เดอะโอ๋ !!! ติวเข้ม 8 จังหวัด 104 สถานี ในสังกัดตำรวจภูธรภาค 7
วันนี้ 6 พ.ค.65 ห้องประชุม ภ.7 ชั้น 2 ตำรวจภูธรภาค 7 จว.นครปฐม พล.ต.ท.ธนายุตม์ วุฒิจรัสธำรงค์ ผบช.ภ.7 เป็นประธานในการประชุมบริหารราชการ ภ.7 ครั้งที่ 4/2565 และพิธีมอบใบประกาศเกียรติคุณให้กับข้าราชการตำรวจในสังกัด ภ.7 ตามโครงการยกย่องเชิดชูเกียรติข้าราชการตำรวจผู้ที่มีผลการปฏิบัติหน้าที่ดีเด่นของตำรวจภูธรภาค 7 ประจำเดือนมีนาคม 2565
โดยมี พล.ต.ต.นัยวัฒน์ ผะเดิมชิต รอง ผบช.ภ.7 พล.ต.ต.อาทิชา เปาอินทร์ รอง ผบช.ภ.7พล.ต.ต.ปรัชญา ประสานสุข รอง ผบช.ภ.7 พล.ต.ต.ประสพชัย มัตสยะวนิชกูล ผบก.สส.ภ.7 พล.ต.ต.ไพโรจน์ คุ้มภัย ผบก.ภ.จว.กาญจนบุรี พล.ต.ต.ชมชวิณ ปุระธนานนท์ ผบก.ภ.จว.นครปฐม พล.ต.ต.เกรียงไกร วุฒิพานิช ผบก.ภ.จว.สุพรรณบุรี พล.ต.ต.วันชัย ธารณธรรม ผบก.ภ.จว.ประจวบคีรีขันธ์ พล.ต.ต.อภิชาติ วรรณภักดิ์ ผบก.ภ.จว.สมุทรสาคร พล.ต.ต.สุเมธ ปุณสีห์ ผบก.ภ.จว.สมุทรสงคราม พล.ต.ต.ปิติ นฤขัตรพิชัย ผบก.ภ.จว.ราชบุรี พล.ต.ต.อุทัย กวินเดชาธร ผบก.ภ.จว.เพชรบุรี พล.ต.ต.ปรีดา อิ่มเจริญ ผบก.ศฝร.ภ.7 พล.ต.ต.ตรีวิทย์ ศรีประภา ผบก.กมค.ภ.7 และรอง ผบก.ภ.จว.ทั้ง 8 จว.ผกก.104 สถานีในสังกัดตำรวจภูธรภาค 7 พร้อมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม
พล.ต.ท.ธนายุตม์ วุฒิจรัสธำรงค์ ผบช.ภ.7 ได้มีข้อสั่งการ ผบ.ตร. / รอง ผบ.ตร.(ในการประชุมบริหาร ตร.เมื่อวันที่ 26 เม.ย. 65) 1.กำชับตัวชี้วัดคดีอาญา 4 กลุ่ม ตัวเลขของการป้องกันให้เป็นไปตามสภาพความเป็นจริง อย่าเป่าคดี โดยเฉพาะคดีออนไลน์ คดีต้องขึ้นให้ผู้บังคับบัญชาไปตรวจสอบเป็นระยะๆและการปราบปรามจับกุมหมายจับค้างเก่าคดีฐานความผิดที่รัฐเป็นผู้เสียหาย ยาเสพติด อาวุธปืน ให้เร่งรัดอย่างเป็นระบบ กรณีจะให้คะแนนรวมผ่าน สามารถไปชดเชยเรื่องการปราบปราม ให้ไปเพิ่มผลการจับกุมสูงขึ้นจะได้ประโยชน์กว่า 2.กำชับให้ผู้บังคับบัญชาทุกระดับชั้น ไปติดตามงานที่ได้สั่งการผู้ใต้บังคับบัญชาไปปฏิบัติ เมื่อสั่งการให้ไปปฏิบัติอะไร ได้ปฏิบัติหรือไม่ ไม่ปฏิบัติเพราะสาเหตุอะไร 3.เน้นย้ำนโยบายของนายกรัฐมนตรี เรื่องการปราบปรามการค้ามนุษย์ แรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง และเรื่องความมั่นคงตามแนวชายแดน อยากให้ชายแดนเป็นเขต SAFETY ZONE เขตปลอดอาชญากรรม ในเรื่องยาเสพติด การค้ามนุษย์ แรงงานต่างด้าว ทรัพยากรธรรมชาติ สินค้าเถื่อน ผู้มีอิทธิพล มือปืนรับจ้าง ให้แต่ละพื้นที่ไปร่วมมือกันระว่าง ตำรวจภูธรภาค/ภ.จว./ตม./ตชด. ฝ่ายปกครอง และทหาร ร่วมกันบูรณาการ 4.