดิ์ ผบก.ภ.จว.สมุทรสาคร พล.ต.ต.สุเมธ ปุณสีห์ ผบก.ภ.จว.สมุทรสงคราม พล.ต.ต.ปิติ นฤขัตรพิชัย ผบก.ภ.จว.ราชบุรี พล.ต.ต.อุทัย กวินเดชาธร ผบก.ภ.จว.เพชรบุรี พล.ต.ต.ปรีดา อิ่มเจริญ ผบก.ศฝร.ภ.7 พล.ต.ต.ตรีวิทย์ ศรีประภา ผบก.กมค.ภ.7 และ รอง ผบก.ฯ ผกก.104 สถานี ในสังกัดตำรวจภูธรภาค 7 และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม
พล.ต.ท.ธนายุตม์ วุฒิจรัสธำรงค์ ผบช.ภ.7 กล่าวในที่ประชุมโดยได้มีข้อสั่งการ
ผบ.ตร./รอง ผบ.ตร.(ในการประชุมบริหาร ตร.เมื่อวันที่ 29 มี.ค.65)1.ผบก.ภ.จว.แต่ละพื้นที่ที่มีหมายเสด็จฯ ต้องให้ความสำคัญกับภารกิจ ถปภ.ต้องมีการซักซ้อมและลงไปดูพื้นที่ด้วยตนเอง การปฏิบัติต้องเหมาะสม ถูกต้องตามขั้นตอน ระเบียบ และสมพระเกียรติ อย่าให้เกิดข้อผิดพลาด2. กำชับการดำเนินการตามนโยบายของนายกรัฐมนตรี เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้ – เน้นย้ำนโยบายหลักของนายกรัฐมนตรี เรื่องการปราบปราม การค้ามนุษย์ แรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง ผู้มีอิทธิพล มือปืนรับจ้าง การค้าประเวณี การทำประมงผิดกฎหมาย เงินกู้นอกระบบ ยาเสพติด เด็กแว้น นักเรียนยกพวกตีกัน การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา การเปิดสถานบริการผิดกฎหมาย บ่อนการพนัน การพนันออนไลน์ การแก้ไขปัญหาจราจร และ กระทำผิดบนโลกโซเชียล Fake New (ข่าวปลอม) ต่าง ๆ – เรื่องการประหยัดพลังงาน ให้ทุกหน่วยดำเนินการตามมติ ครม. โดยให้หน่วยราชการประหยัดพลังงาน ให้ได้ร้อยละ 20 ในครึ่งปีหลัง – การดูแลประชาชนช่วงเทศกาลสงกรานต์ การอำนวยความสะดวกเรื่องการจราจร การระดมก่อนช่วงเทศกาลสงกรานต์ – การแก้ปัญหาภัยแล้ง – การขับเคลื่อนการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล – เน้นย้ำเรื่อง ผับ บาร์ สถานบริการ แหล่งอบายมุขต่าง ๆ และ บ่อนการพนันเป็นบ่อเกิดของคลัสเตอร์ ซึ่งมีแนวโน้มการระบาดเชื้อไวรัส COVID – 19 สูงขึ้น ให้ไปกวดขันควบคุม กรณีคลัสเตอร์การระบาดของเชื้อไวรัส COVID – 19 มาจากพื้นที่ใด ให้ ผบก.ภ.จว. พื้นที่นั้นเป็นผู้รับผิดชอบ 3. เรื่องการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทะเลาะวิวาทของนักเรียน นักศึกษา ท่าน ผบ.ตร. ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก ให้ทุกหน่วยทำแผนเผชิญเหตุ และมีการซักซ้อมแผนเผชิญเหตุ กรณีเกิดเหตุในโรงเรียน และโรงพยาบาล ให้มีการทดสอบระบบการรับแจ้งเหตุ และจับเวลาเมื่อรับแจ้งไปแล้ว ไปถึงที่เกิดเหตุภายในกี่นาที เมื่อถึงที่เกิดเหตุแล้วมีวิธีประเมินสถานการณ์เหตุเฉพาะหน้าอย่างไร และจัดการกับคนบาดเจ็บอย่างไร 4. ตัวชี้วัดคดีอาญา 4 กลุ่ม ตัวเลขของการป้องกันอย่าไปเปลี่ยน ให้เป็นไปตามสภาพความเป็นจริง กรณีจะให้คะแนนรวมผ่าน สามารถให้ไปเพิ่มเรื่องการปราบปราม
