วันอาทิตย์, 12 มกราคม 2568

นายอำเภอสุไหงปาดีประธานพิธีเปิดโครงการอิสลามวิถีคืนคนดีสู่สังคม

นายอำเภอสุไหงปาดี จ.นราธิวาส เป็นประธานพิธีปิดโครงการอิสลามวิถีคืนคนดีสู่สังคม รุ่นที่ 2 ประจำปี 2560

วันที่ 17 พ.ค.60 ณ มัสยิดกามรียะห์อิสลามียะห์ หมู่3 ตำบลปะลุรู อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส นายรุ่งเรือง ธิมาบุตร นายอำเภอสุไหงปาดี เป็นประธานพิธีปิดโครงการอิสลามวิถีคืนคนดีสู่สังคม รุ่นที่ 2 ประจำปี 2560 โดยมีนายแวอาแซ แวมามุ ประธานชมรมอีหม่ามอำเภอสุไหงปาดี ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 48 ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรสุไหงปาดี กำนันผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำศาสนา ตอลดจนผู้ปกครองของผู้เข้าร่วมโครงการเข้าร่วมในพิธี


โครงการอิสลามวิถีคืนคนดีสู่สังคม รุ่นที่ 2 ประจำปี 2560 จัดขึ้นเพื่อให้เยาวชนได้ตระหนักถึงพิษภัยของยาเสพติดทุกชนิด เช่น ยาบ้า ยาไอซ์ เฮโรอีน น้ำกระท่อม ซึ่งถือว่าเป็นภัยคุกคามต่อหมู่บ้าน ต่อสังคม โดยเฉพาะกับบุตรหลาน ซึ่งเป็นอนาคตของชาติและเป็นการดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดซึ่งศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดอำเภอสุไหงปาดีได้ดำเนินการประกอบด้วย 1.การป้องกัน รณรงค์ สำรวจข้อมูลของประชาชนในพื้นที่โดยการรณรงค์ตามโครงการเคาะประตูบ้านต้านภัยยาเสพติดในทุกชุมชน ทุกหมู่บ้าน และทุกครัวเรือน 2.ด้านการปราบปรามซึ่งได้ดำเนินการกับเจ้าหน้าที่ของรัฐไปแล้วจำนวน 9 ราย เจ้าหน้าที่ตำรวจ จำนวน 4 ราย สมาชิกอาสารักษาดินแดน จำนวน 6 ราย และเจ้าหน้าที่ป่าไม้ จำนวน 2 ราย โดยพ้นจากตำแหน่งและบังคับใช้กฎหมายกับผู้ยาเสพติดคดีจำหน่ายไปแล้ว 18 ราย โดยยึดหลักการบังคับใช้กฎหมายกัลป์ผู้ค้ายาเสพติดอย่างจริงจังภายใต้กรอบของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 3.ด้านการบำบัด โดยการนำผู้ที่เสพยาเสพติดเข้ารับการบำบัดรักษาซึ่งใช้กระบวนการทางสังคม (ศาสนบำบัด) รุ่นที่ 1 จำนวน 50 คน ระหว่างวันที่ 20-28 กุมภาพันธ์ 2560 ที่ได้ทำการบำบัดเสร็จไปแล้ว
ซึ่งในวันนี้ศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดอำเภอสุไหงปาดีได้จัดทำโครงการอิสลามวิถีคืนคนดีสู่สังคม รุ่นที่ 2 ประจำปี 2560 ระหว่างวันที่ 8-16 พฤษภาคม 2560 โดยใช้กระบวนการศาสนบำบัดเช่นกัน เพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชนได้กลับตัวเป็นคนดีของสังคม ในการจัดโครงการครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนแม่ของแผ่นดิน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน และผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งในพื้นที่อำเภอสุไหงปาดีมีผู้เข้ารับการบำบัดทั้งสิ้น จำนวน 46 คน ผู้เข้ารับการบำบัดจะไม่มีประวัติ เมื่อรักษาหายแล้วสามารถเรียนต่อได้ ประกอบอาชีพได้อีกด้วย

 

ภาพ/ข่าว ซาการียา ดอเลาะ

Loading