โครงการระบบการรับแจ้งความทางออนไลน์เฉพาะคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยีผ่านเว็บไซต์ www.thaipoliceonline.com กรณีผู้เสียหายมาแจ้งความ walk in ที่สถานีตำรวจ โดยไม่ได้แจ้งผ่านระบบรับแจ้งความออนไลน์ ก่อนสอบปากคำให้ช่วยเหลือผู้แจ้งในการลงระบบรับแจ้งความออนไลน์ทุกเรื่องเป็นลำดับแรก โดยใช้ Email ของผู้แจ้ง หากไม่มีให้ พงส. แนะนำหรือช่วยสร้าง Email ให้กับผู้แจ้ง ทั้งนี้เพื่อให้เห็นความเชื่อมโยงของคดี เช่นเดียวกับกรณีรับแจ้งความออนไลน์ 5.หากกรณีเป็นการแจ้งความนอกเขตอำนาจการสอบสวน ให้กำชับ พนักงานสอบสวน ให้สอบปากคำรับคำร้องทุกข์นอกเขต และดำเนินการส่งเรื่องไปยังสถานีตำรวจที่มีอำนาจสอบสวนโดยเร็ว ตามคำสั่ง ตร. 177/2564 ลง 9 เม.ย. 64เรื่องการรับคำร้องทุกข์หรือคำกล่าวโทษความผิดอาญานอกเขตอำนาจสอบสวน บันทึกข้อมูลลงในระบบรับแจ้งความออนไลน์และให้ประสานกับผู้บริหารการรับแจ้ง ตร. โดยเร็ว ห้ามแนะนำให้ผู้เสียหาย เดินทางไปแจ้งความยังสถานตำรวจที่อยู่ในเขตอำนาจสอบสวน 6.พนักงานสอบสวนต้องรีบประสานการอายัดบัญชีธนาคารกับ Admin ตร. ฝ่ายอายัดบัญชี โดยเร็วที่สุด โดยให้ประสานไปยังเจ้าหน้าที่ฝ่ายประสานงาน/ติดตามคดี ของศูนย์รับแจ้งความออนไลน์ ศปอส.ตร. หมายเลขโทรศัพท์ 089 109 0000 หรือไลน์ไอดี @pctsupport 7.กรณีปัญหาเรื่องพนักงานสอบสวนใน สภ. ไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติงานสอบสวน คดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยีที่มีปริมาณคดีเพิ่มขึ้นนั้น ให้ หัวหน้า สภ. รายงานให้ ผบก. ทราบตามลำดับชั้นเพื่อแก้ไขปัญหา โดยให้ผู้บังคับบัญชา ระดับ บก./บช. พิจารณาปรับเกลี่ยกำลังพลพนักงานสอบสวนใน สภ. ที่มีปริมาณงานน้อยมา ช่วยปฏิบัติราชการใน สภ.ที่มีประมาณงานมาก และให้ติดตามพนักงานสอบสวนที่ไปปฏิบัติงานในส่วนอื่นที่ไม่ใช่งานสอบสวนและไม่เป็นไปตามระเบียบของ ตร. ให้กลับมาปฏิบัติหน้าที่ด้านสอบสวนตามตำแหน่งเดิม ตามแนวทางที่ ตร. สั่งการไว้ ตามบันทึก ตร.ที่ 0009.232/ว42 ลง 1 ต.ค. 63
8.ฝ่ายสืบสวน ต้องเข้ามาทำหน้าที่หาข้อมูล สืบสวน ตั้งแต่เมื่อเรื่องส่งไปยัง สภ. ไม่ใช่ปล่อยให้ พงส. ดำเนินการแต่ฝ่ายเดียว หรือรอแต่ผู้เสียหายมาให้ปากคำก่อน ต้องมีการบันทึกความคืบหน้าในการสืบสวนไว้ในระบบ และฝ่ายสืบสวน ต้องทำรายงานการสืบสวน ให้พนักงานสอบสวน โดยเร็วด้วย 9.ในคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ที่คนร้ายมีการโอนเงินไปต่างประเทศ เช่น คดีหลอกลวงทางการเงินออนไลน์ หลอกลวงลงทุนซื้อขายเงินดิจิทัล (คริปโตเคอเรนซี) ต่อไป ตร.จะมีนโยบายให้ บช.สอท. และ บช.ก. เข้ามา เป็นผู้รับผิดชอบในการสอบสวนดำเนินคดีให้มากขึ้น โดยอาจจะต้องใช้การส่งประเด็นไปยัง สภ. พื้นที่ เพื่อช่วยสอบสวนปากคำ ผู้เสียหาย พยาน หรือผู้เกี่ยวข้อง เช่น เจ้าหน้าที่ธนาคาร เจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคนิคต่างๆ ในกรณีที่บุคคลดังกล่าวอยู่ในพื้นที่ สภ. นั้น ๆ แม้ว่าจำนวนผู้เสียหาย หรือมูลค่าความเสียหาย จะไม่เข้าตามหลักเกณฑ์ปกติที่จะต้องทำการสอบสวน หรือไม่ใช่การกระทำความผิดในรูปขบวนการหรือกลุ่มบุคคล ตามที่กำหนดไว้ จึงให้แต่ละ ภ.