วันพุธ, 25 ธันวาคม 2567

สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 2 จังหวัดราชบุรีขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมงานวิจัยเพื่อพัฒนางานส่งเสริมการเกษตร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 2 จังหวัดราชบุรีขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมงานวิจัยเพื่อพัฒนางานส่งเสริมการเกษตร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

​นางสาวเชาวนีฐ์ โคมแก้ว ผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศ เปิดเผยว่า โครงการส่งเสริมงานวิจัยเพื่อพัฒนางานส่งเสริมการเกษตร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เป็นโครงการที่ร่วมดำเนินการกับกลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต โดยมีนางสาววันดี แสนประสิทธิ์ เป็นผู้รับผิดชอบหลัก ดำเนินการใน 2 จุด เป้าหมายมีเกษตรกรเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ จุดละ 30 คน พร้อมทั้งสนับสนุนปัจจัยการผลิตเพื่อทำการศึกษาทดสอบ ทั้ง 2 จุด และดำเนินการจัดเวทีชุมชนแบบมีส่วนร่วม จุดละ 3 ครั้ง เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในการขยายผลงานวิจัย พัฒนาให้ความรู้ในเรื่องการอารักขาพืช การเก็บเกี่ยวผลผลิต การจัดการผลผลิตแก่เกษตรกร ตลอดจนสรุปผลการศึกษาทดสอบ โดยมีสรุปผลการดำเนินงานโครงการ ดังนี้

​ จุดที่ 1 ดำเนินการ ณ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรปลอดภัยบ้านหนองหลวง (เครือข่าย ศพก.) ตำบลห้วยไผ่ อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี ประเด็นการศึกษาเรื่องการเจริญเติบโตและผลผลิตของกะหล่ำดอกพันธุ์ทนร้อน ในสายพันธุ์กะหล่ำดอก 4 สายพันธุ์ ดังนี้ 1) สตาร์ 2) ช้างหาดใหญ่ 3) แพลทินัม และ 4) โดม ผลการศึกษาทดสอบ พบว่า 1. การเพาะปลูกกะหล่ำดอกด้วยวิธีการเพาะเมล็ดในถาดหลุมจะสารมารถลดอัตราการตายของต้นกล้าและลดปริมาณการใช้เมล็ดพันธุ์ได้ดีกว่าการเพาะกล้าแบบหว่าน และช่วยให้เกษตรกรสามารถวางแผนการเพาะปลูกได้ทุกช่วงฤดูการผลิต โดยผลผลิตของพันธุ์โดมให้ผลผลิตที่มีน้ำหนักดีกว่าพันธุ์อื่น ๆ รองลงมาคือ สตาร์ ช้างหาดใหญ่ และแพลทินัม ทั้งนี้ การเลือกพันธุ์ปลูกในพื้นที่ให้เหมาะสมกับสภาพอากาศจะทำให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดี สามารถจำหน่ายผลผลิตได้ราคาสูง ปัญหาและอุปสรรค พบว่า สภาพอากาศแปรปรวน ฝนตกหนัก การเพาะปลูกในพื้นที่ต่ำทำให้น้ำท่วมแปลงส่งผลให้ผลผลิตเกิดความเสียหาย

จุดที่ 2 ดำเนินการ ณ กลุ่มส่งเสริมอาชีพผู้ปลูกถั่วลิสง ตำบลโรงเข้ อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี ประเด็นการศึกษาเรื่อง พันธุ์ถั่วลิสงที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มผลผลิตและต้านทานต่อโรคยอดไหม้ ในสายพันธุ์ถั่วลิสง 8 สายพันธุ์ ดังนี้ 1) สข 38 2) ไทยนาน 9 3) ขอนแก่น 6 4) ขอนแก่น 84-8 5) สวก. 1 6) เกษตรโก๋แก่ 40 7) KUllsl – 1 8) KUP12BS018 ผลการศึกษาทดสอบ พบว่า สายพันธุ์ สข. 38 ให้ผลผลิตที่ได้ตรงตามความต้องการของเกษตรกร (90วัน) ไม่พบการเข้าลายของโรคยอดไหม้ แต่ยังพบการเข้าทำลายของโรคพืชในแปลง (ราสนิมในถั่วลิสง) โดยสายพันธุ์อื่น ๆ ให้ผลผลิตดี แต่มีอายุเก็บเกี่ยวผลผลิตนานกว่าสายพันธุ์ สข. 38 (120 วัน ) แต่พบการเข้าทำลายของโรคพืชน้อยกว่า มีข้อเสนอแนะจากเกษตรกรให้ทีมวิจัยทำการปรับปรุงพันธุ์ที่ทนต่อโรคพืชในถั่วลิสงที่อายุการเก็บเกี่ยวผลผลิตสั้น (90 วัน) ปัญหาและอุปสรรค พบว่า สภาพอากาศแปรปรวน ฝนตกหนัก ทำให้เกิดโรคราสนิมในถั่วลิสงขึ้น ทั้งนี้ ได้ให้ข้อคิดเห็นเพิ่มเติม ในเรื่อง ระยะเวลาลงพื้นที่ทำการศึกษาทดสอบ โดยให้ข้อเสนอแนะว่า ควรดำเนินการในช่วงเดือนธันวาคม เพื่อให้สอดคล้องกับช่วงฤดูกาลปลูกพืชหลังนาของเกษตรกร และเสนอทีมวิจัยในการผสมพันธุ์สายพันธุ์ถั่วลิสง ระหว่าง สข 38 และ ขอนแก่น 6 เนื่องจาก สข 38 เป็นพันธุ์ที่อายุเก็บเกี่ยวผลผลิตสั้น (90 วัน) และขอนแก่น 6 ต้านทานต่อโรคและแมลง




Loading