โดยเฉพาะกลุ่มคดีฐานความผิดที่รัฐเป็นผู้เสียหาย ให้ไปเพิ่มผลการจับกุมสูงขึ้นจะได้ประโยชน์กว่า 5. การตรวจสอบปรับปรุงสถิติหมายจับ และสถานะอายัดหมายจับ ในระบบ CRIMES ให้ทุกหน่วยตรวจสอบปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องเป็นปัจจุบันอยู่เสมอ – ให้ หน.สภ. ควบคุมการปฏิบัติของพนักงานสอบสวน ทำการอายัดหมายจับผู้ต้องหาที่อยู่ในเรือนจำให้เป็นปัจจุบัน โดยต้องตรวจสอบให้จำนวนอายัดผู้ต้องหา ตรงกับกรมราชทัณฑ์ – หากมีการอายัดแล้ว ต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นกระบวนความ อย่าให้ค้างอายัด – ให้ หน.สภ. เป็นผู้ถอนหมายจับด้วยตัวเอง เพื่อให้ข้อมูลในระบบ CRIMES เป็นปัจจุบันและเป็นข้อมูลเดียวกันกับศาลยุติธรรม ในอนาคตจะมีการสอบความเข้าใจในการใช้ระบบ CRIMES ของ หน.สภ. ด้วย 6. การแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการตำรวจ ให้ ผบก. (ทุก บก./ภ.จว.) นำตัวเลขไปดูเป็นระยะๆ เนื่องจาก ผบ.ตร. จะดูผลงานของแต่ละภาคในภาพรวมว่าได้ลงไปกำกับดูแลแก้ไขมากน้อยเพียงใด 7. เรื่องโครงการ “ไซเบอร์ วัคซีน” ให้มีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เรื่องการให้ความรู้ต้องทันสมัยอยู่ตลอดเวลา และให้ทันต่อเหตุการณ์ด้วย 8. ประกาศของกระทรวงสาธารณสุขที่ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 จะมีผลบังคับใช้ในอีก 120 วัน ในวันที่ 9 มิ.ย. 65 จะถอนกัญชาออกจากยาเสพติด ระหว่างนี้การจับกุมในเรื่องกัญชา ให้ หน.สภ. ลงไปกำกับดูแลด้วยตนเอง ซึ่งศูนย์ป้องกันปราบปรามได้ออกหนังสือทำความเข้าใจในเรื่องแนวทางกาปฏิบัติไปแล้ว ให้ไปทำ ความเข้าใจกับผู้ใต้บังคับ บัญชา ให้ดูบริบทอื่นประกอบ
และใช้วิจารณญาณดูเจตนาประกอบด้วย 9. โครงการระบบการรับแจ้งความทางออนไลน์เฉพาะคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยีผ่านเว็บไซต์ www.thaipoliceonline.com เนื่องจากเป็นเรื่องใหม่ จึงฝากผู้บังคับบัญชา ระดับ บช./ภ.จว. ไปศึกษาทำความเข้าใจ และออกตรวจเยี่ยม สภ. ในสังกัด แนะนำผู้ปฏิบัติซักถาม ทำความเข้าใจการทำงานและการปฏิบัติหน้าที่ตามโครงสร้างระบบรับแจ้งความออนไลน์ สอบถามสภาพปัญหาต่าง ๆ และกำชับและสร้างความเข้าใจให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในระดับ บช./ภ.