จว. และ สภ. เตรียมความพร้อมในเรื่องนี้ ไว้ด้วย 10.กรณีที่ประชาชนสอบถามว่า เหตุใดแจ้งความผ่านระบบรับแจ้งความออนไลน์แล้ว ยังต้องเดินทางไปพบพนักงานสอบสวนอีก ขอให้ชี้แจงประชาสัมพันธ์ประชาชนว่า “เหตุที่จะต้องเดินทางไปพบพนักงานสอบสวนอีก ก็เพื่อให้เป็นไปตามขั้นตอนการปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนดไว้ เพื่อชักถามปากคำให้ได้ข้อมูลรายละเอียดให้ครบองค์ประกอบความผิดที่กล่าวหากับผู้กระทำผิด และรับรองเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องที่จะนำไปใช้ประกอบสำนวนคดี” 11.ในคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ประเภทฉ้อโกงประชาชน และฉ้อโกงเป็นปกติธุระ ซึ่งเป็นความผิดมูลฐานตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 เมื่อพนักงานสอบสวนได้รับคำร้องทุกข์ ดำเนินคดีแล้ว ให้รีบรายงานข้อมูลไปยัง ป.ป.ง. โดยเร็ว โดยสามารถดาวน์โหลดเอกสารที่เกี่ยวข้องได้จากเว็ปไซต์สำนักงาน ป.ป.ง. และเมื่อพนักงานสอบสวนเห็นว่ามีพยานหลักฐานที่จะดำเนินคดีความผิดตามกฎหมายฟอกเงิน ให้ประสานขอข้อมูลเส้นทางการเงินและข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากเจ้าหน้าที่ ป.ป.ง. และมีหนังสือขอสอบปากคำเจ้าหน้าที่ ป.ป.ง. เป็นพยานไว้ด้วย และให้พนักงานสอบสวนบันทึกข้อมูลไว้ในระบบ Crimes ในช่องที่ระบุว่าเป็นความผิดมูลฐานตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ด้วย ซึ่ง ผบ.ตร. ได้ลงนามในหนังสือสั่งการไว้แล้ว ตามหนังสือ ตร. ที่ 0034/ว1581 ลง 11 เม.ย. 65 เรื่อง กำชับการปฏิบัติ และกำหนดแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการดำเนินการตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 (เพิ่มเติม) 12.ตร.จะมีหนังสือสั่งการพร้อมแบบฟอร์มการออกตรวจ โดยให้ผู้บังคับบัญชาในระดับ บช. แล ระดับ บก. ออกสุ่มตรวจ สภ. เพื่อตรวจสอบการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และให้จัดทำสถิติการออกตรวจเก็บไว้ว่า รอง ผบช. หรือ รอง ผบก. ใครออกตรวจมากน้อยอย่างไร 13.ให้ทุกหน่วยให้ความสำคัญในการถอดบทเรียนเทศกาลสงกรานต์ 2565 ตาม วิทยุตร.ด่วนที่สุด ที่ 0007.34/1636 ลง 21 เม.ย. 65 ให้ทุกหน่วยและทุกระดับ สรุปผลการปฏิบัติงานและถอดบทเรียนในช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2565 ใน 3 หัวข้อ ผู้บังคับบัญชาที่จะต้องลงนามรายงานฉบับนี้ทุกหน่วยต้องให้ความสำคัญกับการสรุปผลวิเคราะห์และถอดบทเรียนอย่างจริงจัง ต้องประชุมระดมความเห็นจากผู้ปฏิบัติ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น มีข้อเสนอที่หลากหลาย เพื่อให้ได้แนวทางแก้ไขที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ รวมถึงต้องกำหนดมาตรการ/แผนปฏิบัติขั้นพื้นฐานที่จะต้องมีในทุกเทศกาล
