วันอังคาร, 24 ธันวาคม 2567

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครปฐม จัดกิจกรรมเข้าวัดปฏิบัติธรรมวันธรรมสวนะ และกิจกรรมเฉลิมฉลองครบรอบ 200 ปี ชาตกาลพระยาศรีสุนทรโวหาร

เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2565  เวลา 7.00 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า  ที่วัดพะเนียงแตก จังหวัดนครปฐม         โดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครปฐม จัดกิจกรรมเข้าวัดปฏิบัติธรรมวันธรรมสวนะ และกิจกรรมเฉลิมฉลองครบรอบ 200 ปี ชาตกาลพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เนื่องในโอกาสได้รับการประกาศยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญ        ของโลกด้านการศึกษา และวัฒนธรรม โดยมีพระครูพิศาลสาธุวัฒน์ เจ้าคณะอำเภอเมืองนครปฐม เจ้าอาวาสวัดพะเนียงแตก

 เป็นประธานฝ่ายสงฆ์  นายชยชัย  แสงอินทร์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม เป็นประธานฝ่ายฆราวาส นางฐิติรัตน์   เรืองสังข์ วัฒนธรรมจังหวัดนครปฐม อำนวยการารจัดงานฯ พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ ผู้นำในพื้นที่เจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานภาคเอกชน นักเรียน นักศึกษา และประชาชน เข้าร่วมกิจกรรมฯ

​​จังหวัดนครปฐม โดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครปฐม กระทรวงวัฒนธรรม ได้จัดโครงการเข้าวัดปฏิบัติธรรมวันธรรมสวนะขึ้นเพื่อส่งเสริมให้พุทธศาสนิกชนได้เข้าวัด ทำบุญ ฟังพระธรรมเทศนา เจริญจิตภาวนา      ถวายสังฆทาน น้อมนำหลักธรรทางพระพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้ในชีวิต เป็นการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรม ขับเคลื่อนสังคมไทยให้เป็นสังคมคุณธรรม นำพาไปสู่สังคมที่สงบสุข และฟื้นฟูประเพณีเข้าวัดปฏิบัติธรรมวันธรรมสวนะให้กลับคืนสู่สังคมไทย นำไปสู่ความสงบสุขแก่ตนเอง สังคมและประเทศชาติ กิจกรรมประกอบด้วยทำบุญ            ตักบาตร สมาทานศีล (รับศีล) ฟังพระธรรมเทศนา เจริญจิตภาวนา ถวายสังฆทาน และนำหลักธรรมคำสอน                       ทางพระพุทธศาสนาไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์

​​สำหรับกิจกรรมเฉลิมฉลองครบรอบ 200 ปี ชาตกาล พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)            ได้ดำเนินการเผยแพร่ประวัติและผลงานของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) บุคคลสำคัญของโลก               ด้านการศึกษา และวัฒนธรรม จังหวัดนครปฐม โดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครปฐม กระทรวงวัฒนธรรม ได้ผนวก     การแสดงปาฐกถาธรรมเรื่อง “พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ภายในกิจกรรมเข้าวัดปฏิบัติธรรมวันธรรมสวนะ

โดยพระมหานฤนาท นาถสีโล  ซึ่งได้แสดงปาฐกถาไว้ดังนี้  เนื่องในโอกาสที่องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ประกาศยกย่องเชิดชู “พระยาศรีสุนทรโวหาร” (น้อย อาจารยางกูร) เป็นบุคคลสำคัญ        ของโลกด้านการศึกษาและวัฒนธรรม ประจำปี 2565 ในการประชุมสมัยสามัญขององค์การยูเนสโก ครั้งที่ 41 เนื่องในวาระครบรอบ 200 ปี ชาตกาลในปี พ.ศ. 2565  พระยาศรีสุนทรโวหารญาณปรีชามาตย์ บรมนารถนิตยภักดี พิริยพาหะ   เดิมชื่อ “น้อย” เป็นชาวจังหวัดฉะเชิงเทรา เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2365  ที่บ้านคลองโสธร ต่อมาได้รับพระราชทานนามสกุลจากพระบาทสมเด็จพระมงกุเกล้าเจ้าอยู่หัว ในลำดับที่ 1457 ว่า “อาจารยางกูร” เมื่อ พ.ศ. 2457 ท่านถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2434 รวมสิริอายุ 69 ปี ท่านเป็นนักปราชญ์ทางภาษาและหนังสือ เป็นเจ้ากรมอาลักษณ์ เป็นองคมนตรีที่ปรึกษาราชการแผ่นเดิน เป็นอาจารย์ใหญ่คนแรกของโรงเรียนหลวง และครูสอนหนังสือไทย เป็นพระอาจารย์ถวายอักษรพระบรมวงศานุวงศ์ในราชวงศ์จักรีหลายพระองค์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมเด็จพระบรมโอรสา     ธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศสยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร   สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้า และพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์เจ้าอีกหลายพระองค์ ท่านได้นิพนธ์วรรณกรรมทั้งร้อยแก้ว โคลง ฉันท์ กาพย์กลอน ลิลิต ไว้เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะตำราเกี่ยวกับภาษาไทยที่สำคัญคือ แบบเรียนหลวง 6 เล่ม ได้แก่ “มูลบทบรรพกิจ วาหนิติ์นิกร อักษรประโยคสังโยคพิธาน ไวพจน์พิจารณ์ พิศาลการันต์” และหนังสือแบบเรียนภาษาไทยอื่น ๆ อีก 12 เล่ม และมีผลงานด้านหนังสือประเภท สุภาษิต วรรณคดี คำฉันท์ ลิลิต บทเสภา หนังสือด้านศาสนา และผลงานเบ็ดเตล็ด รวม 15 เรื่อง เป็นผู้ประพันธ์เนื้อร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีเนื้อเพลงแรก ผลงานของท่าน           เป็นมรดกตกทอดมาถึงอนุชนรุ่นหลัง  ถึงแม้จะมีการปรับเปลี่ยนบทเรียน  ซึ่งล้วนแต่มีพื้นฐานมาจากหนังสือเรียน           18 เล่มนี้  จึงได้รับยกย่องว่าเป็น “ศาลฎีกาในเรื่องหนังสือไทย” ท่านได้สร้างคุณประโยชน์แก่คนไทย ในด้านภาษาไทยนานัปการ ซึ่งเราควรตระหนัก และระลึกถึงคุณงามความดีของท่าน




ชนิดา  พรหมผลิน/นครปฐม

Loading