จว./สภ. ดังนี้ 9.1 ให้เจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่ไปศึกษาให้เข้าใจ คำสั่ง ตร. ที่ 77/2565 ลง 28 ก.พ. 65 เรื่อง การรับแจ้งความและการบริหารคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยีผ่านระบบอิเล็คทรอนิกส์ เพราะการปฏิบัติในปัจจุบันต้องบูรณาการร่วมกันทุกฝ่าย การทำระบบรับแจ้งความออนไลน์ เจตนาเพื่อลดภาระ พงส. ในการพิสูจน์ทราบตัวคนร้าย ดังนั้น ฝ่ายสืบสวน ต้องเข้ามาทำหน้าที่ หาข้อมูล สืบสวน ตั้งแต่เมื่อเรื่องส่งไปยัง สภ. ไม่ใช่ปล่อยให้ พงส. ดำเนินการแต่ฝ่ายเดียว หรือรอแต่ผู้เสียหายมาให้ปากคำก่อน ซึ่งจะผิดวัตถุประสงค์และเกิดความล่าช้า และต้องทำรายงานการสืบสวนให้พนักงานสอบสวน โดยเร็วด้วยไม่ใช่ให้พนักงานสอบสวนทำเอง แต่พนักงานสอบสวนควรรีบประสานการอายัดบัญชีธนาคารกับ Admin ตร. ฝ่ายอายัดบัญชี โดยเร็วที่สุด 9.2 ผู้บริหารการรับแจ้ง (Admin) ระดับ สภ. ไม่ใช่ให้เป็นทุกคน แค่ควรต้องมี 2 – 3 คน ให้เหมาะสมแก่ปริมาณงาน เพื่อเป็นผู้ประสานงานหลักหรือเป็นผู้ขับเคลื่อนระดับสถานีตำรวจ โดยคัดเลือกจากผู้มีความรู้ในเรื่องเทคโนโลยีและงานสอบสวน คอยตรวจสอบคดีผ่านระบบฯ หากมอบหมายหลายคนจะเกิดความสับสน ปัจจุบันคดีเกี่ยวกับทรัพย์ในท้องที่เปลี่ยนรูปแบบไปเป็นการฉ้อโกงทางออนไลน์เป็นส่วนใหญ่แล้ว จึงให้ ผกก. ให้ความสำคัญใช้คนที่มีความสามารถทางด้านเทคโนโลยี เข้ามาร่วมดำเนินการในเรื่องนี้ 9.3 การรับเรื่องออนไลน์จาก ศปอส.ตร. จะผ่านการกลั่นกรองเบื้องต้น จาก ผู้บริหารการรับแจ้ง (admin) ตร. แล้ว แต่หากส่งไปพื้นที่ผิด ให้ สภ. ประสานส่งเรื่องแจ้งให้ ผู้บริหารการรับแจ้ง (admin) ตร. ทราบ ผ่านทางอีเมล police.pct1@gmail.com เพื่อส่งเรื่องให้กับ สน./สภ.ที่ถูกต้องต่อไป 9.4 กรณีผู้เสียหายมาแจ้งความ walk in ที่สถานีตำรวจ ก่อนสอบปากคำให้ช่วยเหลือผู้แจ้งในการลงระบบรับแจ้งความออนไลน์ทุกเรื่องเป็นลำดับแรก เพื่อให้เห็นความเชื่อมโยงของคดี เช่นเดียวกับกรณีรับแจ้งความออนไลน์ หากกรณีเป็นการแจ้งความนอกเขตอำนาจการสอบสวน