ดังนั้น ก่อนที่จะลงนามในรายงานเพื่อส่งมายัง ตร. นั้น ขอให้ผู้บังคับบัญชาในแต่ละระดับ ตรวจสอบข้อมูล เนื้อหา ผลการวิเคราะห์ในเอกสารของรายงาน ให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์ ถูกต้องตามความเป็นจริง เมื่อจัดทำรายงานถอดบทเรียนที่มีคุณภาพไว้แล้วรายงานฉบับนี้ก็จะเป็นเหมือนคัมภีร์ประจำสถานี ผู้ที่มาใหม่ หรือมารับช่วงต่อจะสามารถนำข้อมูลจากรายงานมาต่อยอดในการปฏิบัติได้ในทันที โดยไม่ต้องเริ่มต้นใหม่จากศูนย์ 14.ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. 65 เป็นต้นมามีการปรับมาตรการเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร ซึ่งคาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาในประเทศเพิ่มมากขึ้นตามช่องทางบก เรือ อากาศ จึงกำชับให้ ดำเนินการดังนี้ – กรณีคนต่างด้าวที่จะเข้า – ออกตามแนวชายแดนไทยที่อาจจะเปิดด่านชายแดนตั้งแต่ 1 พ.ค. 65 ให้แต่ละ ภ.จว. ที่เกี่ยวข้อง ตรวจสอบ กำกับ ดูแล ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ คำสั่งคัดกรองคนต่างด้าวให้เป็นไปตามมาตรการ ศบค. และมติ ครม. ที่เกี่ยวข้อง จัดเตรียมแผนการปฏิบัติ จุด ว.43 ตลอดจนกรณีที่มีการกระทำความผิดเกี่ยวกับคนต่างด้าวลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมาย ให้มีการสืบสวน สอบสวนขยายผลทุกกรณี – สถานบริการ สถานบันเทิง ผับ บาร์ คาราโอเกะ ยังคงให้ปิดบริการ แต่สามารถเปิดแบบร้านอาหารได้ โดยปรับรูปแบบสถานที่มาเป็นร้านอาหารแต่ต้องเป็นร้านที่ผ่านมาตรฐาน SHA+ หรือ Thai Stop COVID 2 Plus เท่านั้น และต้องปฏิบัติตามมาตรฐาน Covid Free Setting อย่างเคร่งครัด และขออนุญาตคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด สำหรับพื้นที่นำร่องการท่องเที่ยวและพื้นที่เฝ้าระวังสูง ปรับมาตรการจำกัดเวลาในการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในร้านอาหาร หรือสถานที่ที่มีลักษณะเดียวกัน จากเวลา 23.00 น. เป็น 24.00 น. เน้นย้ำให้ – ให้กวดขัน จับกุมการลักลอบเปิดสถานบริการ สถานบันเทิง ผับ บาร์คาราโอเกะ – กวดขัน จับกุมสถานบริการ สถานบันเทิง ผับ บาร์ คาราโอเกะ ที่ได้รับอนุญาตให้เปิดเป็นร้านอาหารเปิดเกินเวลาที่กำหนด ให้ดำเนินคดีตามกฎหมายอย่างเด็ดขาด กำชับห้ามมิให้เรียก รับ ยอมรับ ทรัพย์สินหรือผลประโยชน์อื่นใดโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือ ประพฤติไม่ชอบ กรณีที่มีเรื่องร้องเรียนหรือมีการตรวจสอบพบการกระทำความผิดจะดำเนินการทางอาญา วินัย และปกครองอย่างเด็ดขาด (คำสั่ง 1212/2537)