ให้สอบปากคำรับคำร้องทุกข์นอกเขต และดำเนินการส่งเรื่องไปยังสถานีตำรวจที่มีอำนาจสอบสวนโดยเร็ว ตามคำสั่ง ตร. 177/2564 ลง 9 เม.ย. 64 เรื่อง การรับคำร้องทุกข์หรือคำกล่าวโทษความผิดอาญานอกเขตอำนาจสอบสวน ให้ประสานกับผู้บริหารการรับแจ้ง ตร. โดยเร็ว ห้ามแนะนำให้ผู้เสียหายเดินทางไปแจ้งความยังสถานีตำรวจที่อยู่ในเขตอำนาจสอบสวน 9.5 ระดับ สภ.ให้ผู้บริหารการรับแจ้งของ สภ. (Admin สภ.) เปิดดูระบบ ตั้งแต่เวลา 09.00 น. ของทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ กรณีพบเรื่องที่ได้รับมอบหมายจาก ผู้บริหารการรับแจ้ง ตร. (Admin ตร.) ให้ดำเนินการดังนี้ – แจ้ง หน.สภ. ทราบ เพื่อมอบหมายให้ พงส. และเจ้าหน้าที่ฝ่ายสืบสวน เป็นผู้รับผิดชอบคดี – ให้ สภ. มอบหมาย ผู้บริหารการรับแจ้ง (Admin สภ.) หรือ พงส. ติดต่อผู้แจ้งภายใน 4 ชั่วโมง นับแต่เวลาที่ได้รับแจ้งจากผู้บริหารการรับแจ้ง ตร. (Admin ตร.) เพื่อนัดหมายให้ผู้แจ้งมาร้องทุกข์หรือกล่าวโทษต่อ พงส. ณ ที่ทำการของ สภ. พร้อมทั้งลงบันทึกผลการติดต่อผู้แจ้งในระบบรับแจ้งความออนไลน์ – กรณีมีเรื่องที่ได้รับมอบหมายจากผู้บริหารการรับแจ้ง ตร. (Admin ตร.) ให้ หน.สภ. หรือหัวหน้างานสอบสวน หรือหัวหน้างานสืบสวน จัดประชุมผู้เกี่ยวข้องทุกวัน เพื่อติดตามความคืบหน้าแต่ละคดีข้อมูลการอายัดบัญชี ปัญหาอุปสรรค ข้อขัดข้อง และ แนวทางการแก้ไข พร้อมจัดทำบันทึกการประชุมไว้เป็นหลักฐาน (เว้นวันหยุดราชการ ไม่ต้องจัดประชุม) 9.6 ระดับ ภ.จว. – ให้ผู้บริหารการรับแจ้งของ ภ.จว. (Admin ภ.จว.) จัดเวรประจำวันเปิดดูระบบในเวลา 09.00 น. ของทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ เพื่อติดตามกำกับ ดูแล ความคืบหน้าคดีและการดำเนินการของ สภ. ในสังกัด จากระบบออนไลน์ เช่น มีการมอบหมาย พงส. รับผิดชอบคดีแล้วหรือไม่ มีการโทรกลับผู้แจ้งภายใน 4 ชั่วโมง หรือไม่ มีการลงระบบแจ้งความครบถ้วนหรือไม่ หากไม่ครบถ้วน ก็เร่งรัดให้ สภ. ดำเนินการแล้วรายงานให้ ผบก. ทราบ – ให้ผู้บริหารคดีหรือผู้บริหารการรับแจ้ง ระดับ ภ.จว. ประชุมร่วมกับ สภ. สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อกำกับ ดูแล ให้มีการบริหารคดี ระดับ สภ. พร้อมจัดทำบันทึกการประชุมไว้ทุกครั้ง – หากพบว่าคดีที่เกิดขึ้นของ สภ. ในสังกัดเป็นคดีที่มีความเชื่อมโยงกันใน ภ.จว. ให้พิจารณารวมคดีได้ โดยให้ ภ.จว. เป็นผู้รับผิดชอบการสอบสวน และ กก.สส.ภ.จว. รับผิดชอบการสืบสวน – ให้ ภ.จว. จัดรายชื่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายสืบสวน พร้อมหมายเลขโทรศัพท์ ของ กก.สส. เพื่อประสานงานกับ ศปอส.ตร./ศปอส.บช. หรือ บช.สอท. และสนับสนุนให้ คำแนะนำ ฝ่ายสืบสวนของ สภ. 9.7 ระดับ บช./ภ. – ให้ผู้บริหารการรับแจ้งของ บช. (Admin บช.)