15.การดำเนินการตามความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด เมื่อมีการจับกุมผู้ต้องหารายสำคัญใน 5 ข้อหาหลัก ให้ดำเนินการขยายผลในเรื่องการยึด อายัดทรัพย์สินของกลุ่มเครือข่าย ให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ ตร.กำหนด ไม่น้อยกว่า 6,000 ล้านบาท ซึ่งดำเนินการไปแล้ว 40.96 % 16.งาน ศปทส.ภ.7 ให้ตรวจสอบการยึดถือครอบครอง หรือแสวงหาผลประโยชน์ ในการบุกรุกพื้นที่ป่า ที่สาธารณะประโยชน์ ที่ราชพัสดุ และพื้นที่โบราณสถาน หากพบเข้าข่ายการกระทำผิด ต้องสืบสวนเอาผิดตามกรอบของกฎหมาย 17.เรื่องการหลอกลวงไปทำงานต่างประเทศ ให้ทุก ภ.จว. ดูแลสอดส่องกรณีมีการชักชวนไปทำงานในต่างประเทศ ให้ไปประสานจัดหางานจังหวัดช่วยดูแลและตรวจสอบว่ามีการชักชวน หรือไม่ อย่างไร หากมีการกระทำที่ผิดกฎหมาย ให้ดำเนินการภายในอำนาจหน้าที่ต่อไปทันที 18.แนวทางปฏิบัติในการสอบสวนผู้เสียหายหรือพยานในคดีอาญา ด้วยปัจจุบันยังปรากฏว่า คดีอาญาบางคดี ในชั้นสอบสวนปรากฏข้อเท็จจริง และพยานหลักฐานว่ามีมูลความผิด จนพนักงานอัยการมีคำสั่งฟ้องและได้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลแล้ว แต่เมื่อคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล พนักงานสอบสวนไม่สามารถดำเนินการติดตามผู้เสียหายหรือพยาน ไปเบิกความได้ เป็นเหตุให้คดีขาดหลักฐาน ทำให้ศาลต้องพิพากษายกฟ้อง เกิดความเสียหายแก่คดี เพื่อให้การสอบสวนคดีอาญาเป็นไปด้วยความเรียบร้อย สามารถติดตามผู้เสียหายหรือพยานมาเบิกความในชั้นศาล และมีพยานหลักฐานเพียงพอที่ศาลจะใช้ดุลยพินิจวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยาน หลักฐานพิพากษาลงโทษจำเลยตามฟ้องได้ จึงกำหนดแนวทางปฏิบัติ ดังนี้ – ในคดีอาญาทุกคดี ให้พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนถึงตำบลที่อยู่ของผู้เสียหาย หรือพยานให้ได้ความแน่ชัดว่ามีที่อยู่ที่แท้จริงและชั่วคราว อยู่ที่ใด สถานที่ทำงาน หรือ สถานที่อื่นที่อาจติดต่อได้ หมายเลขโทรศัพท์ที่ทำงานและที่บ้าน เพื่อที่จะสามารถติดตามผู้เสียหายหรือพยานมาเบิกความในชั้นศาลได้ โดยให้ถือปฏิบัติตามประมวลระเบียบการตำรวจเกี่ยวกับคดี ลักษณะ 8 การสอบสวน บทที่ 6 การคุมพยานและการป้องกันพยาน สำคัญในคดีอาญา – ในคดีความผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ ให้พนักงานสอบสวนทำการบันทึกภาพและเสียงในการสอบสวนผู้เสียหายหรือพยานไว้ด้วย – ในคดีความผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ ให้ทำการสืบพยานไว้ก่อน
ณ.ห้องประชุม ภ.7 ชั้น 2 ตำรวจภูธรภาค 7 ถ.ข้างวัง ต.พระปฐมเจดีย์ อ.เมืองนครปฐม จว.นครปฐม