จัดเวรประจำวัน เปิดดูระบบใน เวลา 09.00 น. ของทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ เพื่อติดตามกำกับ ดูแล ความคืบหน้าคดี และการดำเนินการของ ภ.จว. ในสังกัด จากระบบออนไลน์ เช่น มีการมอบหมาย พงส.รับผิดชอบคดีแล้วหรือไม่ มีการโทรกลับผู้แจ้งภายใน 4 ชั่วโมง หรือไม่ มีการลงระบบแจ้งความครบถ้วนหรือไม่ หากไม่ครบถ้วน ก็เร่งรัดให้ ภ.จว. ดำเนินการ แล้ว รายงานให้ รอง ผบช.ที่รับมอบหมาย ทราบ โดยทำหน้าที่ทำนองเดียวกับระดับ ภ.จว. – ให้ประชุมกับ ภ.จว. และ สภ. ในสังกัดทุกวันพฤหัสบดี ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้วงรอบของการสรุปข้อมูลของแต่ละ บช. เป็นห้วงระยะเวลาเดียวกัน สะดวกต่อการรายงานข้อมูล โดยให้กำกับ ดูแลให้มีการบริหารคดีระดับ ภ.จว. และ สภ. และให้ รอง ผบช.ที่ได้รับมอบหมาย เป็นประธานการประชุมด้วยตนเอง รายงานให้ ผอ.ศปอส.ตร. ทราบ ในรอบวันศุกร์ของแต่ละสัปดาห์ ผ่านทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ police.pct1@gmail.com – ให้ บช. จัดรายชื่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายสืบสวน พร้อมหมายเลขโทรศัพท์ ของ บก.สส. เพื่อประสานงานกับ ศปอส.ตร. หรือ บช.สอท. เพื่อสนับสนุน ให้คำแนะนำ ช่วยเหลือฝ่ายสืบสวนของหน่วยในสังกัด โครงการระบบการรับแจ้งความทางออนไลน์เฉพาะคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยีผ่านเว็บไชต์ www.thaipoliceonline.com
9.8 ในกรณีที่พนักงานสอบสวนของ ภ.จว./สภ. มีความประสงค์จะขออายัดบัญชีหรือขอข้อมูลอื่น ๆ เกี่ยวกับคดีจากธนาคาร ให้ประสานไปยังเจ้าหน้าที่ฝ่ายประสานงาน/ติดตามคดีของศูนย์รับแจ้งความออนไลน์ ศปอส.ตร. หมายเลขโทรศัพท์ 089 109 0000 หรือไลน์ไอดี @pctsupport ซึ่งมีเมนูให้ใช้งานหลัก คือ ปัญหาและเสนอแนะ แจ้งส่งหมายอายัดและข้อมูลธนาคาร และคู่มือแนวทางปฏิบัติ ข้อมูลเส้นทางการเงินและข้อมูลเจ้าของบัญชีที่ได้รับจากธนาคาร จะถูกส่งมาในรูปแบบไฟล์ Excel อาจต้องใช้เวลา เนื่องจากเป็นการขอผ่านภาพรวมของ ตร.แต่ พงส.ยังสามารถเลือกใช้ช่องทาง ขอรับโดยตรงได้จากธนาคารสาขาเจ้าของบัญชีซึ่งจะมีความสะดวก แต่ข้อมูลที่ได้รับจะเป็น ไฟล์ pdf ตัวอย่างรูปแบบในการทำงานสอบสวน สืบสวนและการอายัดบัญชีของ ระดับ ภ.จว. ให้ดูตัวอย่าง ภ.จว.เชียงใหม่ ระดับ สภ.ให้ดูตัวอย่างจาก สภ.ไม้รูด จังหวัดตราด ส่วนขั้นตอน วิธีการอายัดบัญชี และขอข้อมูลทางบัญชี – สอบปากคำผู้แจ้งโดยเร็วให้ได้รายละเอียด ธนาคาร เลขบัญชี ชื่อบัญชี จำนวนเงิน และหลักฐานการโอน เช่น สลิปการโอนเงิน – ติดต่ออายัดบัญชีผ่าน ฝ่ายอายัดบัญชี PCT Line@ ID : @pctsupport หรือ 089 109 0000 – ดาวน์โหลดตัวอย่างหมายอายัด/หมายขอข้อมูลธนาคารจากลิ้งค์ในไลน์ @pctsupport – พิมพ์แก้ไขเนื้อหาในหมายเรียกให้เป็นข้อมูลของท่านเอง และตัดคำแนะนำออก – จัดทำหมาย
ณ ห้องประชุม ภ.7 ชั้น 2 ถ.ข้างวัง ต.พระปฐมเจดีย์ อ.เมืองนครปฐม จว.นครปฐม